ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ห่วงน้ำท่วมลุกลาม ฉุดอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ประเมินยอดขายรถปีนี้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.32-1.37 ล้านคัน ขยายตัว 66-72% หลังอั้นมาจากปีก่อน แต่หากเป็นกรณีเลวร้ายเกิดอุทกภัยในระดับปีก่อน ยอดขายอาจเหลือ 1.15 ล้านคัน หรือเติบโต 45% เตือนน้ำท่วมซ้ำซาก เสียความเชื่อมั่น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินช่วงโค้งสุดท้ายของตลาดรถยนต์ในประเทศปี 2555 ว่า จากในช่วงที่ผ่านมา มีปัจจัยบวกมากมายที่จะช่วยให้ตลาดเติบโตต่อเนื่องได้ดี เช่น ผลของนโยบายรถยนต์คันแรก การกระตุ้นตลาดของค่ายรถด้วยการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ รวมถึงการทำไมเนอร์เชนจ์ในรถยนต์รุ่นต่างๆ การเร่งกำลังการผลิตเพื่อส่งมอบรถยนต์ และอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์ที่ยังคงรักษาระดับต่ำอยู่ เป็นต้น ทำให้คาดว่าจะส่งผลให้ตลาดรถยนต์ไทยปีนี้สามารถทำสถิติยอดขายที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ได้ด้วยตัวเลข 1.32 ถึง1.37 ล้านคัน ขยายตัวร้อยละ 66 ถึง 72
แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องปัญหาน้ำท่วมก็ยังเป็นเรื่องที่ยังคงต้องเป็นกังวลอยู่ จากสภาวะปัจจุบันที่มีปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้วในหลายพื้นที่ และฤดูมรสุมของไทยก็ยังไม่ผ่านพ้นไป โดยในกรณีเลวร้ายที่สุด หากเกิดปัญหาน้ำท่วมดังเช่นปีที่แล้ว มองว่าอาจจะส่งผลต่อยอดขายรถยนต์ในประเทศของไทย ทำให้ลดลงเหลือเพียงประมาณ 1.15 ล้านคัน หรือเหลือขยายตัวเพียงร้อยละ 45 (YoY) แต่กรณีเลวร้ายที่สุดนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้ยากจากการเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาของทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
ส่วนทิศทางตลาดรถยนต์ไทยในปี 2556 นั้น คาดว่าจะยังคงได้รับปัจจัยหนุนเช่นเดิมต่อเนื่องจากปีนี้ โดยเฉพาะการทยอยส่งมอบรถยนต์ที่ได้มีการสั่งจองระหว่างปี 2555 และยังคงค้างส่ง จากทั้งกำลังการผลิตรถยนต์ที่ไม่สามารถตอบสนองต่อตลาดได้ทัน และจากนโยบายรถยนต์คันแรกที่อนุมัติให้จองได้จนถึงสิ้นปี 2555 แต่หากเกิดปัญหาน้ำท่วมในปีนี้อีก คาดว่าก็น่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์โดยรวม โดยเฉพาะจะยิ่งไปทำให้ปัญหาเรื่องการส่งมอบรถล่าช้าที่ยังสะสมอยู่ทวีความรุนแรงขึ้น แต่การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมก็น่าจะดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากภาคเอกชนได้มีการตระหนัก และเตรียมแผนรับมือกับปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้ว
ทั้งนี้ แม้ว่าปัญหาน้ำท่วมทั้งในปีนี้ และในระยะข้างหน้าจะไม่รุนแรงมากดังเช่นในปีที่ผ่านมา แต่หากเกิดซ้ำกันหลายๆ ครั้ง และส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตรถยนต์ในประเทศ ย่อมส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติอย่างไม่อาจเลี่ยงได้ โดยเฉพาะช่วงที่กระแสการย้ายฐานการผลิตเพื่อหาแหล่งผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนที่เหมาะสมตอบสนองต่อตลาดอาเซียนที่กำลังจะเปิดเสรีเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ (อากรนำเข้าสินค้าในกลุ่มยานยนต์ของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดจะลดลงเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ยกเว้นอากรนำเข้าหมวด 8703 