ตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันตีกลับคำเสนอขายหลักทรัพย์ TDR ของระยองเพียวฯจำนวน 200 ล้านหุ้น เหตุไม่มีความชัดเจนด้านวัตถุดิบ ปตท.หยุดส่งคอนเดนเสท เรสซิดิวในต้นปีหน้า
นางศิรพร กฤษณกาญจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) หรือ RPC เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯอนุมัติให้หยุดดำเนินการขายหลักทรัพย์ประเภทTDR ของบริษัทต่อตลาดหลักทรัพย์ Taiwan Stock Exchange Corporation (TWSE) ที่สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)ทั้งในส่วนหุ้นเพิ่มทุนใหม่ 170 ล้านหุ้นและจากหุ้นเดิมของผู้ถือหุ้นจำนวน 30 ล้านหุ้น เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนหลังจากTWSE ได้มีหนังสือแจ้งส่งคืนคำเสนอขายTDR โดยขอให้ยื่นคำขอเสนอขายใหม่อีกครั้งเมื่อมีความชัดเจนในเรื่องวัตถุดิบหลักแล้วซึ่งการส่งคืนคำขอเสนอขายหลักทรัพย์ประเภท TDR จาก TWSE ในครั้งนี้ จะไม่กระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ แต่อย่างใด เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการทำ TDR ครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเท่านั้น โดยบอร์ดบริษัทฯจะได้หาแนวทางในการระดมทุนรูปแบบอื่นที่เหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)(PTTAR) ได้แจ้งบริษัทปตท.ว่าจะไม่ขายคอนเดนเสท เรสซิดิว (CR) ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการกลั่นน้ำมันของ RPC หลังสิ้นสุดสัญญาซื้อขายครบ 15ปีในวันที่ 31 ม.ค. 2555 ดังนั้น บริษัทฯได้ยื่นฟ้องต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อให้คู่สัญญา คือ บมจ.ปตท. ให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายคอนเดนเสท เรสซิดิวที่ทำไว้กับบริษัทฯต่อไปโดยอัตโนมัติทุกๆ 15 ปีมาตั้งแต่ปี 2552 ขณะเดียวกันก็ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง เรียกร้องค่าเสียหายจำนวน 9,900 ล้านบาท หากปตท.และปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่นหยุดป้อนวัตถุดิบให้บริษัทฯ โดยบริษัทฯจะเร่งรัดคดีดังกล่าวให้มีความชัดเจนในเร็ววัน ซึ่งก่อนหน้านี้คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปลายปี 2554
อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านวัตถุดิบ บริษัทได้มีการเจรจาขอซื้อกากปิโตรเลียม (RC)จากบริษัท สยามกัลฟ์ ปิโตรเคมีคัล (SGPC) มีกำลังการผลิต 5 หมื่นบาร์เรล/วัน คาดว่าจะดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้เร็วๆนี้ มาทดแทนวัตถุดิบคอนเดนเสท เรสซิดิว โดยจำเป็นต้องปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อรองรับวัตถุดิบใหม่ ซึ่งบริษัทฯสามารถจัดหาวัตถุดิบใหม่ได้แต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้เพราะต้องรับคอนเดนเสทฯจากปตท.อยู่ คงต้องรอให้คดีมีความชัดเจนก่อน
นางศิรพร กล่าวว่า โรงกลั่นน้ำมันในประเทศส่วนใหญ่จะนำกากปิโตรเลียม ที่ได้จากกระบวนการกลั่นไปแครกกิ้งต่อเพื่อให้ได้น้ำมันดีเซล ทำให้เจรจาซื้อได้ยาก แต่ดีลดังกล่าวบริษัทฯได้มีการหารือกับสยามกัลฟ์ฯมาก่อนหน้านี้แล้ว
นายชำนิ จันทร์ฉาย บาท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซี.เจ. มอร์แกน จำกัดในฐานะประธานที่ปรึกษาบริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเสนอขายหลักทรัพย์TDRของระยองเพียวฯในแง่เชิงการขายถือว่าประสบความสำเร็จ มีคำเสนอซื้อเกินกว่าที่เสนอขายไว้ถึง 4เท่ากว่าจากที่เสนอขาย 200 ล้านหุ้น ซึ่งเดิมคาดว่าจะมีเงินทุนหมุนเวียนได้ 700-800 ล้านบาท แต่สุดท้ายทางตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันอยากรอผลการใช้วัตถุดิบใหม่ คือกากน้ำมันดิบจากโรงกลั่นแทนคอนเดนเสท เรสซิดิวที่ได้จากก๊าซธรรมชาติของระยองเพียวฯก่อนว่าจะมีผลประกอบการอย่างไร เนื่องจากเกรงว่าหากนำกากน้ำมันดิบจากโรงกลั่นมาแครกกิ้งจะได้น้ำมันเตาเพิ่มขึ้นกว่าการใช้คอนเดนเสท เรสซิดิวทำให้มาร์จินลดลง แต่หากมีผลดำเนินงานที่ดีทางตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันก็พร้อมที่จะรับคำเสนอขายTDRใหม่อีกครั้ง
ส่วนการปรับปรุงโรงกลั่นระยองเพียวฯเพื่อรองรับวัตถุดิบใหม่นั้น คาดว่าจะใช้เงินลงทุนไม่เกิน 100 ล้านบาท และดำเนินการเสร็จภายใน 2-3 เดือน แต่ทั้งนี้คงต้องรอคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการก่อน ระยองเพียวฯ มีกำลังการกลั่น 1.7 หมื่นบาร์เรล/วัน โดยใช้วัตถุดิบคือคอนเดนเสท เรสซิดิวซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตของปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น โดยปีนี้บริษัทฯคาดว่ามีกำไรสุทธิกลับสู่ภาวะปกติปีละ 300ล้านบาท โดยผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก บริษัทฯมีกำไรสุทธิ 181 ล้านบาท
