"ธีระชัย" เสียงอ่อยผ่านเฟซบุ๊ก ไม่รีบร้อนตั้งกองทุนมั่นคั่ง ขอฟังรอบด้าน พร้อมขู่ปรับทีมงานโฆษกคลัง เหตุทำงานไม่ทันใจ ด้าน "เสี่ยโกร่ง" หนุนตั้งกองทุนฯ บอกแม้ขาดทุนก็ยังน้อยกว่าให้อิสระแบงก์ชาติ แนะปรับโครงสร้างแบงก์ชาติให้รายงานตรงรัฐมนตรีคลัง
ภายหลัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ออกมาให้ความเห็นว่าการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ ไม่ใช่นโยบายเร่งด่วน ปรากฏว่าคืนวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมา นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่องการจัดตั้งกองทุนฯ ว่า "เรื่องกองทุนมั่งคั่ง ผมดู feedback แล้วว่า มีความเห็นที่แตกต่างหลากหลายมากจริง ๆ ดังนั้น ผมจึงจะต้องรับฟังรอบด้าน และจะไม่รีบร้อนครับ จะดำเนินการแนวใด ก็จะนำประเด็นที่มีการทักท้วงและสนับสนุนมาพิจารณาด้วยอย่างรอบคอบ"
นายธีระชัยระบุว่า "ในวันนี้ ( 6 ก.ค. ) กระทรวงการคลัง มีเรื่องกองทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียนเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยกองทุนนี้ เป็นการร่วมกันของประเทศอาเซียนทุกประเทศ และน่าสนใจมาก แต่ทีมโฆษกของผมยังไม่คล่องงาน ป่านนี้ จึงยังมิได้นำมาเล่าให้ฟังใน facebook แต่วันพรุ่งนี้คงจะเล่าได้ ผมเองกำลังหาทางปรับปรุงการทำงานของทีมโฆษกอยู่ เพราะขณะนี้ ต้วมเตี้ยม ล่าช้าเกินไป ยังไม่ค่อยทันเหตุการณ์"
รมว.คลังกล่าวด้วยว่า "ขอแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของ นายดุสิต นนทะนาคร ประธานหอการค้าไทย ว่า ด้วยความเศร้าสลดเสียใจอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะรู้จักท่านในฐานะส่วนตัวแล้ว ท่านยังเป็นบุคคลที่มีความคิดเป็นสาธารณะอย่างมาก งานสุดท้ายที่ปรากฏต่อสาธารณะ คือ วันที่เชิญท่านมาร่วมประชุมกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เรื่องเอกชนปรับตัว เพื่อรองรับค่าแรง 300 บาท ขอให้ท่านหลับสบายตลอดไป"
***"เสี่ยโกร่ง" โผล่ให้กำลังใจคุณธี
วานนี้ (7 ก.ย.) นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีต รมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ในหัวข้อ "วิเคราะเศรษฐกิจการเมืองไทย" ทางสถานี Money Chanel ว่าเห็นด้วยกับแนวคิดการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่ง และเห็นด้วยกับการบ้าน 4 ข้อที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง มอบให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปศึกษาและหาแนวทางแก้ไข
"ต้องยอมรับว่า ที่ผานมา ธปท.โยนภาระให้กับประชาชน ผู้เสียภาษีเป็นอย่างมาก จากการบริหารงานที่ผิดพลาดของ ธปท. การเข้าไปโอบอุ้มสถาบันการเงินของกองทุนฟื้นฟูฯ สร้างภาระหนี้มากมายให้กับประเทศ แบงก์ชาติสร้างวิกฤติมาเป็นระยะๆ ที่จริงเราไว้ใจแบงก์ชาติไม่ได้"
