ผู้ผลิตอิฐมวลเอาอ่วม ปัจจัยลบรอบด้าน ต้นทุนขนส่ง เชื้อเพลิง วัตถุดิบ ปูนขาว ทราย ตบเท้าปรับขึ้นราคา ซ้ำปัญหาน้ำท่วมกระทบเส้นทางขนส่ง ขณะดีมานด์ในตลาดยังพุ่งต่อเนื่องจากต้นปี แม้ต้นทุนปรับตัวเพิ่ม ล่าสุดผู้ประกอบการทั้งตลาดพร้อมใจปรับราคาขายเพิ่ม25-30% ตามต้นทุนใหม่ ชี้โครงการอสังหาฯที่ต้องเร่งส่งงานต้องยอมแบกต้นทุนใหม่เพิ่ม ขณะโครงการที่ยังไม่มีกำหนดส่งมอบต้องชะลอก่อสร้างรอน้ำลด หวังราคาอิฐมวลเอาปรับตัวลงตามต้นทุนรวม
แหล่งข่าวในวงการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อิฐมวลเบา เปิดเผยว่า ปัญหาต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนเชื้อเพลิงและวัตถุดิบในการผลิตอิฐมวลเบาที่ปรับตัวสูงขึ้น ตั้งแต่ช่วงก่อนหน้าเกิดปัญหาน้ำท่วมนั้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต และจำหน่ายอิฐมวลเบาในตลาดรวมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะต้นทุนด้านเชื่อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดโลก และค่าขนส่ง ทำให้ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการอิฐมวลเบารายใหญ่ ซึ่งมีแชร์ตลาดรวมสูงมากกว่า 50% อย่างบริษัท คิวคอน จำกัด (มหาชน) นำร่องการปรับขึ้นราคาขายตามต้นทุนรวมที่ปรับตัวขึ้นไปแล้วกว่า 25-30%
ทั้งนี้ การปรับขึ้นราคาของผู้ประกอบการรายใหญ่นั้นสามารถทำได้ทันที เนื่องจากมีวอรูมการจำหน่ายที่สูง ทำให้มีอำนาจการต่อรองและสามารถปรับราคาได้ทันที ในขณะที่ผู้ประกอบการรายเล็กยังไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายได้ หรือหากมีการปรับขึ้นก็ไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายให้ครอบคุลมต้นทุนทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นตามจริง แม้ว่าต้นทุนรวมจะปรับขึ้นไปแล้วก็ตาม
แต่อย่างไรก็ตาม หลังเกิดปัญหาการยกเลิกท่าขึ้นถ่านหินที่จังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากท่าขึ้นถ่านหินดังกล่าวไม่ผ่านการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมทำให้ท่าขึ้นถ่านหินดังกล่าวถูกยกเลิกไป ส่งผลให้ปัจจุบันมีท่าขึ้นถ่านหิน บิทูมินัส ซึ่งนำเข้าจากประเทศอินโดนีเชีย มีเพียงแห่งเดียว คือ ท่าขึ้นถ่านหินนครหลวงจ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งต้องใช้ระยะทางในการขนส่งไกลขึ้น ทำให้มีต้นทุนขนส่งสูงขึ้น
ล่าสุดปัญหาน้ำท่วมในช่วงก่อน1-2เดือนที่ผ่านมา ในพื้นที่ จังหวัดสิงห์บุรี, ชัยนาท,อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา จนในปัจจุบันปัญหาน้ำท่วมได้เข้ามาในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งซ่อมบำรุงอะไหล่อุปกรณ์เครื่องจักรในการผลิตอิฐมวลเบา ทำให้เกิดปัญหาด้านการผลิตของผูประกอบการ และทำให้การขน่สงถ่านหินในท่าขึ้นถ่านหินนครหลวง ประสบปัญหาอย่างมากจนไม่สามารถขึ้นถ่านหิน ซึ่งเป็นเชื่อเพลิงหลักในการเผาและผลิตอิฐมวลเบาได้ ก็ยิ่งส่งผลกระทบหนักแก่ต้นทุนเชื้อเพลิงของผู้ประกอบการอิฐมวลเบา ทำให้ตจ้องหันไปใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตแทน
