EIC SCB คาดเศรษฐกิจไทย Q4 หดตัว 4.2% รับผลกระทบเต็มที่จากภาวะน้ำท่วม และจะเริ่มกระเตื้องขึ้นในปีหน้าที่เติบโต 4.5% แต่ยังมี 2 ปัจจัยเสี่ยงด้านนโยบายฟื้นฟูด้านความมั่นใจของภาครัฐ-เศรษฐกิจยุโรป
นางสาวสุทธาภา อมรวิวัฒน์ Chief Economist และ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)(SCB) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC)ประเมินว่าจากสถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ในประเทศไทยจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 4 เศรษฐกิจไตรมาส 4 น่าจะหดตัวประมาณ 4% เทียบกับไตรมาส 3 และส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะขยายตัวได้เพียง 1.8% เท่านั้น ซึ่งลดลงจากการประมาณการก่อนเกิดวิกฤตน้ำท่วมค่อนข้างมาก
"เท่าที่เราประเมินจากภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นจะทำให้มีโรงงานปิดไปเกือบ 1 หมื่นแห่ง คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อแรงงาน 470,000 คน รวมถึงผลกระทบต่อเนื่อง ซึ่งทำให้สินค้าต้นน้ำและปลายน้ำที่เกี่ยวข้องก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย นอกจากนี้ยังมีความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรซึ่งมีสัดส่วนในจีดีพีถึง 8%และภาคท่องเที่ยวในไตรมาส 4 ซึ่งเป็นฤดูการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ"
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยน่าจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วในปี 2555 ซึ่งน่าจะขยายตัวได้ประมาณ 4.5% โดยในช่วงครึ่งแรกของปีจะมีแรงส่งจากการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐเพื่อเร่งสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนซึ่งจะส่งผลทำให้มีการกลับเข้ามาลงทุนของภาคเอกชน (crowding in) รวมถึงการจ้างงานของภาคเอกชนเพื่อฟื้นฟูกำลังการผลิต โดยคาดว่าจะมีการนำเข้าสินค้าทุนจำนวนมากเพื่อทดแทนกำลังการผลิตที่เสียหายไป ขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) อาจยังชะลอในช่วงแรกเนื่องจากยังต้องมีการประเมินความเสียหายและความพร้อมของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานเช่น การขนส่ง น้ำประปา และไฟฟ้า
ส่วนในช่วงครึ่งหลังของปีนั้นจะเป็นการขยายกำลังการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับ อุปสงค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่โตขึ้น หากมองโดยรวมทั้งปีแล้วมูลค่าการส่งออกจะสามารถขยายตัวได้ประมาณ 11% ซึ่งนับว่าชะลอลงจากปี 2554 ที่การส่งออกน่าจะขยายตัวได้เกือบ 20%
ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย มองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) น่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อช่วยลดต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจเอกชน แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงสูงอยู่ในช่วงต้นปีต่อเนื่องมาจากปลายปี 2554 ที่มีปัญหาขาดแคลนสินค้า แต่ก็ไม่น่าจะเป็นเหตุให้ธปท.กังวลนัก โดยอัตราเงินเฟ้อน่าจะค่อยๆ ลดลงเนื่องจากภาคการผลิตน่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกไม่น่าจะเพิ่มขึ้นมากนัก ในขณะที่ค่าเงินบาทน่าจะอยู่ในระดับทรงตัว
"การประชุมกนง.รอบสุดท้ายของปีในวันที่ 30 พ.ย.นี้ น่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 3.25% เพื่อพยุงเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดภาวะ supply shock จากการที่สินค้าและบริการหายไปจากระบบส่วนหนึ่ง สำหรับในปีหน้าคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงอย่างค่อยเป็นเป็นไปในสัดส่วน 0.50-0.75% ซึ่งก็จะทำให้ดอกเบี้ยแบงก์พาณิชย์ปรับไปตามทิศทางเดียวกัน"
สำหรับปัจจัยเสี่ยงหลักๆ สองประการ ที่จะมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2555 คือ การฟื้นฟูความมั่นใจของนักลงทุนโดยมาตรการภาครัฐ และปัญหาหนี้ในสหภาพยุโรป มาตรการภาครัฐจะต้องเน้นการแก้ปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากไม่สามารถทำได้จะมีผลเสียต่อการลงทุน เช่น ผู้ประกอบการอาจไม่กลับมาลงทุนเพราะไม่สามารถซื้อประกันภัยความเสียหายจากอุทกภัยได้ ส่วนปัญหาหนี้ในสหภาพยุโรปยังไม่น่าจะจบในเร็ววัน และอาจทำให้เกิดความผันผวนของเศรษฐกิจไทยได้
"นโยบายรัฐบาลในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ควรจะทบทวนหรือไม่เห็นว่า คงต้องพิจารณาเป็นส่วนๆไป ขณะที่การก่อหนี้ภาครัฐที่ปัจจุบันหนี้สาธารณะต่อจีดีพี อยู่ที่ 40% ยังไม่น่าห่วง แต่ถ้ากลางปีหน้าภาคการผลิตยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ก็ต้องมาดูสถานะการคลัง เพราะหากจะกู้เงินเพื่อฟื้นฟูประเทศ ก็ต้องมาดูว่ากู้ในหรือกู้นอก เพราะกู้นอกเป็นดอลลาร์ อาจจะมีดอกเบี้ยสูง แต่กู้ในประเทศ อาจจะมีปัญหาแย่งเม็ดเงินกับภาคเอกชน รัฐบาลก็ต้องดูให้สมดุล"
