ฟิทช์ เรทติ้งส์ฯ จัดอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวหุ้นกู้ชุดใหม่ของ “ปูนซิเมนต์ไทย” ที่ ‘A(tha)’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ และเครดิตในประเทศระยะสั้นที่ F1(tha) มูลค่าไม่เกิน 2.5 หมื่นล้านบาท ระดับ ‘A(tha)’ คาดอัตราส่วนหนี้สินจะตัวดีขึ้นในปี 56 จากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบของธุรกิจปิโตรเคมีที่น่าจะปรับตัวดีขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนคาดน้อยลง
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวสำหรับหุ้นกู้ไม่มีหลักประกันไม่ด้อยสิทธิชุดใหม่ครั้งที่ 2/2555 ของ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC (ซึ่งมีอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘A(tha)’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ F1(tha)) มูลค่าไม่เกิน 2.5 หมื่นล้านบาท ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2559 ที่ระดับ ‘A(tha)’
โดยเงินที่ได้รับจากการออกหุ้นกู้ชุดใหม่นี้ จะนำมาใช้ชำระคืนหุ้นกู้ชุดเดิมที่ถึงกำหนดไถ่ถอน และใช้สำหรับการลงทุนในอนาคต อันดับเครดิตของ SCC สะท้อนถึงการที่บริษัทฯ มีการกระจายความเสี่ยงของแหล่งที่มาของรายได้จากธุรกิจต่างๆ ซึ่งได้แก่ ธุรกิจปิโตรเคมี ปูนซีเมนต์ กระดาษ และวัสดุก่อสร้าง
นอกจากนี้ สถานะความเป็นผู้นำในตลาดภายในประเทศของธุรกิจปูนซีเมนต์ และกระดาษน่าจะช่วยรักษาความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ในช่วงที่สภาวะแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจปิโตรเคมียังคงมีความท้าทายอยู่สูงในปี 2555 วัฏจักรขาลงของธุรกิจปิโตรเคมีในปัจจุบันได้กดดันความสามารถในการทำกำไรของบริษัทฯ ซึ่งส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินสุทธิที่ปรับปรุงแล้วต่อกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่ายและค่าเช่า (รวมเงินปันผลรับจากบริษัทร่วม) สำหรับ 12 เดือนล่าสุด เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 3.8 เท่า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2555 จากระดับ 3.1 เท่า ณ สิ้นปี 2554
อย่างไรก็ตาม ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินของบริษัทฯ จะปรับตัวดีขึ้นในปี 2556 จากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบของธุรกิจปิโตรเคมีที่น่าจะปรับตัวดีขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนที่คาดว่าจะน้อยลง
อันดับเครดิตของบริษัทฯ ถูกลดทอนโดยปัจจัยเสี่ยงจากการที่บริษัทฯ ต้องเผชิญกับความผันผวนของธุรกิจปิโตรเคมี และกระดาษ นอกจากนี้ กำไรจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ยังคงมีความเสี่ยงจากราคาพลังงานที่สูง ในขณะที่สภาวะอุปทานส่วนเกินในธุรกิจปูนซีเมนต์ส่งผลให้มีการแข่งขันทางด้านราคาเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจทำให้อัตราส่วนกำไรของบริษัทฯ ลดลงในบางช่วงอีกด้วย นอกจากนี้ ความสามารถที่จำกัดในการกำหนดราคาในกลุ่มสินค้าประเภทโภคภัณฑ์ของธุรกิจปูนซีเมนต์ ปิโตรเคมี และกระดาษยังเป็นปัจจัยลบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทฯ โดยเฉพาะในช่วงวัฏจักรขาลงของธุรกิจอีกด้วย
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวสำหรับหุ้นกู้ไม่มีหลักประกันไม่ด้อยสิทธิชุดใหม่ครั้งที่ 2/2555 ของ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC (ซึ่งมีอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘A(tha)’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ F1(tha)) มูลค่าไม่เกิน 2.5 หมื่นล้านบาท ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2559 ที่ระดับ ‘A(tha)’
โดยเงินที่ได้รับจากการออกหุ้นกู้ชุดใหม่นี้ จะนำมาใช้ชำระคืนหุ้นกู้ชุดเดิมที่ถึงกำหนดไถ่ถอน และใช้สำหรับการลงทุนในอนาคต อันดับเครดิตของ SCC สะท้อนถึงการที่บริษัทฯ มีการกระจายความเสี่ยงของแหล่งที่มาของรายได้จากธุรกิจต่างๆ ซึ่งได้แก่ ธุรกิจปิโตรเคมี ปูนซีเมนต์ กระดาษ และวัสดุก่อสร้าง
นอกจากนี้ สถานะความเป็นผู้นำในตลาดภายในประเทศของธุรกิจปูนซีเมนต์ และกระดาษน่าจะช่วยรักษาความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ในช่วงที่สภาวะแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจปิโตรเคมียังคงมีความท้าทายอยู่สูงในปี 2555 วัฏจักรขาลงของธุรกิจปิโตรเคมีในปัจจุบันได้กดดันความสามารถในการทำกำไรของบริษัทฯ ซึ่งส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินสุทธิที่ปรับปรุงแล้วต่อกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่ายและค่าเช่า (รวมเงินปันผลรับจากบริษัทร่วม) สำหรับ 12 เดือนล่าสุด เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 3.8 เท่า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2555 จากระดับ 3.1 เท่า ณ สิ้นปี 2554
อย่างไรก็ตาม ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินของบริษัทฯ จะปรับตัวดีขึ้นในปี 2556 จากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบของธุรกิจปิโตรเคมีที่น่าจะปรับตัวดีขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนที่คาดว่าจะน้อยลง
อันดับเครดิตของบริษัทฯ ถูกลดทอนโดยปัจจัยเสี่ยงจากการที่บริษัทฯ ต้องเผชิญกับความผันผวนของธุรกิจปิโตรเคมี และกระดาษ นอกจากนี้ กำไรจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ยังคงมีความเสี่ยงจากราคาพลังงานที่สูง ในขณะที่สภาวะอุปทานส่วนเกินในธุรกิจปูนซีเมนต์ส่งผลให้มีการแข่งขันทางด้านราคาเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจทำให้อัตราส่วนกำไรของบริษัทฯ ลดลงในบางช่วงอีกด้วย นอกจากนี้ ความสามารถที่จำกัดในการกำหนดราคาในกลุ่มสินค้าประเภทโภคภัณฑ์ของธุรกิจปูนซีเมนต์ ปิโตรเคมี และกระดาษยังเป็นปัจจัยลบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทฯ โดยเฉพาะในช่วงวัฏจักรขาลงของธุรกิจอีกด้วย