ASTV ผู้จัดการรายวัน - เสวนา “Alternative funding แหล่งทุนทางเลือกสู้วิกฤตอุทกภัย” ผู้เชี่ยวชาญแนะผู้ประกอบการที่ประสบภัยน้ำท่วมบริหารกระแสเงินสดให้เวิร์คเพื่อพยุงธุรกิจ ชี้ผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน คืออีกช่องทางของแหล่งเงินเพื่อนำมาฟื้นฟูกิจการ และผลักดันธุรกิจเจริญก้าวหน้า
นายสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมนเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวในงานเสวนา “Alternative funding แหล่งทุนทางเลือกสู้วิกฤตอุทกภัย” ว่าสำหรับผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาอย่างแรกที่ต้องทำคือ ขอยืดการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นกับสถาบันการเงิน เพื่อคงกระแสเงินสดไว้หล่อเลี้ยงธุรกิจ พอเริ่มอยู่ตัวได้1-2 เดือน แล้วค่อยเข้าพบธนาคารเพื่อเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งส่วนตัวแนะนำไม่ควรทำประมาณการณ์การเงินแบบแอคทีฟมากเกิน เพราะหากไม่สามารถทำได้ จะทำให้บริษัทกลายเป็นหนี้เสีย (เอ็นพีแอล)ของธนาคารได้ อีกทั้งควรหาแหล่งเงินทุนเข้ามาฟื้นฟูธุรกิจ ทั้งการเจรจาของวงเงินใหม่จากธนาคาร หรือผ่านการดึงธุรกิจเงินร่วมลงทุนเข้ามาช่วยเหลือ หากธุรกิจมีศักยภาพและมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี
ด้านนายวีรพันธ์ พูลเกษ กรรมการสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (TVCA) กล่าว่า ช่วงวิกฤตตอนนี้ สิ่งสำคัญคือการบริหารแสเงินสด การขอให้ธนาคารช่วยผ่อนผัน การหาเงินใหม่เข้ามาฟื้นฟูธุรกิจ จะรอเงินชดเชยจากประกันภัยคงไม่เต็มจำนวน และใช้เวลานานมาก ซึ่งการเดินธุรกิจควรเร่งฟื้นฟูทุกอย่างโดยเร็ว เพราะลูกค้าที่มีอยู่ในมือไม่ชอบรอคอยสินค้าจากเรานาน และอาจจะไปหาจากแหล่งอื่นแทน
นายโสภณ บุณยรัตพันธุ์ นายกสมาคมผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน กล่าวว่า ธุรกิจเงินร่วมลงทุน มีมานานแล้วในประเทศไทย แต่ยังไม่แพร่หลาย แต่ในต่างประเทศนั้นมีกันเป็นจำนวนมาก มองว่านี่อาจเป็ฯอีกทางช่วยหนึ่งของผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาได้ แต่ตัวผู้ประกอบการก็ต้องอยมรับความจริงในข้อสิทธิหรือความเป็นเจ้าของกิจการที่ปรับตัวลดลงไปตามสัดส่วนการถือหุ้นที่ธุรกิจร่วมลงทุนเข้าด้วย ขณะเดียวกันอยากให้มองว่าการมีผู้เข้ามาร่วมลงทุนอาจเป็นข้อเสริมศักยภาพธุรกิจมากกว่า เช่นผู้ประกอบการอาจมีความเชี่ยวชาญในด้านธุรกิจที่ทำ แต่ไม่มีความชำนาญด้านการเงิน หรือด้านอื่นๆ ผู้ร่วมลงทุนอาจมีความเชี่ยวชาญในเรื่องเหล่านี้ หรือช่วยหาพาร์ทเนอร์มาเสริมให้ ซึ่งจะยิ่งทำให้การเติบโตของบริษัทดีขึ้น และมีศักยภาพมากขึ้น มากกว่า
นายสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมนเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวในงานเสวนา “Alternative funding แหล่งทุนทางเลือกสู้วิกฤตอุทกภัย” ว่าสำหรับผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาอย่างแรกที่ต้องทำคือ ขอยืดการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นกับสถาบันการเงิน เพื่อคงกระแสเงินสดไว้หล่อเลี้ยงธุรกิจ พอเริ่มอยู่ตัวได้1-2 เดือน แล้วค่อยเข้าพบธนาคารเพื่อเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งส่วนตัวแนะนำไม่ควรทำประมาณการณ์การเงินแบบแอคทีฟมากเกิน เพราะหากไม่สามารถทำได้ จะทำให้บริษัทกลายเป็นหนี้เสีย (เอ็นพีแอล)ของธนาคารได้ อีกทั้งควรหาแหล่งเงินทุนเข้ามาฟื้นฟูธุรกิจ ทั้งการเจรจาของวงเงินใหม่จากธนาคาร หรือผ่านการดึงธุรกิจเงินร่วมลงทุนเข้ามาช่วยเหลือ หากธุรกิจมีศักยภาพและมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี
ด้านนายวีรพันธ์ พูลเกษ กรรมการสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (TVCA) กล่าว่า ช่วงวิกฤตตอนนี้ สิ่งสำคัญคือการบริหารแสเงินสด การขอให้ธนาคารช่วยผ่อนผัน การหาเงินใหม่เข้ามาฟื้นฟูธุรกิจ จะรอเงินชดเชยจากประกันภัยคงไม่เต็มจำนวน และใช้เวลานานมาก ซึ่งการเดินธุรกิจควรเร่งฟื้นฟูทุกอย่างโดยเร็ว เพราะลูกค้าที่มีอยู่ในมือไม่ชอบรอคอยสินค้าจากเรานาน และอาจจะไปหาจากแหล่งอื่นแทน
นายโสภณ บุณยรัตพันธุ์ นายกสมาคมผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน กล่าวว่า ธุรกิจเงินร่วมลงทุน มีมานานแล้วในประเทศไทย แต่ยังไม่แพร่หลาย แต่ในต่างประเทศนั้นมีกันเป็นจำนวนมาก มองว่านี่อาจเป็ฯอีกทางช่วยหนึ่งของผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาได้ แต่ตัวผู้ประกอบการก็ต้องอยมรับความจริงในข้อสิทธิหรือความเป็นเจ้าของกิจการที่ปรับตัวลดลงไปตามสัดส่วนการถือหุ้นที่ธุรกิจร่วมลงทุนเข้าด้วย ขณะเดียวกันอยากให้มองว่าการมีผู้เข้ามาร่วมลงทุนอาจเป็นข้อเสริมศักยภาพธุรกิจมากกว่า เช่นผู้ประกอบการอาจมีความเชี่ยวชาญในด้านธุรกิจที่ทำ แต่ไม่มีความชำนาญด้านการเงิน หรือด้านอื่นๆ ผู้ร่วมลงทุนอาจมีความเชี่ยวชาญในเรื่องเหล่านี้ หรือช่วยหาพาร์ทเนอร์มาเสริมให้ ซึ่งจะยิ่งทำให้การเติบโตของบริษัทดีขึ้น และมีศักยภาพมากขึ้น มากกว่า