สแตนดาร์ด ชาร์ดเตอร์ดแจงกรณี DFS ขู่ถอนใบอนุญาตเหตุไม่โปร่งใส ยันธุรกรรมการเงินกับอิหร่าน 99.9% ถูกกฎระเบียบ และได้นำเสนอต่อ DFS แล้ว และธนาคารได้ยุติการดำเนินธุรกิจใหม่กับลูกค้าชาวอิหร่านในทุกเงินสกุลแลกเปลี่ยน ตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว
กลุ่มธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์ดเตอร์ด อ้างถึงคำสั่งโดยผู้กำกับดูแลสถาบันการเงินแห่งมลรัฐนิวยอร์ก (DFS) และขอยืนยันปฎิเสธข้อกล่าวอ้างตามที่ปรากฏในคำสั่งซึ่งออกโดย DFS
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธนาคารรายงานการตรวจสอบด้านการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน และหารือกับหน่วยงานผู้กำกับดูแลต่างๆ ได้แก่ ผู้กำกับดูแลสถาบันการเงินแห่งมลรัฐนิวยอร์ก (DFS) กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานควบคุมสินทรัพย์ต่างชาติ ธนาคารกลางแห่งนิวยอร์ก รวมทั้งศาลอัยการแห่งนิวยอร์ก โดยข้อมูลต่างๆ ถูกเปิดเผยในรายงานประจำปี 2553, 2554 และล่าสุด รายงานงบการเงินระหว่างกาลปี 2555 ในส่วนการควบคุมความเสี่ยง หน้าที่ 21 ภายใต้หัวข้อการเปลี่ยนแปลงข้อกำกับดูแล และการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน
โดยเมื่อเดือนมกราคม 2553 ธนาคารได้ติดต่อหน่วยงานผู้ดูแลต่างๆ รวมถึง DFS และแจ้งว่า ธนาคารฯ ได้ทบทวนธุรกรรมที่เกี่ยวกับเงินดอลลาร์ที่ผ่านมาในอดีต รวมถึงตรวจสอบความสอดคล้องกับมาตรการคว่ำบาตรที่สหรัฐฯ มีต่อประเทศอื่นๆ รายงานดังกล่าวมุ่งเน้นที่ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอิหร่านในช่วงปี 2544-2550 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง U-turn framework ที่หน่วยงานผู้กำกับดูแลได้กำหนดขึ้น เพื่อให้ประเทศอื่นๆ ทำการค้ากับอิหร่านได้โดยใช้สกุลเงินดอลลาร์ โดยมีคณะกรรมการ และที่ปรึกษาจากภายนอกเป็นผู้จัดเตรียมรายงาน ธนาคารพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้มั่นใจว่า ธนาคารสามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแก่หน่วยงานผู้กำกับดูแล และยังคอยแจ้งผลการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง โดยการตรวจสอบดังกล่าวประกอบด้วยเอกสารต่างๆ และบทสัมภาษณ์กว่าหนึ่งพันหน้า รวมทั้งการวิเคราะห์การตรวจสอบการชำระเงินราว 150 ล้านครั้ง
อย่างไรก็ตาม ธนาคารไม่เชื่อว่า คำสั่งที่ออกโดย DFS นั้นจะสะท้อนความจริงทั้งหมด จากบทวิเคราะห์ซึ่งธนาคารได้เปิดเผยแก่ผู้กำกับดูแลในสหรัฐฯ ทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา ธนาคารได้ปฏิบัติตามกฏระเบียบอย่างเข้มงวดต่อมาตรการคว่ำบาตรในสหรัฐฯ ตลอดจนกฏระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินที่ย้อนกลับมาในสหรัฐฯ ตามที่เราได้เปิดเผยต่อหน่วยงานผู้กำกับดูแลธุรกรรมกว่าร้อยละ 99.9 ที่เกียวกับอิหร่านมีความสอดคล้องกับกฏระเบียบว่าด้วยธุรกรรมแบบยูเทิร์น* ในขณะที่ธุรกรรมที่ไม่สอดคล้องกับกฏระเบียบดังกล่าว มีมูลค่าไม่ถึง 14 ล้านเหรียญสหรัฐ
ธนาคารเชื่อว่า การตีความที่ปรากฏในคำสั่งของ DFS เกี่ยวกับกฏระเบียบที่กล่าวถึงธุรกรรมแบบยูเทิร์น ซึ่งเป็นกฏระเบียบที่ออก และควบคุมโดยรัฐบาลกลางนั้นมีความไม่ถูกต้องในเชิงกฎหมาย จากรายงานของธนาคารฯ ที่เกี่ยวกับธุรกรรมในอิหร่านของธนาคารฯ ไม่พบว่ามีการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มใดๆ ที่ถูกระบุจากทางการสหรัฐฯ ในขณะนั้นว่าเป็นกลุ่ม หรือองค์กรก่อการร้ายแม้แต่รายเดียว
