“นิคมอุตฯโรจนะ” กระทบหนัก หวั่นน้ำหนุนรอบสองต้านทานไม่อยู่ ล่าสุด บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทยอยแจ้งปิดโรงงานชั่วคราว “ไทยคอน” โดน 15 โรงงาน “เอเชียกรีน” - “คิวทีซี เอนเนอร์ยี่” หยุดการจัดส่ง โบรกฯปรับลดน้ำหนักหุ้นชิ้นส่วนรถยนต์หลัง โรงงานฮอนด้าเจอพิษน้ำท่วม คาด STANLY หนัก
จากสถานการณ์น้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งมีโรงงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหลายแห่ง จัดตั้งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว พบว่า บริษัท เซอร์คิทอีเลคโทรนิคส์อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน) (CIRKIT) ได้แจ้งให้ทราบว่า เนื่องจากเกิดสภาวะน้ำท่วมในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ ทำให้บริษัทไม่สามารถดำเนินกิจการได้ บริษัทจึงขอแจ้งการหยุดดำเนินการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไปจนกว่าจะแก้ไขให้คืนสู่สภาวะปกติ
เช่นเดียว บมจ.เอเชีย กรีน เอนเนอจี หรือ AGE ซึ่งมีคลังสินค้าตั้งอยู่ที่ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา นั้น ได้หยุดจัดส่งสินค้าจากคลังสินค้าดังกล่าว เพื่อเป็นการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการที่ปิดการจราจรบนถนนสายเอเซียและช่วยบรรเทาการจราจรที่คับคั่งอันเกิดจากการอพยพ
รวมถึง บมจ.ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) หรือ SPPT ได้หยุดทำการผลิตเป็นการชั่วคราวและได้สร้างแนวป้องกันน้ำท่วมรอบบริเวณโรงงานเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์น้ำท่วมยังคงรุนแรง ส่วนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นยังไม่สามารถจะประเมินได้ในขณะนี้ จนกว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น
ด้าน บมจ.ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น (TICON) รายงานว่า โรงงานของบริษัทจำนวน 15 โรงงาน จากทั้งหมด 36 โรงงาน ซึ่งตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะเฟส 1 (ทางทิศตะวันตกของถนนอยุธยาอุทัย) ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วม ความเสียหายดังกล่าวยังไม่สามารถประเมินได้ ทั้งนี้ ค่าเช่าทั้ง 15 โรงงาน (พื้นที่รวม 54,475 ตารางเมตร) มีจำนวนประมาณ 9.6 ล้านบาทต่อเดือน (คิดเป็นประมาณร้อยละ 12 ของค่าเช่ารวมต่อเดือนของบริษัท) โดยบริษัทได้มีการทำประกันภัยความเสียหายของทรัพย์สินดังกล่าวไว้แล้ว ส่วนโรงงาน/คลังสินค้าของบริษัทที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อื่นๆ ยังไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้
**ROJANA หวั่นน้ำที่เพิ่มสร้างวิกฤตให้หนักขึ้น
นายจิระพงษ์ วินิชบุตร กรรมการผู้จัดการ บมจ.สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) หรือ ROJNA เนื่องด้วยภาวะอุทกภัยได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งบริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการบริหารจัดการเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าวโดยการเสริมแนวป้องกันที่มีอยู่เดิมเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมากตลอดพื้นที่โครงการ และมีการแจ้งเตือนให้โรงงานอุตสาหกรรมภายในนิคมฯ ทำแนวป้องกันโรงงานของตนเองอีกชั้นหนึ่งด้วย แต่เนื่องจากกระแสและมวลน้ำที่ไหลบ่าล้อมรอบบริเวณโครงการรุนแรงมากและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นวิกฤต ทำให้แนวป้องกันซึ่งเป็นคันดินถาวรบางส่วนถูกน้ำท่วม
และน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ภายในโครงการบางส่วนตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม ซึ่งทางบริษัทได้ดำเนินการเร่งซ่อมแซมแก้ไขแนวป้องกันดังกล่าว แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ทั้งหมด ยังมีความเสี่ยงอยู่มาก และหากมีการระบายน้ำจำนวนมากจากเขื่อนต่าง ๆ อีกระลอก กอปรกับปริมาณน้ำฝนซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณสูงในอีก 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า และปริมาณน้ำทะเลที่จะหนุนสูง
ในขณะนี้บริษัทยังไม่สามารถประเมินความเสียหายที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดได้ ปัจจุบันกิจการทั้งหมดในนิคมสวนอุตสาหกรรมโรจนะได้หยุดดำเนินการส่งผลกระทบต่อรายได้ด้านบริการและสาธารณูปโภค เมื่อสถานการณ์ต่างๆ คลี่คลาย และบริษัทสามารถประเมินความเสียหายได้ชัดเจนอีกครั้ง
*** QTC ยืนยันกระทบออเดอร์แค่ 5%
นายนิพนธ์ จัยสิน กรรมการผู้จัดการ บมจ.คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ หรือ QTC ผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า กล่าวว่าภายหลังปัญหาน้ำท่วมคลี่คลายคงจะส่งทีมดูแลลูกค้าเข้าไปพบ เพื่อตรวจสภาพความเสียหายของหม้อแปลงไฟฟ้าของลูกค้า ส่วนลูกค้าใหม่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมจึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อยอดสั่งซื้อ เพียงแต่จะกระทบต่อเส้นทางในการขนส่งเท่านั้น ซึ่งล่าสุดเพิ่งส่งสินค้าไปให้ลูกค้าในพื้นที่
***MCS, UMS, SMT ยืนยันไม่ได้รับผลกระทบ
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายบริษัทที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในครั้งนี้ เช่น บมจ.เอ็ม ซี เอส สตีล (MCS) ยืนยันว่ายังไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อบริษัท ทางบริษัทยังคงดำเนินการผลิตได้ตามปกติ ด้าน บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) แจ้งว่า แจ้งสถานการณ์น้ำท่วมอำเภอนครหลวง ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อตัวโรงงาน เครื่องจักร และการผลิตเนื่องจากตัวโรงงานมีแผนป้องกันกรณีฉุกเฉินไว้พร้อมและในขณะนี้ระดับน้ำยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าแนวป้องกันของโรงงาน และขณะเดียวกัน บมจ.สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) (SMT) ซึ่งสำนักงานและโรงงานตั้งอยู่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยที่ในขณะนี้ บริษัทยังคงดำเนินการผลิตตามปกติ
**โบรกฯลดน้ำหนักกลุ่มชิ้นส่วน STANLY หนักสุด
ด้าน บล.เอเซีย พลัส ออกบทวิเคราะห์ ได้มีการออกบทวิเคราะห์หุ้นกลุ่มยานยนต์ ว่าซึ่งจากวิกฤตน้ำท่วมรุนแรงในหลายจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดอยุธยา ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม 4 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ต้องปิดนิคมและโรงงาน ได้รับส่งผลกระทบอย่างหนักต่อกุล่มยานยนต์ โดยเฉพาค่ายรถยนต์ฮอนด้า ต้องปิดโรงงานและหยุดการผลิตไม่มีกำหนด หลังน้ำท่วมเข้าสู่นิคม โดยแม้ค่ายรถยนต์อื่น ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง สมุทรปราการ และฉะเชิงทรา จะยังไม่ได้รับผบกระทบโดยตรงจากภัยน้ำท่วม แต่มีโอกาสสุ่มเสี่ยงที่จะต้องลดการผลิตลง จากปัญหาความขาดแคลนชิ้นส่วนในประเทศหลังหลายโรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ในนิคมข้างต้นได้รับความเสียหาย
ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ได้อย่างชัดเจน แต่เชื่อว่า วิกฤตครั้งนี้มีโอกาสส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตรถยนต์ในประเทศรุนแรงไม่แพ้เหตุการณ์สึนามิในญี่ปุ่นที่ผ่านมา โดยคาดว่า อุตสาหรรมยานยนต์สามารถฟื้นตัวได้เร็วภายใน 2 เดือน แต่หากกรณีเลวร้ายคาดมีโอกาสกระทบต่อการผลิตไม่น้อยกว่า 3 เดือน ทั้งนี้ ไม่ว่ากรณีใดเชื่อว่าผลกระทบที่จะได้รับ คือ ยอดการผลิตจะหายไปอย่างน้อย 1 เดือน หรือไม่น้อยกว่า 3 หมื่นค้น ที่จะเกิดขึ้นในงวด ไตรมาส4/54 ทำให้ยอดการผลิตรถยนต์ปี 2554 มีโอกาสต่ำกว่าเป้าหมาย 1.8 ล้านคันได้
สำหรับ บล.เอเซีย พลัส มีโอกาสทบทวนประมาณการของกลุ่มยายนต์ในเร็ววัน แต่จากสถานการณ์การผลิตที่ยังไม่มีความชัดเจน ทำให้การลงทุนในหุ้นในกลุ่มยานยนต์มีความเสี่ยงอยู่จึงแนะนำให้ชะลอการลงทุนในกลุ่มยานยนต์ในระยะสั้นจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ พร้อมปรับลดคำแนะนำการลงทุนจากมากกว่าตลาด เป็นเท่ากับตลาด เบื้องต้นพบว่า บริษัท AH มีโรงงานตั้งอยู่พื้นที่เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมมากสุด เนื่องจากโรงงานตั้งอยู่ในนิคมฯไฮเทค อยุธยาต้องปิดชั่วคราว ส่วนSTANLY มีความเสี่ยงจากลูกค้าหลัก 20% จากฮอนด้า ขณะที่ SATคาดว่า จะได้รับผลกระทบน้อยสุด จากทำเลที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ และโครงสร้างรายได้กระจายตัว
ด้าน บล.กรุงศรีอยุธยา มองว่า ผลกระทบจากโรงงานฮอนด้า กลุ่มผู้ผลิตชิ้น่วนที่มีโอกาสได้รับผลกระทบได้ แก่ STANLY สัดส่วนรายได้50% IRC มีสัดส่วนรายได้ 23%, TSC สัดส่วนรายได้ 29% จึงได้มีการปรับลดน้ำหนักการลงทุนหุ้นกลุ่มยานยนต์เหลือเท่าตลาด จากเดิมมากกว่าตลาด
จากสถานการณ์น้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งมีโรงงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหลายแห่ง จัดตั้งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว พบว่า บริษัท เซอร์คิทอีเลคโทรนิคส์อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน) (CIRKIT) ได้แจ้งให้ทราบว่า เนื่องจากเกิดสภาวะน้ำท่วมในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ ทำให้บริษัทไม่สามารถดำเนินกิจการได้ บริษัทจึงขอแจ้งการหยุดดำเนินการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไปจนกว่าจะแก้ไขให้คืนสู่สภาวะปกติ
เช่นเดียว บมจ.เอเชีย กรีน เอนเนอจี หรือ AGE ซึ่งมีคลังสินค้าตั้งอยู่ที่ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา นั้น ได้หยุดจัดส่งสินค้าจากคลังสินค้าดังกล่าว เพื่อเป็นการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการที่ปิดการจราจรบนถนนสายเอเซียและช่วยบรรเทาการจราจรที่คับคั่งอันเกิดจากการอพยพ
รวมถึง บมจ.ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) หรือ SPPT ได้หยุดทำการผลิตเป็นการชั่วคราวและได้สร้างแนวป้องกันน้ำท่วมรอบบริเวณโรงงานเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์น้ำท่วมยังคงรุนแรง ส่วนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นยังไม่สามารถจะประเมินได้ในขณะนี้ จนกว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น
