สศค.ประเมินเศรษฐกิจปีนี้เติบโตได้ 5.5% หลังฟื้นตัวจากอุทกภัย ส่วนปีหน้าคาดว่าโตได้ 5.2% จับตาการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า-เบิกจ่ายภาครัฐ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.3-5.8) เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าตามปัญหาข้อจำกัดในภาคการผลิตที่เริ่มคลี่คลายลงตามลำดับ ประกอบกับอุปสงค์ภาคเอกชน ทั้งการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนที่สามารถฟื้นกลับสู่ระดับก่อนอุทกภัยได้แล้ว
นอกจากนี้ นโยบายของภาครัฐ เช่น การเพิ่มรายได้แรงงานรายวัน และเงินเดือนข้าราชการ การรับจำนำข้าวเปลือก โครงการรถยนต์คันแรก โครงการบ้านหลังแรก และการทยอยปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ยังมีส่วนสนับสนุนการใช้จ่ายภายในประเทศ ขณะที่การบริโภค และการลงทุนภาครัฐมีบทบาทในการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกสินค้า และบริการคาดว่าจะชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงอ่อนแอ และผันผวนสูงจากปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2555 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0-3.5)
ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2556 สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.7-5.7) โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ภาครัฐ และอุปสงค์จากต่างประเทศที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้
อย่างไรก็ตาม ในการประมาณการเศรษฐกิจจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ การฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าที่จะเป็นไปได้รวดเร็วมากน้อยเพียงใด การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐที่จะเป็นไปตามเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด ความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุน อีกทั้งสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศต่างๆ ในโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.3-5.8) เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าตามปัญหาข้อจำกัดในภาคการผลิตที่เริ่มคลี่คลายลงตามลำดับ ประกอบกับอุปสงค์ภาคเอกชน ทั้งการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนที่สามารถฟื้นกลับสู่ระดับก่อนอุทกภัยได้แล้ว
นอกจากนี้ นโยบายของภาครัฐ เช่น การเพิ่มรายได้แรงงานรายวัน และเงินเดือนข้าราชการ การรับจำนำข้าวเปลือก โครงการรถยนต์คันแรก โครงการบ้านหลังแรก และการทยอยปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ยังมีส่วนสนับสนุนการใช้จ่ายภายในประเทศ ขณะที่การบริโภค และการลงทุนภาครัฐมีบทบาทในการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกสินค้า และบริการคาดว่าจะชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงอ่อนแอ และผันผวนสูงจากปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2555 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0-3.5)
ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2556 สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.7-5.7) โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ภาครัฐ และอุปสงค์จากต่างประเทศที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้
อย่างไรก็ตาม ในการประมาณการเศรษฐกิจจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ การฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าที่จะเป็นไปได้รวดเร็วมากน้อยเพียงใด การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐที่จะเป็นไปตามเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด ความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุน อีกทั้งสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศต่างๆ ในโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย