สรรพากรเผยจัดเก็บภาษีบุคคลธรรมดาทางอินเทอร์เน็ตได้ 15,000 ล้านบาท ขอคืนภาษี 17,000 ล้านบาท ยันไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะทยอยหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทั้งปีแล้ว มีผู้ขอลดหย่อนบ้าน-รถที่ถูกน้ำท่วม บ้านหลังแรกเกือบ 500 ล้านบาท
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 54 ที่ผ่านมานั้น มีผู้มายื่นแบบเสียภาษีทั้งสิ้น 11.76 ล้านแบบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.6% โดยเป็นการยื่นเสียภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต 70% ในจำนวนนี้เป็นการยื่นเฉพาะเงินเดือน หรือ ภ.ง.ด. 90 ถึง 79% ยื่นทั้งเงินเดือนและรายได้อื่นๆ หรือ ภ.ง.ด. 91 อีก 21% มีจำนวนขอคืนภาษี 2.18 ล้านบาท หรือ 23% ที่เหลือคือชำระเงินเพิ่ม ทั้งนี้ ถึงวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้คืนเงินภาษีให้แล้วกว่า 70% นับว่าน่าพอใจ
“มีผู้ยื่นเสียภาษีทางอินเทอร์เน็ตรวมเป็นเงินกว่า 15,600 ล้านบาท ขอคืนภาษี 17,000 ล้านบาท ซึ่งการที่บุคคลธรรมดาขอคืนภาษีมากกว่าชำระภาษีนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะนอกจากให้ผ่อนชำระได้ 3 งวดแล้ว ที่ผ่านมากรมสรรพากรได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้เกือบหมดแล้ว เหลือแค่ธุรกิจโรงแรม ธนาคาร และการซื้อมาขายไปเท่านั้น ทำให้เมื่อมีธุรกรรมใดๆ เกิดขึ้น ก็จะทยอยหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทั้งปีอยู่แล้ว พอสิ้นปีก็ค่อยมาหักลบกลบหนี้ ดูว่าต้องจ่ายเพิ่มหรือต้องขอคืน”
ส่วนผู้มาใช้สิทธิ์ลดหย่อนโครงการบ้านหลังแรกมีมูลค่า 10,000 ล้านบาท เป็นเงินภาษี 225 ล้านบาท คาดว่าปีหน้า จะเพิ่มสูงกว่านี้มาก เนื่องจากผู้ที่ยื่นในปีนี้เป็นผู้ที่เข้าร่วมโครงการใน 3 เดือนแรกของโครงการเท่านั้น อีกทั้งยังทยอยใช้สิทธิได้ใน 5 ปีด้วย นอกจากนี้ มีผู้ที่มาใช้สิทธิโครงการลดหย่อนภาษีจากการซ่อมบ้าน และซ่อมรถยนต์ที่ถูกน้ำท่วมเมื่อปลายปีที่ผ่านมาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต 11,651 ราย รวมมูลค่า 257 ล้านบาท คาดว่าจะมีมากกว่านี้ เมื่อรวมการยื่นแบบเสียภาษีด้วยกระดาษตามสรรพากรพื้นที่ต่างๆ ซึ่งจะช้ากว่าระบบอินเทอร์เน็ตระยะหนึ่ง
นายสาธิต กล่าวว่า นอกจากนี้ กรมฯ ได้เน้นการดึงคนที่อยู่นอกระบบการเสียภาษี ให้เข้ามาอยู่ในระบบให้มากที่สุด เพื่อเป็นการขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้น พร้อมทั้งพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบันที่การค้าขายพัฒนาไปมาก โดยเฉพาะธุรกิจการซื้อมาขายไปผ่านอินเทอร์เน็ต (e-Commerce) ที่ยังไม่ค่อยเข้าสู่ระบบภาษีมากนัก แต่การจะไปไล่บี้เก็บภาษีอย่างเดียว ก็จะไม่เป็นการส่งเสริมธุรกิจให้เติบโตขึ้น ขณะเดียวกัน การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (เออีซี) หากไทยมีอุปสรรคด้านภาษีมากเกินไป ก็ทำให้แข่งขันกับต่างชาติลำบาก
อย่างไรก็ตาม กรมฯ ยังมั่นใจว่าทั้งปีนี้จะจัดเก็บรายได้เกินเป้าหมายที่วางไว้ได้ถึง 20% แน่นอน แม้ว่าจะมีการหักลดหย่อนภาษีต่างๆ ไปจำนวนมาก รวมถึงภาวะเศรษฐกิจช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 55 ไม่ค่อยดีนัก แต่ช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 55 ที่ผ่านมานั้น กรมฯ ยังคงเก็บรายได้เกินเป้าหมายถึง 10% หรือ 601,600 ล้านบาท
“กรมสรรพากรกำลังเร่งปรับโครงสร้างภาษี ด้วยการแบ่งกลุ่มย่อยๆ ออกไป เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินการ ทั้งการปรับโครงสร้างภาษี การขยายฐานภาษี ปรับปรุงระบบภาษีตลาดทุน ตลาดเงิน และภาษีระหว่างประเทศ เพื่อรองรับเออีซี โดยเรื่องไหนแล้วเสร็จก่อนก็จะเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาและนำเข้าครม.ต่อไป โดยสัปดาห์หน้าจะเสนอเรื่องการแยกยื่นภาษีระหว่างสามีและภรรยาไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อให้พิจารณานำเข้า ครม.ต่อไป จากนั้นจะพิจารณาเรื่องการปรับอัตราจัดเก็บภาษีให้มีความถี่มากขึ้น พิจารณาให้หักค่าลดหย่อนรายได้ให้เหมาะสมกับปัจจุบัน และแก้กฎหมายแม่เพื่อรองรับการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เป็น 23% เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องต่อเนื่อง แต่ต้องค่อยทยอยทำทีละเรื่อง”