ด้าน บมจ.ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น (TICON) รายงานว่า โรงงานของบริษัทจำนวน 15 โรงงาน จากทั้งหมด 36 โรงงาน ซึ่งตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะเฟส 1 (ทางทิศตะวันตกของถนนอยุธยาอุทัย) ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วม ความเสียหายดังกล่าวยังไม่สามารถประเมินได้ ทั้งนี้ ค่าเช่าทั้ง 15 โรงงาน (พื้นที่รวม 54,475 ตารางเมตร) มีจำนวนประมาณ 9.6 ล้านบาทต่อเดือน (คิดเป็นประมาณร้อยละ 12 ของค่าเช่ารวมต่อเดือนของบริษัท) โดยบริษัทได้มีการทำประกันภัยความเสียหายของทรัพย์สินดังกล่าวไว้แล้ว ส่วนโรงงาน/คลังสินค้าของบริษัทที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อื่นๆ ยังไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้
**ROJANA หวั่นน้ำที่เพิ่มสร้างวิกฤตให้หนักขึ้น
นายจิระพงษ์ วินิชบุตร กรรมการผู้จัดการ บมจ.สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) หรือ ROJNA เนื่องด้วยภาวะอุทกภัยได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งบริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการบริหารจัดการเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าวโดยการเสริมแนวป้องกันที่มีอยู่เดิมเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมากตลอดพื้นที่โครงการ และมีการแจ้งเตือนให้โรงงานอุตสาหกรรมภายในนิคมฯ ทำแนวป้องกันโรงงานของตนเองอีกชั้นหนึ่งด้วย แต่เนื่องจากกระแสและมวลน้ำที่ไหลบ่าล้อมรอบบริเวณโครงการรุนแรงมากและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นวิกฤต ทำให้แนวป้องกันซึ่งเป็นคันดินถาวรบางส่วนถูกน้ำท่วม
และน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ภายในโครงการบางส่วนตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม ซึ่งทางบริษัทได้ดำเนินการเร่งซ่อมแซมแก้ไขแนวป้องกันดังกล่าว แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ทั้งหมด ยังมีความเสี่ยงอยู่มาก และหากมีการระบายน้ำจำนวนมากจากเขื่อนต่าง ๆ อีกระลอก กอปรกับปริมาณน้ำฝนซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณสูงในอีก 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า และปริมาณน้ำทะเลที่จะหนุนสูง
ในขณะนี้บริษัทยังไม่สามารถประเมินความเสียหายที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดได้ ปัจจุบันกิจการทั้งหมดในนิคมสวนอุตสาหกรรมโรจนะได้หยุดดำเนินการส่งผลกระทบต่อรายได้ด้านบริการและสาธารณูปโภค เมื่อสถานการณ์ต่างๆ คลี่คลาย และบริษัทสามารถประเมินความเสียหายได้ชัดเจนอีกครั้ง
*** QTC ยืนยันกระทบออเดอร์แค่ 5%
นายนิพนธ์ จัยสิน กรรมการผู้จัดการ บมจ.คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ หรือ QTC ผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า กล่าวว่าภายหลังปัญหาน้ำท่วมคลี่คลายคงจะส่งทีมดูแลลูกค้าเข้าไปพบ เพื่อตรวจสภาพความเสียหายของหม้อแปลงไฟฟ้าของลูกค้า ส่วนลูกค้าใหม่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมจึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อยอดสั่งซื้อ เพียงแต่จะกระทบต่อเส้นทางในการขนส่งเท่านั้น ซึ่งล่าสุดเพิ่งส่งสินค้าไปให้ลูกค้าในพื้นที่