นางสาวสุทธาภา อมรวิวัฒน์ Chief Economist และ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)(SCB) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC)ประเมินว่าจากสถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ในประเทศไทยจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 4 เศรษฐกิจไตรมาส 4 น่าจะหดตัวประมาณ 4% เทียบกับไตรมาส 3 และส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะขยายตัวได้เพียง 1.8% เท่านั้น ซึ่งลดลงจากการประมาณการก่อนเกิดวิกฤตน้ำท่วมค่อนข้างมาก
"เท่าที่เราประเมินจากภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นจะทำให้มีโรงงานปิดไปเกือบ 1 หมื่นแห่ง คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อแรงงาน 470,000 คน รวมถึงผลกระทบต่อเนื่อง ซึ่งทำให้สินค้าต้นน้ำและปลายน้ำที่เกี่ยวข้องก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย นอกจากนี้ยังมีความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรซึ่งมีสัดส่วนในจีดีพีถึง 8%และภาคท่องเที่ยวในไตรมาส 4 ซึ่งเป็นฤดูการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ"
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยน่าจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วในปี 2555 ซึ่งน่าจะขยายตัวได้ประมาณ 4.5% โดยในช่วงครึ่งแรกของปีจะมีแรงส่งจากการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐเพื่อเร่งสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนซึ่งจะส่งผลทำให้มีการกลับเข้ามาลงทุนของภาคเอกชน (crowding in) รวมถึงการจ้างงานของภาคเอกชนเพื่อฟื้นฟูกำลังการผลิต โดยคาดว่าจะมีการนำเข้าสินค้าทุนจำนวนมากเพื่อทดแทนกำลังการผลิตที่เสียหายไป ขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) อาจยังชะลอในช่วงแรกเนื่องจากยังต้องมีการประเมินความเสียหายและความพร้อมของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานเช่น การขนส่ง น้ำประปา และไฟฟ้า
ส่วนในช่วงครึ่งหลังของปีนั้นจะเป็นการขยายกำลังการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับ อุปสงค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่โตขึ้น หากมองโดยรวมทั้งปีแล้วมูลค่าการส่งออกจะสามารถขยายตัวได้ประมาณ 11% ซึ่งนับว่าชะลอลงจากปี 2554 ที่การส่งออกน่าจะขยายตัวได้เกือบ 20%
ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย มองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) น่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อช่วยลดต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจเอกชน แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงสูงอยู่ในช่วงต้นปีต่อเนื่องมาจากปลายปี 2554 ที่มีปัญหาขาดแคลนสินค้า แต่ก็ไม่น่าจะเป็นเหตุให้ธปท.กังวลนัก โดยอัตราเงินเฟ้อน่าจะค่อยๆ ลดลงเนื่องจากภาคการผลิตน่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกไม่น่าจะเพิ่มขึ้นมากนัก ในขณะที่ค่าเงินบาทน่าจะอยู่ในระดับทรงตัว
"การประชุมกนง.รอบสุดท้ายของปีในวันที่ 30 พ.ย.นี้ น่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 3.25% เพื่อพยุงเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดภาวะ supply shock จากการที่สินค้าและบริการหายไปจากระบบส่วนหนึ่ง สำหรับในปีหน้าคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงอย่างค่อยเป็นเป็นไปในสัดส่วน 0.50-0.75% ซึ่งก็จะทำให้ดอกเบี้ยแบงก์พาณิชย์ปรับไปตามทิศทางเดียวกัน"
สำหรับปัจจัยเสี่ยงหลักๆ สองประการ ที่จะมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2555 คือ การฟื้นฟูความมั่นใจของนักลงทุนโดยมาตรการภาครัฐ และปัญหาหนี้ในสหภาพยุโรป มาตรการภาครัฐจะต้องเน้นการแก้ปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากไม่สามารถทำได้จะมีผลเสียต่อการลงทุน เช่น ผู้ประกอบการอาจไม่กลับมาลงทุนเพราะไม่สามารถซื้อประกันภัยความเสียหายจากอุทกภัยได้ ส่วนปัญหาหนี้ในสหภาพยุโรปยังไม่น่าจะจบในเร็ววัน และอาจทำให้เกิดความผันผวนของเศรษฐกิจไทยได้
"นโยบายรัฐบาลในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ควรจะทบทวนหรือไม่เห็นว่า คงต้องพิจารณาเป็นส่วนๆไป ขณะที่การก่อหนี้ภาครัฐที่ปัจจุบันหนี้สาธารณะต่อจีดีพี อยู่ที่ 40% ยังไม่น่าห่วง แต่ถ้ากลางปีหน้าภาคการผลิตยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ก็ต้องมาดูสถานะการคลัง เพราะหากจะกู้เงินเพื่อฟื้นฟูประเทศ ก็ต้องมาดูว่ากู้ในหรือกู้นอก เพราะกู้นอกเป็นดอลลาร์ อาจจะมีดอกเบี้ยสูง แต่กู้ในประเทศ อาจจะมีปัญหาแย่งเม็ดเงินกับภาคเอกชน รัฐบาลก็ต้องดูให้สมดุล"