ตลาดหลักทรัพย์ฯชี้ ตลาดหุ้นอยู่ช่วงขึ้นเป็นจังหวะดี หาก บจ. การเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป ส่งผลให้ขายหุ้นเพิ่มทุนแก่พันธมิตรใหม่ได้ราคาดี-ระดมทุนรวดเร็วขึ้น เผยต้นปี บจ.ทำแล้ว 12 บริษัท มูลค่า 2-3 พันล้านบาท " ชนิตร" เผยต้นปี บจ.ใช้เครื่องมือทางการเงิน 52 รายการ เพิ่มสภาพคล่องหุ้นและดูแลราคาหุ้น มากสุดจ่ายเป็นหุ้นปันผล
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองผู้จัดการ สายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบิรษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ( mai ) เปิดเผยว่าปีนี้บริษัทจดทะเบียนมีการเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป ( General Mandate ) มากขึ้นในการประชุมสมัญผู้ถือหุ้นประจำปี (AGM) ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 12 บริษัท ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มทุนประมาณ 2-3 พันล้านบาท ซึ่งการเพิ่มทุนวิธีนี้ยังไม่ต้องระบุวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ชัดเจนตอนขออนุมัติผู้ถือหุ้น แต่เมื่อจะจัดสรรต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริษัทและต้องเปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน
สำหรับ ขณะนี้ที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยอยู่ในช่วงขาขึ้น ถือว่าเป็นจังหวะที่ดีในการที่จะมีการเสนอขายหุ้น ให้กับพันธมิตรใหม่ ซึ่งหากมีการรขอ General Mandate จะช่วยให้บริษัทเพิ่มทุนได้ทันต่อความต้องการและสภาวะตลาดหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วและเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน ช่วยลดขึ้นตอนและระยะเวลาได้ประมาณ 4-10 สัปดาห์ ในขณะเดียวกันยังคงหลักการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ไม่วาจะเป็นเรื่องการเพิ่มได้เฉพาะหุ้นเท่านั้น ยังจำกัด สัดส่วนหุ้นที่เพิ่มแต่ละประเภทไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นเดิม ( RO ) ประชาชนทั่วไป ( PO ) และบุคคลในวงจำกัด (PP) อีกทั้งราคาเสนอขายต้องไม่ใช่ราคาต่ำ และต้องจัดสรรภายใน AGM ถัดไปเท่านั้น
" ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการประกาศใช้ General Mandate ตั้งแต่เดือนมีนาคม 54 ในขณะที่ต่างประเทศใช้กันมาหลายปีแล้ว ซึ่งถือว่าการใช้ดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นให้เราแข่งขันกับตลาดหุ้นในภูมิภาคจากที่ตลาดหุ้นไทยมีกฎหมายหรือเกณฑ์ที่มีความคล่องตัวมากขึ้น " นายชนิตรกล่าว
ทั้งนี้ ในช่วงต้นปีนี้บริษัทจดทะเบียนได้มีการใช้เครื่องมือทางการเงินในตลาดหลักทรัพย์ฯรวม 48 บริษัท จำนวน 52 เครื่องมือ ณ 16 มีนาคม 55 แบ่งเป็นการรจ่ายหุ้นปันผล ( Stock Dividend ) จำนวน 26 บริษัท มูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับการใช้เครื่องมือทงการเงินประเภทอื่นๆ และมากกว่าทั้งปี 54 ที่มีจำนวน 19 บริษัท รองมาคือการออกเสนอขายหุ้น หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นแก่กรรมการและพนักงาน (ESOP) จำนวน 11 บริษัทและการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ( Warrant ) จำนวน 5 บริษัท การเปลี่ยนแปลงมูล่าพาร์ จำนวน 5 บริษัท การซื้อหุ้นคืน (Treasury Stock) จำนวน 2 บริษัท และการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture ) 2 บริษัท และการทำโครงการสะสมหุ้นสำหรับพนักงานบริษัทจดทะเบียน ( EJIP ) จำนวน 1 บริษัท