***MCS, UMS, SMT ยืนยันไม่ได้รับผลกระทบ
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายบริษัทที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในครั้งนี้ เช่น บมจ.เอ็ม ซี เอส สตีล (MCS) ยืนยันว่ายังไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อบริษัท ทางบริษัทยังคงดำเนินการผลิตได้ตามปกติ ด้าน บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) แจ้งว่า แจ้งสถานการณ์น้ำท่วมอำเภอนครหลวง ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อตัวโรงงาน เครื่องจักร และการผลิตเนื่องจากตัวโรงงานมีแผนป้องกันกรณีฉุกเฉินไว้พร้อมและในขณะนี้ระดับน้ำยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าแนวป้องกันของโรงงาน และขณะเดียวกัน บมจ.สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) (SMT) ซึ่งสำนักงานและโรงงานตั้งอยู่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยที่ในขณะนี้ บริษัทยังคงดำเนินการผลิตตามปกติ
**โบรกฯลดน้ำหนักกลุ่มชิ้นส่วน STANLY หนักสุด
ด้าน บล.เอเซีย พลัส ออกบทวิเคราะห์ ได้มีการออกบทวิเคราะห์หุ้นกลุ่มยานยนต์ ว่าซึ่งจากวิกฤตน้ำท่วมรุนแรงในหลายจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดอยุธยา ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม 4 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ต้องปิดนิคมและโรงงาน ได้รับส่งผลกระทบอย่างหนักต่อกุล่มยานยนต์ โดยเฉพาค่ายรถยนต์ฮอนด้า ต้องปิดโรงงานและหยุดการผลิตไม่มีกำหนด หลังน้ำท่วมเข้าสู่นิคม โดยแม้ค่ายรถยนต์อื่น ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง สมุทรปราการ และฉะเชิงทรา จะยังไม่ได้รับผบกระทบโดยตรงจากภัยน้ำท่วม แต่มีโอกาสสุ่มเสี่ยงที่จะต้องลดการผลิตลง จากปัญหาความขาดแคลนชิ้นส่วนในประเทศหลังหลายโรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ในนิคมข้างต้นได้รับความเสียหาย
ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ได้อย่างชัดเจน แต่เชื่อว่า วิกฤตครั้งนี้มีโอกาสส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตรถยนต์ในประเทศรุนแรงไม่แพ้เหตุการณ์สึนามิในญี่ปุ่นที่ผ่านมา โดยคาดว่า อุตสาหรรมยานยนต์สามารถฟื้นตัวได้เร็วภายใน 2 เดือน แต่หากกรณีเลวร้ายคาดมีโอกาสกระทบต่อการผลิตไม่น้อยกว่า 3 เดือน ทั้งนี้ ไม่ว่ากรณีใดเชื่อว่าผลกระทบที่จะได้รับ คือ ยอดการผลิตจะหายไปอย่างน้อย 1 เดือน หรือไม่น้อยกว่า 3 หมื่นค้น ที่จะเกิดขึ้นในงวด ไตรมาส4/54 ทำให้ยอดการผลิตรถยนต์ปี 2554 มีโอกาสต่ำกว่าเป้าหมาย 1.8 ล้านคันได้
สำหรับ บล.เอเซีย พลัส มีโอกาสทบทวนประมาณการของกลุ่มยายนต์ในเร็ววัน แต่จากสถานการณ์การผลิตที่ยังไม่มีความชัดเจน ทำให้การลงทุนในหุ้นในกลุ่มยานยนต์มีความเสี่ยงอยู่จึงแนะนำให้ชะลอการลงทุนในกลุ่มยานยนต์ในระยะสั้นจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ พร้อมปรับลดคำแนะนำการลงทุนจากมากกว่าตลาด เป็นเท่ากับตลาด เบื้องต้นพบว่า บริษัท AH มีโรงงานตั้งอยู่พื้นที่เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมมากสุด เนื่องจากโรงงานตั้งอยู่ในนิคมฯไฮเทค อยุธยาต้องปิดชั่วคราว ส่วนSTANLY มีความเสี่ยงจากลูกค้าหลัก 20% จากฮอนด้า ขณะที่ SATคาดว่า จะได้รับผลกระทบน้อยสุด จากทำเลที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ และโครงสร้างรายได้กระจายตัว
ด้าน บล.กรุงศรีอยุธยา มองว่า ผลกระทบจากโรงงานฮอนด้า กลุ่มผู้ผลิตชิ้น่วนที่มีโอกาสได้รับผลกระทบได้ แก่ STANLY สัดส่วนรายได้50% IRC มีสัดส่วนรายได้ 23%, TSC สัดส่วนรายได้ 29% จึงได้มีการปรับลดน้ำหนักการลงทุนหุ้นกลุ่มยานยนต์เหลือเท่าตลาด จากเดิมมากกว่าตลาด