ธปท.เปิดทางให้แบงก์ให้บริการทรัสต์ ยกเว้นเฉพาะธุรกรรมตราสารทุน หวังเพิ่มทางเลือกบริการใหม่ๆ ให้แก่แบงก์ พร้อมทั้งรองรับการเปิดเสรีทางการเงินให้กว้างขว้างขึ้นในอนาคต คาด แม้จะเปิดให้ทำทรัสต์ได้ แต่แบงก์สนใจน้อย เหตุโครงสร้างของแบงก์เกี่ยวกับระบบปฏิบัติงานมากกว่าจะคำนึงเฉพาะผลประโยชน์ในการดูแลทรัพย์สินเฉพาะก้อน
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ในระบบสามารถให้บริการทรัสต์ได้ทันที ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการดูแลและบริหารจัดการทรัพย์สินให้ส่วนบุคคลหรือหลายคนก็ได้ จึงเป็นการเพิ่มทางเลือกบริการใหม่ๆ ของธนาคารพาณิชย์ที่หลากหลายขึ้น พร้อมทั้งรองรับการเปิดเสรีทางการเงินในอนาคต
“ในปัจจุบันการให้บริการทรัสต์ ทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) และบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทำได้อยู่แล้ว แต่ที่เราอนุญาตให้แบงก์ทำได้ ซึ่งหลายเรื่องทำได้ใกล้เคียงกัน แต่ทรัสต์มีหลายประเภท แบงก์ทำได้ยกเว้นเฉพาะเรื่องตราสารทุน และแม้ ธปท.จะเปิดให้ทำ แต่บางอย่างแบงก์ก็ไม่ได้ทำเอง หรือไม่รู้ว่าใครจะได้อะไร เพราะโครงสร้างงานของแบงก์แตกต่างกันทั้งสภาพการของระบบที่จัดตั้งขึ้น ความจำเป็นของงาน ระบบเงินเดือน ซึ่งงานแบงก์ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับงานปฏิบัติการ (Operation) ค่อนข้างมาก จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการดูแลทรัพย์สินนั้นๆ ก็ได้”
ทั้งนี้ แม้ ธปท.จะอนุญาตให้ธนาคารในระบบเปิดบริการนี้ได้ แต่เชื่อว่าจะไม่เป็นการเพิ่มธุรกรรมความเสี่ยงให้แก่ธนาคารพาณิชย์ แต่กลับเป็นช่องทางกว้างขวางขึ้นในการรับลูกค้าหลากหลายกลุ่มมากกว่า เพราะเป็นเรื่องการค้าขายด้วย จึงไม่ใช่แค่การบริหารเงินให้ดีอย่างเดียวเท่านั้น และบริการทรัสต์นี้ก็ไม่ได้มีผลต่อหลักเกณฑ์การกำกับแบบรวมกลุ่มเพราะบริการทรัสต์ไม่ได้รับเงินฝากจากประชาชน แต่เงินที่รับมาต้องแยกชัดเจนกับเงินของคนบริหารหรือธนาคารพาณิชย์ที่รับหน้าที่เป็นทรัสต์
รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดเสรีทางการเงินระยะต่อไป เชื่อว่า ตั้งแต่ช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ระบบสถาบันการเงินไทยค่อนข้างแข็งแกร่งและจะพิจารณผลประโยชน์แก่ประเทศมาก่อน โดยการที่ ธปท.จะเปิดเสรีต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าเมื่อเปิดมาแล้วต้องไม่กระทบต่อเสถียรภาพของระบบ เพิ่มการแข่งขันให้ลูกค้าธนาคารได้มีโอกาสรับบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อุดช่องว่างบางบริการที่สถาบันการเงินยังขาดอยู่ รวมไปถึงเมื่อเปิดเสรีทางการเงินแล้วต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะแง่ของต่างชาติรายเก่าที่ประกอบธุรกิจในไทยมานานจนสร้างผลประโยชน์ที่ดีให้ไทยก็จะได้รับการพิจารณามากกว่าต่างชาติรายใหม่ที่เข้ามา
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ในระบบสามารถให้บริการทรัสต์ได้ทันที ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการดูแลและบริหารจัดการทรัพย์สินให้ส่วนบุคคลหรือหลายคนก็ได้ จึงเป็นการเพิ่มทางเลือกบริการใหม่ๆ ของธนาคารพาณิชย์ที่หลากหลายขึ้น พร้อมทั้งรองรับการเปิดเสรีทางการเงินในอนาคต
“ในปัจจุบันการให้บริการทรัสต์ ทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) และบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทำได้อยู่แล้ว แต่ที่เราอนุญาตให้แบงก์ทำได้ ซึ่งหลายเรื่องทำได้ใกล้เคียงกัน แต่ทรัสต์มีหลายประเภท แบงก์ทำได้ยกเว้นเฉพาะเรื่องตราสารทุน และแม้ ธปท.จะเปิดให้ทำ แต่บางอย่างแบงก์ก็ไม่ได้ทำเอง หรือไม่รู้ว่าใครจะได้อะไร เพราะโครงสร้างงานของแบงก์แตกต่างกันทั้งสภาพการของระบบที่จัดตั้งขึ้น ความจำเป็นของงาน ระบบเงินเดือน ซึ่งงานแบงก์ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับงานปฏิบัติการ (Operation) ค่อนข้างมาก จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการดูแลทรัพย์สินนั้นๆ ก็ได้”
ทั้งนี้ แม้ ธปท.จะอนุญาตให้ธนาคารในระบบเปิดบริการนี้ได้ แต่เชื่อว่าจะไม่เป็นการเพิ่มธุรกรรมความเสี่ยงให้แก่ธนาคารพาณิชย์ แต่กลับเป็นช่องทางกว้างขวางขึ้นในการรับลูกค้าหลากหลายกลุ่มมากกว่า เพราะเป็นเรื่องการค้าขายด้วย จึงไม่ใช่แค่การบริหารเงินให้ดีอย่างเดียวเท่านั้น และบริการทรัสต์นี้ก็ไม่ได้มีผลต่อหลักเกณฑ์การกำกับแบบรวมกลุ่มเพราะบริการทรัสต์ไม่ได้รับเงินฝากจากประชาชน แต่เงินที่รับมาต้องแยกชัดเจนกับเงินของคนบริหารหรือธนาคารพาณิชย์ที่รับหน้าที่เป็นทรัสต์
รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดเสรีทางการเงินระยะต่อไป เชื่อว่า ตั้งแต่ช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ระบบสถาบันการเงินไทยค่อนข้างแข็งแกร่งและจะพิจารณผลประโยชน์แก่ประเทศมาก่อน โดยการที่ ธปท.จะเปิดเสรีต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าเมื่อเปิดมาแล้วต้องไม่กระทบต่อเสถียรภาพของระบบ เพิ่มการแข่งขันให้ลูกค้าธนาคารได้มีโอกาสรับบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อุดช่องว่างบางบริการที่สถาบันการเงินยังขาดอยู่ รวมไปถึงเมื่อเปิดเสรีทางการเงินแล้วต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะแง่ของต่างชาติรายเก่าที่ประกอบธุรกิจในไทยมานานจนสร้างผลประโยชน์ที่ดีให้ไทยก็จะได้รับการพิจารณามากกว่าต่างชาติรายใหม่ที่เข้ามา