นอกจากนี้ ตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว ธนาคารได้ยุติการดำเนินธุรกิจใหม่กับลูกค้าชาวอิหร่านในทุกเงินสกุลแลกเปลี่ยน ธนาคารได้มีการนำเสนอต่อ DFS และผู้กำกับดูแลรายอื่นๆ ถึงความแข็งขันในการปฏิบัติตามมาตรการคว่ำบาตร นับตั้งแต่ช่วงการเริ่มตรวจสอบจนถึงปัจจุบันนี้
ธนาคารได้มีส่วนร่วมในการหารืออย่างต่อเนื่องกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องของสหรัฐฯ การหาทางออกในเรื่องดังกล่าว เป็นไปตามกระบวนการปกติ ด้วยความช่วยเหลือจากผู้กำกับดูแลดังกล่าวเป็นอย่างดี ธนาคารจึงรู้สึกประหลาดใจที่ได้รับคำสั่ง DFS เนื่องจากการหารือกับหน่วยงานกำกับดูแลในประเด็นดังกล่าว กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ เรามีความตั้งใจที่จะหารือประเด็นดังกล่าวกับ DFS เพื่อคัดค้านข้อกล่าวอ้างดังกล่าว
ธนาคารถือเป็นความรับผิดชอบอย่างจริงจัง และพยายามทุกวิถีทางที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย และกฏระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้วยความเชื่อมั่นดังกล่าว เราจึงเป็นฝ่ายริเริ่มให้มีการจัดทำรายงาน และดึงหน่วยงานกำกับดูแลเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง
ก่อนหน้านี้ สำนักงานบริการการเงิน (ดีเอฟเอส) ของรัฐนิวยอร์กแจ้งว่า จะมีการพิจารณากรณีเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารในรัฐนิวยอร์กของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดของอังกฤษ โดยให้เหตุผลว่า สแตนชาร์ดเป็น “สถาบันที่ขาดความโปร่งใส” ปกปิดการทำธุรกรรมวงเงิน 2.50 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับอิหร่าน และขัดต่อกฎหมายสหรัฐฯ
โดยระบุว่า ธนาคารสแตนชาร์ดได้ร่วมมือกับรัฐบาลอิหร่านในการปกปิด ไม่ให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายล่วงรู้ถึงการทำธุรกรรมลับราว 60,000 รายการ เพื่อให้ทางธนาคารมีรายได้จากค่าธรรมเนียมหลายร้อยล้านดอลลาร์ในระยะเวลาเกือบ 10 ปี และได้ทำให้ระบบธนาคารสหรัฐฯ เผชิญความเสี่ยงจากผู้ก่อการร้าย ผู้ค้ายาเสพติด และรัฐบาลจากประเทศที่เลวร้าย
กลุ่มธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์ดเตอร์ด อ้างถึงคำสั่งโดยผู้กำกับดูแลสถาบันการเงินแห่งมลรัฐนิวยอร์ก (DFS) และขอยืนยันปฎิเสธข้อกล่าวอ้างตามที่ปรากฏในคำสั่งซึ่งออกโดย DFS
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธนาคารรายงานการตรวจสอบด้านการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน และหารือกับหน่วยงานผู้กำกับดูแลต่างๆ ได้แก่ ผู้กำกับดูแลสถาบันการเงินแห่งมลรัฐนิวยอร์ก (DFS) กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานควบคุมสินทรัพย์ต่างชาติ ธนาคารกลางแห่งนิวยอร์ก รวมทั้งศาลอัยการแห่งนิวยอร์ก โดยข้อมูลต่างๆ ถูกเปิดเผยในรายงานประจำปี 2553, 2554 และล่าสุด รายงานงบการเงินระหว่างกาลปี 2555 ในส่วนการควบคุมความเสี่ยง หน้าที่ 21 ภายใต้หัวข้อการเปลี่ยนแปลงข้อกำกับดูแล และการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน
โดยเมื่อเดือนมกราคม 2553 ธนาคารได้ติดต่อหน่วยงานผู้ดูแลต่างๆ รวมถึง DFS และแจ้งว่า ธนาคารฯ ได้ทบทวนธุรกรรมที่เกี่ยวกับเงินดอลลาร์ที่ผ่านมาในอดีต รวมถึงตรวจสอบความสอดคล้องกับมาตรการคว่ำบาตรที่สหรัฐฯ มีต่อประเทศอื่นๆ รายงานดังกล่าวมุ่งเน้นที่ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอิหร่านในช่วงปี 2544-2550 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง U-turn framework ที่หน่วยงานผู้กำกับดูแลได้กำหนดขึ้น เพื่อให้ประเทศอื่นๆ ทำการค้ากับอิหร่านได้โดยใช้สกุลเงินดอลลาร์ โดยมีคณะกรรมการ และที่ปรึกษาจากภายนอกเป็นผู้จัดเตรียมรายงาน ธนาคารพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้มั่นใจว่า ธนาคารสามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแก่หน่วยงานผู้กำกับดูแล และยังคอยแจ้งผลการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง โดยการตรวจสอบดังกล่าวประกอบด้วยเอกสารต่างๆ และบทสัมภาษณ์กว่าหนึ่งพันหน้า รวมทั้งการวิเคราะห์การตรวจสอบการชำระเงินราว 150 ล้านครั้ง
