มหาอุทกภัย และภัยพิบัติหลากหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และทั่วโลกนั้น ตอกย้ำให้เราต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะอากาศแปรปรวน ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาโลกร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาสำคัญที่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมพบ คือ แม้จะรู้ล่วงหน้าว่าบ้านตนเองอยู่ในเส้นทางน้ำผ่าน และตระเตรียมข้าวของเครื่องใช้จำเป็นไว้พร้อมแล้ว แต่ก็ไม่สามารถอยู่อาศัยในบ้านได้อย่างที่ตั้งใจไว้ เพราะเมื่อน้องน้ำมาเยี่ยมเยียนเข้าจริงๆ กลายเป็นว่า บ้านแสนรักกลับไม่สามารถทนทานต่อการแช่น้ำเป็นระยะเวลานานได้ บ้านส่วนมากออกอาการชำรุดผุพัง จนทำให้เจ้าของต้องอพยพไปพึ่งพาอาศัยศูนย์พักพิงสำหรับผู้ประสบภัย จึงเป็นที่มาของเทรนด์บ้านแนวใหม่ในยุคสมัยนี้ “แค่สวยอย่างเดียวไม่พอ” แต่ต้องมีความแข็งแรง “ทนน้ำ” สามารถดำรงอยู่ได้ภายใต้สภาวะอุทกภัย หรือเรียกว่า เป็นบ้านที่สามารถอยู่กับน้ำได้ เพื่อการรับมือภัยน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้น
นายอนุวัตร เฉลิมไชย แบรนด์ไดเร็กเตอร์ สำนักงานบริหารแบรนด์ บริษัท เอสซีจีผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ผู้บริหารแบรนด์ “ตราช้าง” เล่าว่า ช่วงนี้เป็นช่วงต้นฤดูฝน ตราช้างพบว่าในปีนี้ มีประชาชนให้ความสนใจในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำที่อาจเกิดขึ้นมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของการรับมือปริมาณน้ำฝนที่อาจตกลงมาเป็นจำนวนมาก และการรับมือน้ำท่วมขังที่อาจเกิดขึ้นในบางพื้นที่ ‘ตราช้าง’ ในฐานะผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง จึงเห็นความสำคัญของการเผยแพร่ 4 เคล็ดลับการสร้างบ้านอยู่กับน้ำ เพื่อให้ประชาชนได้ตระเตรียมบ้านเพื่อ “รับมือ และป้องกัน” ภัยน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่การออกแบบ และการเลือกวัสดุ ดังนี้
ข้อแรก ‘ออกแบบบ้านให้สามารถอยู่กับน้ำ’ แบบบ้านเป็นสิ่งสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในการสร้างบ้านอยู่กับน้ำ เบื้องต้น คือ เราต้องรู้หลักการพื้นฐานว่าน้ำจะไหลเข้าสู่พื้นที่ที่ต่ำกว่าเสมอ ดังนั้น ก่อนอื่นต้องศึกษาข้อมูลเรื่องระดับของน้ำท่วมสูงสุดในพื้นที่นั้นๆ และทิศทางการไหลของน้ำที่เคยมีมา หากเป็นบ้านสร้างใหม่ สามารถปรึกษาสถาปนิกให้ออกแบบบ้านให้มีระดับความสูงสอดคล้องกับระดับน้ำที่เคยเกิดขึ้น นอกจากนี้ ควรจัดวางผังบ้านไม่ให้ขวางทางน้ำไหล สำหรับบ้านที่ปลูกสร้างไปแล้ว แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อใช้วิธีดีดบ้านให้ยกสูงขึ้น และหากบ้านขวางทางน้ำอย่างเลี่ยงไม่ได้ ให้ปลูกต้นไม้ หรือสร้างรั้วเพื่อช่วยลดทอนความแรงของน้ำที่จะไหลบ่าเข้าสู่บ้าน
ข้อสอง ‘ปรับพื้นที่การอยู่อาศัย’ ผู้อยู่อาศัยควรเตรียมพื้นที่ส่วนสำคัญไว้ชั้นบนของบ้านด้วย เนื่องจากหากอาคาร หรือที่อยู่อาศัยเกิดความเสียหาย หรือประสบน้ำท่วมบริเวณชั้นล่างของบ้าน ผู้อยู่อาศัยก็ต้องวางแผนให้สามารถย้ายตัวเองไปอยู่อาศัยในชั้นบนของบ้านได้ในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องนอน ที่เคยอยู่เฉพาะชั้นล่าง ก็ต้องวางแผนให้มีสำรองไว้ด้านบนด้วย เป็นต้น