“การกลับมาใช้น้ำมันเตาเป็นเชื่อเพลิงในการผลิตอิฐมวลเบา ทำให้ต้นทุนเชื่อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นอีกกว่า 10% โดยก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการอิฐมวลเบาใช้น้ำมันเตาเป็นเชื่อเพลิงในการผลิตหลัก แต่เมื่อราคาน้ำมันเตาปรับตัวสูงขึ้นกว่า1เท่าตัวจาก11บาทต่อลิตร เป็น22บาทต่อลิตร ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นกว่าเท่าตัว ผู้ประกอบการจึงหันไปใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตแทน”
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า นอกจากปัญหาน้ำท่วม ต้นทุนเชื่อเพลิง และการขนส่งจะปรับขึ้นแล้ว ปัจจุบันวัตถุดิบ สำคัญเช่นปูนขาว ทราย มีการปรับตัวขึ้นสูงมาก ดดยเพาะทรายซึ่งเกิดการขาดแคลนในขณะนี้ส่งผลให้ต้นทุนอิฐมวลเบาขยับขึ้นไปอีก ทั้งนี้ เมื่อนับรวมการปรับตัวของต้นทุนการผลิต เช่น ราคาเชื้อเพลิง ค่าขนส่ง ราคาวัตถุดิบ ปูนขาวและทราย ร่วมถึงค่าขน และราคาน้ำมันเตาแล้ว พบว่าส่งผลต่อต้นทุนอิฐมวลเบารวมประมาณ 25-30%
ทั้งนี้ การปรับตัวของต้นทุนดังกล่าว ประกอบกับปัญหาการขนส่ง ทำให้ปัจจุบันผู้ประกอบการผลิตอิฐมวลเบามีการปรับขึ้นราคาขายอิฐมวลเบาในตลาดแล้ว 25-30% ซึ่งเป็นการปรับราคาขึ้นตามต้นทุนแท้จริง อย่างไรก็ตามแม้ว่าราคาขายอิฐมวลเอาในตลาดรวมจะมีการปรับขึ้นไปแล้ว แต่ความต้องการอิฐมวลเบาในตลาดขณะนี้ไม่ได้มีการหดตัวลงแต่อย่างใด ตรงกันข้ามดีมานด์ในตลาดกลับปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าในช่วงต้นปี ซึ่งมีการขยายตัวของดีมานด์ค่อนข้างสูงอยู่แล้วก่อนหน้า
“ การปรับขึ้นราคาขายอิฐมวลเบาในครั้งนี้ อาจจะส่งผลให้ผู้แทนจำหน่ายอิฐมวลเบาในตลาดบางรายต้องชะลอการสั่งสินค้าออกไป เนื่องจากรับกับราคาที่ปรับขึ้นไม่ไหว ขณะที่ผู้ประกอบการหลายๆ รายมีการเข้าไปให้ข้อมูลและอธิบายถึงปัจจัยที่ทำให้ต้องมีการปรับขึ้นราคาขาย จนทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างตัวแทนจำหน่าย และยอมรับในราคาขายที่ปรับขึ้นได้”
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังน้ำลด ราคาอิฐมวลเบาจะปรับตัวลดลงในระดับหนึ่งแต่จะไม่ปรับลดไปอยู่ในระดับราคาขายก่อนหน้านี้ เนื่องจากต้องยอมรับว่าต้นทุนบางตัวที่มีการปรับขึ้นไปแล้วจะไม่ลดลง เช่นต้นทุนเชื้อเพลิงที่ปรับขึ้ไปก่อนหน้าการเกิดปัญหาน้ำท่วม ขณะที่ราคาค่าขนส่งและวัตถุดิบบางตัวอาจจะปรับลดลงหลังน้ำลด
“ผลกระทบจากการปรับราคาอิฐมวลเบาในครั้งนี้ อาจจะส่งผลต่อการก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ หลายๆ โครงการให้ล่าช้าออกไป เนื่องจากในบางโครงการที่ยังไม่เร่งส่งงาน จะชะลองานก่อสร้างเพื่อรอราคาอิฐมวลเบาปรับตัวลดลง แต่ในโครงการที่ต้องเร่งส่งงานอาจจะต้องยอมรับกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น วึ่งในส่วนนี้ขึ้นกับเจ้าของโครงการว่าจะยอมแบกรับต้นทุนไว้เองหรือผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปที่ลูกค้า”