อย่างไรก็ตาม ธนาคารไม่เชื่อว่า คำสั่งที่ออกโดย DFS นั้นจะสะท้อนความจริงทั้งหมด จากบทวิเคราะห์ซึ่งธนาคารได้เปิดเผยแก่ผู้กำกับดูแลในสหรัฐฯ ทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา ธนาคารได้ปฏิบัติตามกฏระเบียบอย่างเข้มงวดต่อมาตรการคว่ำบาตรในสหรัฐฯ ตลอดจนกฏระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินที่ย้อนกลับมาในสหรัฐฯ ตามที่เราได้เปิดเผยต่อหน่วยงานผู้กำกับดูแลธุรกรรมกว่าร้อยละ 99.9 ที่เกียวกับอิหร่านมีความสอดคล้องกับกฏระเบียบว่าด้วยธุรกรรมแบบยูเทิร์น* ในขณะที่ธุรกรรมที่ไม่สอดคล้องกับกฏระเบียบดังกล่าว มีมูลค่าไม่ถึง 14 ล้านเหรียญสหรัฐ
ธนาคารเชื่อว่า การตีความที่ปรากฏในคำสั่งของ DFS เกี่ยวกับกฏระเบียบที่กล่าวถึงธุรกรรมแบบยูเทิร์น ซึ่งเป็นกฏระเบียบที่ออก และควบคุมโดยรัฐบาลกลางนั้นมีความไม่ถูกต้องในเชิงกฎหมาย จากรายงานของธนาคารฯ ที่เกี่ยวกับธุรกรรมในอิหร่านของธนาคารฯ ไม่พบว่ามีการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มใดๆ ที่ถูกระบุจากทางการสหรัฐฯ ในขณะนั้นว่าเป็นกลุ่ม หรือองค์กรก่อการร้ายแม้แต่รายเดียว
นอกจากนี้ ตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว ธนาคารได้ยุติการดำเนินธุรกิจใหม่กับลูกค้าชาวอิหร่านในทุกเงินสกุลแลกเปลี่ยน ธนาคารได้มีการนำเสนอต่อ DFS และผู้กำกับดูแลรายอื่นๆ ถึงความแข็งขันในการปฏิบัติตามมาตรการคว่ำบาตร นับตั้งแต่ช่วงการเริ่มตรวจสอบจนถึงปัจจุบันนี้
ธนาคารได้มีส่วนร่วมในการหารืออย่างต่อเนื่องกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องของสหรัฐฯ การหาทางออกในเรื่องดังกล่าว เป็นไปตามกระบวนการปกติ ด้วยความช่วยเหลือจากผู้กำกับดูแลดังกล่าวเป็นอย่างดี ธนาคารจึงรู้สึกประหลาดใจที่ได้รับคำสั่ง DFS เนื่องจากการหารือกับหน่วยงานกำกับดูแลในประเด็นดังกล่าว กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ เรามีความตั้งใจที่จะหารือประเด็นดังกล่าวกับ DFS เพื่อคัดค้านข้อกล่าวอ้างดังกล่าว
ธนาคารถือเป็นความรับผิดชอบอย่างจริงจัง และพยายามทุกวิถีทางที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย และกฏระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้วยความเชื่อมั่นดังกล่าว เราจึงเป็นฝ่ายริเริ่มให้มีการจัดทำรายงาน และดึงหน่วยงานกำกับดูแลเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง
ก่อนหน้านี้ สำนักงานบริการการเงิน (ดีเอฟเอส) ของรัฐนิวยอร์กแจ้งว่า จะมีการพิจารณากรณีเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารในรัฐนิวยอร์กของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดของอังกฤษ โดยให้เหตุผลว่า สแตนชาร์ดเป็น “สถาบันที่ขาดความโปร่งใส” ปกปิดการทำธุรกรรมวงเงิน 2.50 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับอิหร่าน และขัดต่อกฎหมายสหรัฐฯ
โดยระบุว่า ธนาคารสแตนชาร์ดได้ร่วมมือกับรัฐบาลอิหร่านในการปกปิด ไม่ให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายล่วงรู้ถึงการทำธุรกรรมลับราว 60,000 รายการ เพื่อให้ทางธนาคารมีรายได้จากค่าธรรมเนียมหลายร้อยล้านดอลลาร์ในระยะเวลาเกือบ 10 ปี และได้ทำให้ระบบธนาคารสหรัฐฯ เผชิญความเสี่ยงจากผู้ก่อการร้าย ผู้ค้ายาเสพติด และรัฐบาลจากประเทศที่เลวร้าย