นางศิรพร กฤษณกาญจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) หรือ RPC เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯอนุมัติให้หยุดดำเนินการขายหลักทรัพย์ประเภทTDR ของบริษัทต่อตลาดหลักทรัพย์ Taiwan Stock Exchange Corporation (TWSE) ที่สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)ทั้งในส่วนหุ้นเพิ่มทุนใหม่ 170 ล้านหุ้นและจากหุ้นเดิมของผู้ถือหุ้นจำนวน 30 ล้านหุ้น เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนหลังจากTWSE ได้มีหนังสือแจ้งส่งคืนคำเสนอขายTDR โดยขอให้ยื่นคำขอเสนอขายใหม่อีกครั้งเมื่อมีความชัดเจนในเรื่องวัตถุดิบหลักแล้วซึ่งการส่งคืนคำขอเสนอขายหลักทรัพย์ประเภท TDR จาก TWSE ในครั้งนี้ จะไม่กระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ แต่อย่างใด เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการทำ TDR ครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเท่านั้น โดยบอร์ดบริษัทฯจะได้หาแนวทางในการระดมทุนรูปแบบอื่นที่เหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)(PTTAR) ได้แจ้งบริษัทปตท.ว่าจะไม่ขายคอนเดนเสท เรสซิดิว (CR) ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการกลั่นน้ำมันของ RPC หลังสิ้นสุดสัญญาซื้อขายครบ 15ปีในวันที่ 31 ม.ค. 2555 ดังนั้น บริษัทฯได้ยื่นฟ้องต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อให้คู่สัญญา คือ บมจ.ปตท. ให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายคอนเดนเสท เรสซิดิวที่ทำไว้กับบริษัทฯต่อไปโดยอัตโนมัติทุกๆ 15 ปีมาตั้งแต่ปี 2552 ขณะเดียวกันก็ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง เรียกร้องค่าเสียหายจำนวน 9,900 ล้านบาท หากปตท.และปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่นหยุดป้อนวัตถุดิบให้บริษัทฯ โดยบริษัทฯจะเร่งรัดคดีดังกล่าวให้มีความชัดเจนในเร็ววัน ซึ่งก่อนหน้านี้คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปลายปี 2554
อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านวัตถุดิบ บริษัทได้มีการเจรจาขอซื้อกากปิโตรเลียม (RC)จากบริษัท สยามกัลฟ์ ปิโตรเคมีคัล (SGPC) มีกำลังการผลิต 5 หมื่นบาร์เรล/วัน คาดว่าจะดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้เร็วๆนี้ มาทดแทนวัตถุดิบคอนเดนเสท เรสซิดิว โดยจำเป็นต้องปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อรองรับวัตถุดิบใหม่ ซึ่งบริษัทฯสามารถจัดหาวัตถุดิบใหม่ได้แต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้เพราะต้องรับคอนเดนเสทฯจากปตท.อยู่ คงต้องรอให้คดีมีความชัดเจนก่อน
นางศิรพร กล่าวว่า โรงกลั่นน้ำมันในประเทศส่วนใหญ่จะนำกากปิโตรเลียม ที่ได้จากกระบวนการกลั่นไปแครกกิ้งต่อเพื่อให้ได้น้ำมันดีเซล ทำให้เจรจาซื้อได้ยาก แต่ดีลดังกล่าวบริษัทฯได้มีการหารือกับสยามกัลฟ์ฯมาก่อนหน้านี้แล้ว
นายชำนิ จันทร์ฉาย บาท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซี.เจ. มอร์แกน จำกัดในฐานะประธานที่ปรึกษาบริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเสนอขายหลักทรัพย์TDRของระยองเพียวฯในแง่เชิงการขายถือว่าประสบความสำเร็จ มีคำเสนอซื้อเกินกว่าที่เสนอขายไว้ถึง 4เท่ากว่าจากที่เสนอขาย 200 ล้านหุ้น ซึ่งเดิมคาดว่าจะมีเงินทุนหมุนเวียนได้ 700-800 ล้านบาท แต่สุดท้ายทางตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันอยากรอผลการใช้วัตถุดิบใหม่ คือกากน้ำมันดิบจากโรงกลั่นแทนคอนเดนเสท เรสซิดิวที่ได้จากก๊าซธรรมชาติของระยองเพียวฯก่อนว่าจะมีผลประกอบการอย่างไร เนื่องจากเกรงว่าหากนำกากน้ำมันดิบจากโรงกลั่นมาแครกกิ้งจะได้น้ำมันเตาเพิ่มขึ้นกว่าการใช้คอนเดนเสท เรสซิดิวทำให้มาร์จินลดลง แต่หากมีผลดำเนินงานที่ดีทางตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันก็พร้อมที่จะรับคำเสนอขายTDRใหม่อีกครั้ง
ส่วนการปรับปรุงโรงกลั่นระยองเพียวฯเพื่อรองรับวัตถุดิบใหม่นั้น คาดว่าจะใช้เงินลงทุนไม่เกิน 100 ล้านบาท และดำเนินการเสร็จภายใน 2-3 เดือน แต่ทั้งนี้คงต้องรอคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการก่อน ระยองเพียวฯ มีกำลังการกลั่น 1.7 หมื่นบาร์เรล/วัน โดยใช้วัตถุดิบคือคอนเดนเสท เรสซิดิวซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตของปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น โดยปีนี้บริษัทฯคาดว่ามีกำไรสุทธิกลับสู่ภาวะปกติปีละ 300ล้านบาท โดยผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก บริษัทฯมีกำไรสุทธิ 181 ล้านบาท