แหล่งข่าวในวงการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อิฐมวลเบา เปิดเผยว่า ปัญหาต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนเชื้อเพลิงและวัตถุดิบในการผลิตอิฐมวลเบาที่ปรับตัวสูงขึ้น ตั้งแต่ช่วงก่อนหน้าเกิดปัญหาน้ำท่วมนั้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต และจำหน่ายอิฐมวลเบาในตลาดรวมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะต้นทุนด้านเชื่อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดโลก และค่าขนส่ง ทำให้ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการอิฐมวลเบารายใหญ่ ซึ่งมีแชร์ตลาดรวมสูงมากกว่า 50% อย่างบริษัท คิวคอน จำกัด (มหาชน) นำร่องการปรับขึ้นราคาขายตามต้นทุนรวมที่ปรับตัวขึ้นไปแล้วกว่า 25-30%
ทั้งนี้ การปรับขึ้นราคาของผู้ประกอบการรายใหญ่นั้นสามารถทำได้ทันที เนื่องจากมีวอรูมการจำหน่ายที่สูง ทำให้มีอำนาจการต่อรองและสามารถปรับราคาได้ทันที ในขณะที่ผู้ประกอบการรายเล็กยังไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายได้ หรือหากมีการปรับขึ้นก็ไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายให้ครอบคุลมต้นทุนทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นตามจริง แม้ว่าต้นทุนรวมจะปรับขึ้นไปแล้วก็ตาม
แต่อย่างไรก็ตาม หลังเกิดปัญหาการยกเลิกท่าขึ้นถ่านหินที่จังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากท่าขึ้นถ่านหินดังกล่าวไม่ผ่านการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมทำให้ท่าขึ้นถ่านหินดังกล่าวถูกยกเลิกไป ส่งผลให้ปัจจุบันมีท่าขึ้นถ่านหิน บิทูมินัส ซึ่งนำเข้าจากประเทศอินโดนีเชีย มีเพียงแห่งเดียว คือ ท่าขึ้นถ่านหินนครหลวงจ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งต้องใช้ระยะทางในการขนส่งไกลขึ้น ทำให้มีต้นทุนขนส่งสูงขึ้น
ล่าสุดปัญหาน้ำท่วมในช่วงก่อน1-2เดือนที่ผ่านมา ในพื้นที่ จังหวัดสิงห์บุรี, ชัยนาท,อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา จนในปัจจุบันปัญหาน้ำท่วมได้เข้ามาในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งซ่อมบำรุงอะไหล่อุปกรณ์เครื่องจักรในการผลิตอิฐมวลเบา ทำให้เกิดปัญหาด้านการผลิตของผูประกอบการ และทำให้การขน่สงถ่านหินในท่าขึ้นถ่านหินนครหลวง ประสบปัญหาอย่างมากจนไม่สามารถขึ้นถ่านหิน ซึ่งเป็นเชื่อเพลิงหลักในการเผาและผลิตอิฐมวลเบาได้ ก็ยิ่งส่งผลกระทบหนักแก่ต้นทุนเชื้อเพลิงของผู้ประกอบการอิฐมวลเบา ทำให้ตจ้องหันไปใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตแทน
“การกลับมาใช้น้ำมันเตาเป็นเชื่อเพลิงในการผลิตอิฐมวลเบา ทำให้ต้นทุนเชื่อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นอีกกว่า 10% โดยก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการอิฐมวลเบาใช้น้ำมันเตาเป็นเชื่อเพลิงในการผลิตหลัก แต่เมื่อราคาน้ำมันเตาปรับตัวสูงขึ้นกว่า1เท่าตัวจาก11บาทต่อลิตร เป็น22บาทต่อลิตร ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นกว่าเท่าตัว ผู้ประกอบการจึงหันไปใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตแทน”
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า นอกจากปัญหาน้ำท่วม ต้นทุนเชื่อเพลิง และการขนส่งจะปรับขึ้นแล้ว ปัจจุบันวัตถุดิบ สำคัญเช่นปูนขาว ทราย มีการปรับตัวขึ้นสูงมาก ดดยเพาะทรายซึ่งเกิดการขาดแคลนในขณะนี้ส่งผลให้ต้นทุนอิฐมวลเบาขยับขึ้นไปอีก ทั้งนี้ เมื่อนับรวมการปรับตัวของต้นทุนการผลิต เช่น ราคาเชื้อเพลิง ค่าขนส่ง ราคาวัตถุดิบ ปูนขาวและทราย ร่วมถึงค่าขน และราคาน้ำมันเตาแล้ว พบว่าส่งผลต่อต้นทุนอิฐมวลเบารวมประมาณ 25-30%
ทั้งนี้ การปรับตัวของต้นทุนดังกล่าว ประกอบกับปัญหาการขนส่ง ทำให้ปัจจุบันผู้ประกอบการผลิตอิฐมวลเบามีการปรับขึ้นราคาขายอิฐมวลเบาในตลาดแล้ว 25-30% ซึ่งเป็นการปรับราคาขึ้นตามต้นทุนแท้จริง อย่างไรก็ตามแม้ว่าราคาขายอิฐมวลเอาในตลาดรวมจะมีการปรับขึ้นไปแล้ว แต่ความต้องการอิฐมวลเบาในตลาดขณะนี้ไม่ได้มีการหดตัวลงแต่อย่างใด ตรงกันข้ามดีมานด์ในตลาดกลับปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าในช่วงต้นปี ซึ่งมีการขยายตัวของดีมานด์ค่อนข้างสูงอยู่แล้วก่อนหน้า
“ การปรับขึ้นราคาขายอิฐมวลเบาในครั้งนี้ อาจจะส่งผลให้ผู้แทนจำหน่ายอิฐมวลเบาในตลาดบางรายต้องชะลอการสั่งสินค้าออกไป เนื่องจากรับกับราคาที่ปรับขึ้นไม่ไหว ขณะที่ผู้ประกอบการหลายๆ รายมีการเข้าไปให้ข้อมูลและอธิบายถึงปัจจัยที่ทำให้ต้องมีการปรับขึ้นราคาขาย จนทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างตัวแทนจำหน่าย และยอมรับในราคาขายที่ปรับขึ้นได้”
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังน้ำลด ราคาอิฐมวลเบาจะปรับตัวลดลงในระดับหนึ่งแต่จะไม่ปรับลดไปอยู่ในระดับราคาขายก่อนหน้านี้ เนื่องจากต้องยอมรับว่าต้นทุนบางตัวที่มีการปรับขึ้นไปแล้วจะไม่ลดลง เช่นต้นทุนเชื้อเพลิงที่ปรับขึ้ไปก่อนหน้าการเกิดปัญหาน้ำท่วม ขณะที่ราคาค่าขนส่งและวัตถุดิบบางตัวอาจจะปรับลดลงหลังน้ำลด
“ผลกระทบจากการปรับราคาอิฐมวลเบาในครั้งนี้ อาจจะส่งผลต่อการก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ หลายๆ โครงการให้ล่าช้าออกไป เนื่องจากในบางโครงการที่ยังไม่เร่งส่งงาน จะชะลองานก่อสร้างเพื่อรอราคาอิฐมวลเบาปรับตัวลดลง แต่ในโครงการที่ต้องเร่งส่งงานอาจจะต้องยอมรับกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น วึ่งในส่วนนี้ขึ้นกับเจ้าของโครงการว่าจะยอมแบกรับต้นทุนไว้เองหรือผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปที่ลูกค้า”