บางรายการของเวียดนาม) ขณะที่ไทยเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งด้านการดึงดูดการลงทุนอุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น อินโดนีเซียแล้ว ก็อาจจะเสียเปรียบในเรื่องของขนาดตลาดในประเทศที่ใหญ่ และค่าแรงที่ถูกกว่า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินช่วงโค้งสุดท้ายของตลาดรถยนต์ในประเทศปี 2555 ว่า จากในช่วงที่ผ่านมา มีปัจจัยบวกมากมายที่จะช่วยให้ตลาดเติบโตต่อเนื่องได้ดี เช่น ผลของนโยบายรถยนต์คันแรก การกระตุ้นตลาดของค่ายรถด้วยการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ รวมถึงการทำไมเนอร์เชนจ์ในรถยนต์รุ่นต่างๆ การเร่งกำลังการผลิตเพื่อส่งมอบรถยนต์ และอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์ที่ยังคงรักษาระดับต่ำอยู่ เป็นต้น ทำให้คาดว่าจะส่งผลให้ตลาดรถยนต์ไทยปีนี้สามารถทำสถิติยอดขายที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ได้ด้วยตัวเลข 1.32 ถึง1.37 ล้านคัน ขยายตัวร้อยละ 66 ถึง 72
แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องปัญหาน้ำท่วมก็ยังเป็นเรื่องที่ยังคงต้องเป็นกังวลอยู่ จากสภาวะปัจจุบันที่มีปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้วในหลายพื้นที่ และฤดูมรสุมของไทยก็ยังไม่ผ่านพ้นไป โดยในกรณีเลวร้ายที่สุด หากเกิดปัญหาน้ำท่วมดังเช่นปีที่แล้ว มองว่าอาจจะส่งผลต่อยอดขายรถยนต์ในประเทศของไทย ทำให้ลดลงเหลือเพียงประมาณ 1.15 ล้านคัน หรือเหลือขยายตัวเพียงร้อยละ 45 (YoY) แต่กรณีเลวร้ายที่สุดนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้ยากจากการเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาของทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
ส่วนทิศทางตลาดรถยนต์ไทยในปี 2556 นั้น คาดว่าจะยังคงได้รับปัจจัยหนุนเช่นเดิมต่อเนื่องจากปีนี้ โดยเฉพาะการทยอยส่งมอบรถยนต์ที่ได้มีการสั่งจองระหว่างปี 2555 และยังคงค้างส่ง จากทั้งกำลังการผลิตรถยนต์ที่ไม่สามารถตอบสนองต่อตลาดได้ทัน และจากนโยบายรถยนต์คันแรกที่อนุมัติให้จองได้จนถึงสิ้นปี 2555 แต่หากเกิดปัญหาน้ำท่วมในปีนี้อีก คาดว่าก็น่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์โดยรวม โดยเฉพาะจะยิ่งไปทำให้ปัญหาเรื่องการส่งมอบรถล่าช้าที่ยังสะสมอยู่ทวีความรุนแรงขึ้น แต่การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมก็น่าจะดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากภาคเอกชนได้มีการตระหนัก และเตรียมแผนรับมือกับปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้ว
ทั้งนี้ แม้ว่าปัญหาน้ำท่วมทั้งในปีนี้ และในระยะข้างหน้าจะไม่รุนแรงมากดังเช่นในปีที่ผ่านมา แต่หากเกิดซ้ำกันหลายๆ ครั้ง และส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตรถยนต์ในประเทศ ย่อมส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติอย่างไม่อาจเลี่ยงได้ โดยเฉพาะช่วงที่กระแสการย้ายฐานการผลิตเพื่อหาแหล่งผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนที่เหมาะสมตอบสนองต่อตลาดอาเซียนที่กำลังจะเปิดเสรีเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ (อากรนำเข้าสินค้าในกลุ่มยานยนต์ของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดจะลดลงเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ยกเว้นอากรนำเข้าหมวด 8703 บางรายการของเวียดนาม) ขณะที่ไทยเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งด้านการดึงดูดการลงทุนอุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น อินโดนีเซียแล้ว ก็อาจจะเสียเปรียบในเรื่องของขนาดตลาดในประเทศที่ใหญ่ และค่าแรงที่ถูกกว่า