นายวีรพงษ์ยกตัวอย่างแนวทางการจัดตังกองทุนฯ ว่า รัฐบาลอาจจัดตั้งกองทุนมั่งคั่งขึ้นมา โดยขายพันธบัตรให้กับ ธปท. แทนที่ ธปท.จะเอาเงินที่มีอยู่ไปซื้อพันธบัตรของสหรัฐ ยุโรป หรือเยอรมันนี ที่ขณะนี้ก็มีปัญหาเศรษฐกิจและมีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้อาจต้องไปแก้กฎหมาย ให้สามารถทำได้ ธปท.ก็จะกลายเป็นเจ้าของพันธบัตร รูปแบบการบริหารก็อาจขายต่อให้กับธนาคารพาณิชย์ ธปท.ก็จะทำหน้าที่คล้ายกับโบรกเกอร์
"ในช่วงที่เศรษฐกิจดีกองทุนมั่งคั่งในหลายประเทศก็มีกำไร แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวก็พบว่าหลายกองทุนก็ขาดทุนเช่นกัน แต่ก็เชื่อว่าน่าจะขาดทุนน้อยกว่า เมื่อเทียบกับปล่อยให้ ธปท.เป็นผู้บริหาร และที่ผ่านมาผู้ที่ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ล้วนมาจาก ธปท. ไม่ได้เกิดจากกระทรวงการคลัง" นายวีรพงษ์กล่าวและว่า ธปท.ควรแยกหน่วยงานกำกับดูแล ฝ่ายตรวจสอบ และบริหารเงินทุนสำรองออกจากกัน เพราะถือว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน ที่ผ่านมา ธปท.ชอบว่าคนอื่น แต่ ธปท.กลับมีโครงสร้างการทำงานที่ขัดแย้งเสียเอง ดังนั้น ธปท.ควรรายงานตรงกับรัฐมนตรีคลัง เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์อะไรก็สามารถชี้แจงต่อสภาได้
นายวีรพงษ์ซึ่งนั่งเป็นบอร์ดบริษัทเอกชนหลายแห่ง ยังกล่าวไม่เห็นด้วยกับการใช้นโยบายการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ เพราะ ธปท.ผิดมาตั้งแต่ต้นที่ใช้เป็นตัวกำหนดนโยบายดอกเบี้ย เงินเฟ้อที่เกิดขึ้น มาจากราคาสินค้า นำเข้า-ส่งออก และราคาน้ำมัน ไม่เกี่ยวกับดอกเบี้ย การขึ้นดอกเบี้ยทำให้เศรษฐกิจไม่ขยายตัว
ภายหลัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ออกมาให้ความเห็นว่าการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ ไม่ใช่นโยบายเร่งด่วน ปรากฏว่าคืนวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมา นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่องการจัดตั้งกองทุนฯ ว่า "เรื่องกองทุนมั่งคั่ง ผมดู feedback แล้วว่า มีความเห็นที่แตกต่างหลากหลายมากจริง ๆ ดังนั้น ผมจึงจะต้องรับฟังรอบด้าน และจะไม่รีบร้อนครับ จะดำเนินการแนวใด ก็จะนำประเด็นที่มีการทักท้วงและสนับสนุนมาพิจารณาด้วยอย่างรอบคอบ"
นายธีระชัยระบุว่า "ในวันนี้ ( 6 ก.ค. ) กระทรวงการคลัง มีเรื่องกองทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียนเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยกองทุนนี้ เป็นการร่วมกันของประเทศอาเซียนทุกประเทศ และน่าสนใจมาก แต่ทีมโฆษกของผมยังไม่คล่องงาน ป่านนี้ จึงยังมิได้นำมาเล่าให้ฟังใน facebook แต่วันพรุ่งนี้คงจะเล่าได้ ผมเองกำลังหาทางปรับปรุงการทำงานของทีมโฆษกอยู่ เพราะขณะนี้ ต้วมเตี้ยม ล่าช้าเกินไป ยังไม่ค่อยทันเหตุการณ์"
