"กิตติรัตน์" ยืนยัน รัฐบาลพร้อมหนุนเอกชนเข้าสู่ AEC ปี 58 หวั่นสมาชิกอาเซียน ออกมาตรการกีดกันทางการค้า หลังไม่มีกำแพงภาษีของแต่ละประเทศ พร้อมระบุ แนวทางการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย ควรเป็นหน้าที่ของ คกก. กองทุนประกันภัยพิบัติฯ เชื่อบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศ มีความมั่นใจรับประกันภัยต่อในไทยมากขึ้น จากแผนบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจนของรัฐบาล
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน ASEAN Business Forum 2012 โดยยืนยันว่า รัฐบาลพร้อมที่จะสนับสนุนภาคเอกชนในการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 อย่างดีที่สุด แต่ยอมรับว่ามีความกังวลในเรื่องของการแข่งขันของประเทศสมาชิกอาเซียน หากไม่สามารถแข่งขันได้ หลังจากไม่มีกำแพงภาษีของแต่ละประเทศแล้ว แต่จะมีการกำหนดมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีขึ้นมาเป็นมาตรการกีดกันแทน โดยในฐานะผู้นำ จะมีการเจรจาและทำข้อตกลงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น ทำให้ AEC เป็นตลาดเสรี และพร้อมต่อการลงทุนอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ การเตรียมพร้อมรับการเปิด AEC เปิดเรื่องที่ภาคเอกชนต้องเตรียมตัวโดยรัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุน ขณะเดียวกันภาคเอกชนไทยอย่าคิดแต่เพียงการตั้งรับ แต่ต้องมองถึงการรุกด้วย ซึ่งอดีตอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินบาทที่อ่อนค่าเคยช่วยสนุนสนับการแข่งขันภาคเอกชน แต่ขณะนี้เงินบาทที่แข็งค่าคงไม่สามารถช่วยเพิ่มความสามารถการแข่งขันได้ไม่มากแล้ว ดังนั้น สิ่งสำคัญคือภาคธุรกิจึคงต้องมีการเตรียมความพร้อมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
สำหรับความร่วมมือของการเปิด AEC ประเทศต่างๆในอาเซียนได้มีการลดอัตราภาษีศุลกากรแล้วเกือบทั้งหมด เหลือเพียง 4 ประเทศที่ยังต้องใช้เวลาดำเนินการ ดังนั้นเมื่อไม่มีอัตราภาษีศุลกากร ทำให้มีความกังวลว่าอาจจะมีการใช้การกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีมาใช้ ดังนั้นหากประเทศต่างๆมีการร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งไม่นำมาตรการดังกล่าวมาใช้ และเตรียมรับมือพร้อมการแข่งขันซึ่งกันและกัน
นายกิตติรัตน์ กล่าวถึงกรณีที่มีการวิจารณ์ว่ารัฐบาลไม่มีนโยบายส่งเสริมการแข่งขันในประเทศก่อนเตรียมรับมือการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น นโยบายการรับจำนำข้าว ทำให้ไทยเสียเปรียบเวียดนามนั้น เห็นว่า นโยบายบางเรื่องมีทั้งข้อดีข้อเสีย แต่ที่ผ่านมาชาวนายังยากจน ดังนั้นหากคิดว่านโยบายอื่นถูก แต่ชาวนายังยากจนอยู่ ดังนั้น หากนักวิชาการมีข้อเสนอแนะที่ดีกว่าและทำให้ชาวนามีรายได้มากขึ้น รัฐบาลก็พร้อมที่จะนำนโยบายนั้นมาดำเนินการ
เดียวกัน แบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัย ธุรกิจเอสเอ็มอี และอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ว่า ยังไม่เห็นรายละเอียดในเรื่องดังกล่าว และเห็นควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการฯ เพราะยังมีเวลาในการหารือในรายละเอียดให้ชัดเจน ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เบื้องต้นคาดว่าหากกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยตามความเสี่ยงของพื้นที่เป็นระดับเฉดสี เบี้ยประกันอาจไม่แตกต่างกันมากนัก แต่บริษัทประกันภัยอาจเพิ่มเบี้ยประกันสำหรับพื้นที่เสี่ยงภัย และหากสูงเกินไปประชาชนมีสิทธิเลือกซื้อหรือไม่ซื้อประกันที่มีราคาแพง
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า กองทุนประกันภัยฯ จะเป็นตัวกลางในการรับประกันภัยจากบริษัทประกันภัยในไทย เพื่อส่งต่อไปยังบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศ แทนบริษัทประกันภัยที่ไม่พร้อมรับประกันภัยจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงถูกน้ำท่วมซ้ำ ซึ่งขณะนี้มีบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศมีความมั่นใจรับประกันภัยต่อในไทยมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีแผนบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจนและภาคอุตสาหกรรมดำเนินการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมถาวรแล้ว ทำให้พื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดน้ำท่วมซ้ำมีความเสี่ยงลดลง