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 54 ที่ผ่านมานั้น มีผู้มายื่นแบบเสียภาษีทั้งสิ้น 11.76 ล้านแบบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.6% โดยเป็นการยื่นเสียภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต 70% ในจำนวนนี้เป็นการยื่นเฉพาะเงินเดือน หรือ ภ.ง.ด. 90 ถึง 79% ยื่นทั้งเงินเดือนและรายได้อื่นๆ หรือ ภ.ง.ด. 91 อีก 21% มีจำนวนขอคืนภาษี 2.18 ล้านบาท หรือ 23% ที่เหลือคือชำระเงินเพิ่ม ทั้งนี้ ถึงวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้คืนเงินภาษีให้แล้วกว่า 70% นับว่าน่าพอใจ
“มีผู้ยื่นเสียภาษีทางอินเทอร์เน็ตรวมเป็นเงินกว่า 15,600 ล้านบาท ขอคืนภาษี 17,000 ล้านบาท ซึ่งการที่บุคคลธรรมดาขอคืนภาษีมากกว่าชำระภาษีนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะนอกจากให้ผ่อนชำระได้ 3 งวดแล้ว ที่ผ่านมากรมสรรพากรได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้เกือบหมดแล้ว เหลือแค่ธุรกิจโรงแรม ธนาคาร และการซื้อมาขายไปเท่านั้น ทำให้เมื่อมีธุรกรรมใดๆ เกิดขึ้น ก็จะทยอยหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทั้งปีอยู่แล้ว พอสิ้นปีก็ค่อยมาหักลบกลบหนี้ ดูว่าต้องจ่ายเพิ่มหรือต้องขอคืน”
ส่วนผู้มาใช้สิทธิ์ลดหย่อนโครงการบ้านหลังแรกมีมูลค่า 10,000 ล้านบาท เป็นเงินภาษี 225 ล้านบาท คาดว่าปีหน้า จะเพิ่มสูงกว่านี้มาก เนื่องจากผู้ที่ยื่นในปีนี้เป็นผู้ที่เข้าร่วมโครงการใน 3 เดือนแรกของโครงการเท่านั้น อีกทั้งยังทยอยใช้สิทธิได้ใน 5 ปีด้วย นอกจากนี้ มีผู้ที่มาใช้สิทธิโครงการลดหย่อนภาษีจากการซ่อมบ้าน และซ่อมรถยนต์ที่ถูกน้ำท่วมเมื่อปลายปีที่ผ่านมาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต 11,651 ราย รวมมูลค่า 257 ล้านบาท คาดว่าจะมีมากกว่านี้ เมื่อรวมการยื่นแบบเสียภาษีด้วยกระดาษตามสรรพากรพื้นที่ต่างๆ ซึ่งจะช้ากว่าระบบอินเทอร์เน็ตระยะหนึ่ง
นายสาธิต กล่าวว่า นอกจากนี้ กรมฯ ได้เน้นการดึงคนที่อยู่นอกระบบการเสียภาษี ให้เข้ามาอยู่ในระบบให้มากที่สุด เพื่อเป็นการขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้น พร้อมทั้งพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบันที่การค้าขายพัฒนาไปมาก โดยเฉพาะธุรกิจการซื้อมาขายไปผ่านอินเทอร์เน็ต (e-Commerce) ที่ยังไม่ค่อยเข้าสู่ระบบภาษีมากนัก แต่การจะไปไล่บี้เก็บภาษีอย่างเดียว ก็จะไม่เป็นการส่งเสริมธุรกิจให้เติบโตขึ้น ขณะเดียวกัน การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (เออีซี) หากไทยมีอุปสรรคด้านภาษีมากเกินไป ก็ทำให้แข่งขันกับต่างชาติลำบาก
อย่างไรก็ตาม กรมฯ ยังมั่นใจว่าทั้งปีนี้จะจัดเก็บรายได้เกินเป้าหมายที่วางไว้ได้ถึง 20% แน่นอน แม้ว่าจะมีการหักลดหย่อนภาษีต่างๆ ไปจำนวนมาก รวมถึงภาวะเศรษฐกิจช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 55 ไม่ค่อยดีนัก แต่ช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 55 ที่ผ่านมานั้น กรมฯ ยังคงเก็บรายได้เกินเป้าหมายถึง 10% หรือ 601,600 ล้านบาท
“กรมสรรพากรกำลังเร่งปรับโครงสร้างภาษี ด้วยการแบ่งกลุ่มย่อยๆ ออกไป เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินการ ทั้งการปรับโครงสร้างภาษี การขยายฐานภาษี ปรับปรุงระบบภาษีตลาดทุน ตลาดเงิน และภาษีระหว่างประเทศ เพื่อรองรับเออีซี โดยเรื่องไหนแล้วเสร็จก่อนก็จะเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาและนำเข้าครม.ต่อไป โดยสัปดาห์หน้าจะเสนอเรื่องการแยกยื่นภาษีระหว่างสามีและภรรยาไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อให้พิจารณานำเข้า ครม.ต่อไป จากนั้นจะพิจารณาเรื่องการปรับอัตราจัดเก็บภาษีให้มีความถี่มากขึ้น พิจารณาให้หักค่าลดหย่อนรายได้ให้เหมาะสมกับปัจจุบัน และแก้กฎหมายแม่เพื่อรองรับการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เป็น 23% เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องต่อเนื่อง แต่ต้องค่อยทยอยทำทีละเรื่อง”