รมว.คลังกล่าวด้วยว่า "ขอแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของ นายดุสิต นนทะนาคร ประธานหอการค้าไทย ว่า ด้วยความเศร้าสลดเสียใจอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะรู้จักท่านในฐานะส่วนตัวแล้ว ท่านยังเป็นบุคคลที่มีความคิดเป็นสาธารณะอย่างมาก งานสุดท้ายที่ปรากฏต่อสาธารณะ คือ วันที่เชิญท่านมาร่วมประชุมกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เรื่องเอกชนปรับตัว เพื่อรองรับค่าแรง 300 บาท ขอให้ท่านหลับสบายตลอดไป"
***"เสี่ยโกร่ง" โผล่ให้กำลังใจคุณธี
วานนี้ (7 ก.ย.) นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีต รมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ในหัวข้อ "วิเคราะเศรษฐกิจการเมืองไทย" ทางสถานี Money Chanel ว่าเห็นด้วยกับแนวคิดการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่ง และเห็นด้วยกับการบ้าน 4 ข้อที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง มอบให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปศึกษาและหาแนวทางแก้ไข
"ต้องยอมรับว่า ที่ผานมา ธปท.โยนภาระให้กับประชาชน ผู้เสียภาษีเป็นอย่างมาก จากการบริหารงานที่ผิดพลาดของ ธปท. การเข้าไปโอบอุ้มสถาบันการเงินของกองทุนฟื้นฟูฯ สร้างภาระหนี้มากมายให้กับประเทศ แบงก์ชาติสร้างวิกฤติมาเป็นระยะๆ ที่จริงเราไว้ใจแบงก์ชาติไม่ได้"
นายวีรพงษ์ยกตัวอย่างแนวทางการจัดตังกองทุนฯ ว่า รัฐบาลอาจจัดตั้งกองทุนมั่งคั่งขึ้นมา โดยขายพันธบัตรให้กับ ธปท. แทนที่ ธปท.จะเอาเงินที่มีอยู่ไปซื้อพันธบัตรของสหรัฐ ยุโรป หรือเยอรมันนี ที่ขณะนี้ก็มีปัญหาเศรษฐกิจและมีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้อาจต้องไปแก้กฎหมาย ให้สามารถทำได้ ธปท.ก็จะกลายเป็นเจ้าของพันธบัตร รูปแบบการบริหารก็อาจขายต่อให้กับธนาคารพาณิชย์ ธปท.ก็จะทำหน้าที่คล้ายกับโบรกเกอร์
"ในช่วงที่เศรษฐกิจดีกองทุนมั่งคั่งในหลายประเทศก็มีกำไร แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวก็พบว่าหลายกองทุนก็ขาดทุนเช่นกัน แต่ก็เชื่อว่าน่าจะขาดทุนน้อยกว่า เมื่อเทียบกับปล่อยให้ ธปท.เป็นผู้บริหาร และที่ผ่านมาผู้ที่ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ล้วนมาจาก ธปท. ไม่ได้เกิดจากกระทรวงการคลัง" นายวีรพงษ์กล่าวและว่า ธปท.ควรแยกหน่วยงานกำกับดูแล ฝ่ายตรวจสอบ และบริหารเงินทุนสำรองออกจากกัน เพราะถือว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน ที่ผ่านมา ธปท.ชอบว่าคนอื่น แต่ ธปท.กลับมีโครงสร้างการทำงานที่ขัดแย้งเสียเอง ดังนั้น ธปท.ควรรายงานตรงกับรัฐมนตรีคลัง เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์อะไรก็สามารถชี้แจงต่อสภาได้
นายวีรพงษ์ซึ่งนั่งเป็นบอร์ดบริษัทเอกชนหลายแห่ง ยังกล่าวไม่เห็นด้วยกับการใช้นโยบายการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ เพราะ ธปท.ผิดมาตั้งแต่ต้นที่ใช้เป็นตัวกำหนดนโยบายดอกเบี้ย เงินเฟ้อที่เกิดขึ้น มาจากราคาสินค้า นำเข้า-ส่งออก และราคาน้ำมัน ไม่เกี่ยวกับดอกเบี้ย การขึ้นดอกเบี้ยทำให้เศรษฐกิจไม่ขยายตัว