ข้อสาม ‘วัสดุสร้างบ้านที่ใช้ต้องทนทานกับน้ำ’ การเลือกใช้นวัตกรรมวัสดุสร้างบ้านที่ทนทานต่อน้ำได้ เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยลดทอนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านเมื่อน้ำมาเยี่ยมเยือน การเลือกวัสดุก่อสร้าง
ทนน้ำได้แก่ ‘โครงสร้าง เสา คาน และพื้นปูน’ ของบ้าน ควรสร้างโดยใช้ปูนชนิดทนน้ำทะเล ที่มีความทึบน้ำสูง ทำให้น้ำซึมผ่านได้ยาก ทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทั่วไป ‘ฝ้า ผนัง พื้น’ ควรใช้ไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์ หรือแคลเซียมซิลิเกต ที่มีคุณสมบัติทนน้ำได้ แห้งไว มีความยืดหยุ่นสูง ไม่เปราะ ไม่เปื่อยยุ่ย หรือหากเกิดความเสียหายก็ซ่อมแซมได้ง่าย และสะดวกกว่าผนังอิฐทั่วไป เพราะสามารถถอดเปลี่ยนได้เป็นแผ่น นอกจากนี้ ยังมีความสวยงามเสมือนไม้จริง เมื่อต้องแช่น้ำเป็นเวลานานก็ไม่เกิดปัญหาบวม หรือเปื่อยยุ่ย ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษาหลังน้ำลดอีกด้วย
เคล็ดลับอีกข้อที่ขาดไม่ได้เพื่อให้บ้านเป็นบ้านที่รับมือกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนไปอย่างแท้จริง คือ ‘เลือกวัสดุที่ป้องกันความร้อนได้ดี และไม่มีพิษภัยต่อสุขภาพ’ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อสร้างบ้านกันน้ำได้แล้วก็ต้องกันความร้อนได้ด้วย ซึ่งการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างกลุ่มไฟเบอร์ซีเมนต์จะมีข้อดี คือ ช่วยลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน ทำให้บ้านเย็นขึ้น ช่วยลดการใช้พลังงาน ถือเป็นการลดภาระให้โลกได้อีกทางหนึ่ง ที่สำคัญอย่าลืมว่า ต้องเลือกวัสดุที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ไม่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน หรือแอสเบสตอส (Asbestos) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปอด ดังนั้น เมื่อเลือกซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับก่อสร้างบ้านแสนรักจึงควรคำนึงถึงสุขภาพของคนในบ้านเป็นข้อสำคัญด้วย
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้เรื่องแนวทางการสร้าง “บ้านอยู่กับน้ำ” ‘ตราช้าง’ จึงได้ร่วมกับ ‘คอตโต้’ และมูลนิธิที่อยู่อาศัย (Habitat Thailand)aหหดดดดดดssss เปิดโครงการประกวดแบบบ้าน ‘ฟลัดเวย์ โฮม (Floodway Home) - บ้านอยู่กับน้ำ’ ชวนน้องๆ นิสิต นักศึกษาไฟแรงร่วมส่งผลงานแบบบ้านอยู่กับน้ำที่สร้างด้วยวัสดุ ‘ตราช้าง’ และ ‘คอตโต้’ ทั้งหลังภายใต้งบประมาณรวมค่าวัสดุ และค่าแรงไม่เกินหลังละ 150,000 บาท เข้าประกวด โดยแบบบ้าน 3 หลังที่ได้รับการคัดเลือก ทาง ‘ตราช้าง’ และ ‘คอตโต้’ จะนำไปสร้างจริงเพื่อมอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยที่มีที่ดินเป็นของตนเอง แต่ขาดทุนทรัพย์ในการซ่อมแซม หรือสร้างบ้านในพื้นที่ทางน้ำผ่าน และเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากชุมชน โดยผู้ชนะการประกวดจะได้รับทุนการศึกษา พร้อมการเดินทางไปดูงานที่ ฮาบิแทต เวียดนาม เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน ติดต่อส่งผลงานได้ที่ www.habitatthailand.org