อย่างไรก็ตาม ในปี 54 บจ.ใช้เครื่องมือทางการเงินรวม 96 บริษัทมากสุดคือการการออก ESOP และ Warrant จำนวน 42 บริษัท รองลงมาการเปลี่ยนแปลงมูลค่าพาร์จำนวน 20 บริษัท และสุดท้ายการออกหุ้นปันผลจำนวน 19 บริษัท การซื้อหุ้นคืนจำนวน 6 บริษัท การทำ EJIP จำนวน 5 บริษัท และการออกหุ้นกู้แปลงสภาพจำนวน 4 บริษัท
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองผู้จัดการ สายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบิรษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ( mai ) เปิดเผยว่าปีนี้บริษัทจดทะเบียนมีการเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป ( General Mandate ) มากขึ้นในการประชุมสมัญผู้ถือหุ้นประจำปี (AGM) ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 12 บริษัท ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มทุนประมาณ 2-3 พันล้านบาท ซึ่งการเพิ่มทุนวิธีนี้ยังไม่ต้องระบุวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ชัดเจนตอนขออนุมัติผู้ถือหุ้น แต่เมื่อจะจัดสรรต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริษัทและต้องเปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน
สำหรับ ขณะนี้ที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยอยู่ในช่วงขาขึ้น ถือว่าเป็นจังหวะที่ดีในการที่จะมีการเสนอขายหุ้น ให้กับพันธมิตรใหม่ ซึ่งหากมีการรขอ General Mandate จะช่วยให้บริษัทเพิ่มทุนได้ทันต่อความต้องการและสภาวะตลาดหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วและเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน ช่วยลดขึ้นตอนและระยะเวลาได้ประมาณ 4-10 สัปดาห์ ในขณะเดียวกันยังคงหลักการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ไม่วาจะเป็นเรื่องการเพิ่มได้เฉพาะหุ้นเท่านั้น ยังจำกัด สัดส่วนหุ้นที่เพิ่มแต่ละประเภทไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นเดิม ( RO ) ประชาชนทั่วไป ( PO ) และบุคคลในวงจำกัด (PP) อีกทั้งราคาเสนอขายต้องไม่ใช่ราคาต่ำ และต้องจัดสรรภายใน AGM ถัดไปเท่านั้น
" ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการประกาศใช้ General Mandate ตั้งแต่เดือนมีนาคม 54 ในขณะที่ต่างประเทศใช้กันมาหลายปีแล้ว ซึ่งถือว่าการใช้ดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นให้เราแข่งขันกับตลาดหุ้นในภูมิภาคจากที่ตลาดหุ้นไทยมีกฎหมายหรือเกณฑ์ที่มีความคล่องตัวมากขึ้น " นายชนิตรกล่าว
ทั้งนี้ ในช่วงต้นปีนี้บริษัทจดทะเบียนได้มีการใช้เครื่องมือทางการเงินในตลาดหลักทรัพย์ฯรวม 48 บริษัท จำนวน 52 เครื่องมือ ณ 16 มีนาคม 55 แบ่งเป็นการรจ่ายหุ้นปันผล ( Stock Dividend ) จำนวน 26 บริษัท มูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับการใช้เครื่องมือทงการเงินประเภทอื่นๆ และมากกว่าทั้งปี 54 ที่มีจำนวน 19 บริษัท รองมาคือการออกเสนอขายหุ้น หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นแก่กรรมการและพนักงาน (ESOP) จำนวน 11 บริษัทและการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ( Warrant ) จำนวน 5 บริษัท การเปลี่ยนแปลงมูล่าพาร์ จำนวน 5 บริษัท การซื้อหุ้นคืน (Treasury Stock) จำนวน 2 บริษัท และการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture ) 2 บริษัท และการทำโครงการสะสมหุ้นสำหรับพนักงานบริษัทจดทะเบียน ( EJIP ) จำนวน 1 บริษัท
อย่างไรก็ตาม ในปี 54 บจ.ใช้เครื่องมือทางการเงินรวม 96 บริษัทมากสุดคือการการออก ESOP และ Warrant จำนวน 42 บริษัท รองลงมาการเปลี่ยนแปลงมูลค่าพาร์จำนวน 20 บริษัท และสุดท้ายการออกหุ้นปันผลจำนวน 19 บริษัท การซื้อหุ้นคืนจำนวน 6 บริษัท การทำ EJIP จำนวน 5 บริษัท และการออกหุ้นกู้แปลงสภาพจำนวน 4 บริษัท