สมาคมอสังหาฯ วอนรัฐระบุชัดนโยบายบ้านหลักแรกเริ่มเมื่อใด หลังพบตลาดชะลอหนัก ผู้บริโภคไม่ยอมโอนบ้านรอรับอานิสงค์มาตรการ 0% 5 ปี ชเผยช่วยลดค่าใช้จ่ายถึง 35% คาดทั้งปียอดโอนลดแน่ 25-30% เชื่อไม่มีเอกชน-แบงก์พาณิชย์กล้าแข่งเพื่อรักษามาร์เก็ตแชร์เหตุใช้วงเงินสูง พร้อมแนะวางกรอบคำนิยาม “บ้านหลักแรก”ให้ชัดป้องกันปัญหากู้ไม่ได้ ติงไม่ควรช่วยถึงบ้านราคา 4 ล้านบาทเพราะคนซื้อมีรายได้สูง ให้ไปชดเชยภาษีแทน ส่วนขึ้นค่าแรง 300 บาทขอปรับแบบค่อยเป็นค่อยไป
นับจากพรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกตั้งเป็นรัฐบาล นโยบายหาเสียงบ้านหลักแรก ดอกเบี้ย 0% นาน 5 ปี ได้สร้างความหวังแก่ประชาชนที่ต้องการมีบ้านเป็นของตนเองอย่างมาก เพราะลดภาระค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยได้ถึง 35% ยกตัวอย่างเงินกู้ 1 ล้านบาท ดอกเบี้ย 7% ต่อปี หาก 0% ระยะเวลา 5 ปี ก็เท่ากับว่าลดดอกเบี้ยไปได้ถึง 350,000 บาทเลยทีเดียว เมื่อนโยบายดังกล่าวช่วยลดค่าใช้จ่ายแก่ผู้บริโภคสูงจึงเป็นธรรมดาที่ผู้บริโภคที่อยู่ระหว่างรอโอนกรรมสิทธิจะชะลอหรือประวิงเวลาไปจนกว่ามาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ นอกจากนี้ยังมีมาตรการดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 500,000 บาท ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระผู้ซื้อบ้านได้เป็นอย่างมาก
นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ตลาดที่อยู่อาศัยนับจากต้นปีเป็นต้นมาการเปิดตัวเติบโตอย่างมากโดยตัวเลขในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาเปิดตัวไปกว่า 50,000 หน่วย หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 20% เมื่อเทียบกับปี 2553 ทั้งปีเปิดไปเพียง 50,000 หน่าวย เนื่องจากในปีที่แล้วมีปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในช่วงครึ่งปีแรก ส่งผลให้การเปิดตัวโครงการเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีจึงทำให้ยอดเปิดตัวน้อย ในขณะที่ปีนี้การเปิดตัวเริ่มตั้งแต่ต้นปี
ส่วนยอดขายทุกบริษัทมีการเติบโตไม่น้อยกว่า 10% แต่ยอดรับรู้รายได้ปรับลดลงเนื่องจากเกณฑ์มาตรฐานบัญชีใหม่ที่บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะรับรู้รายได้เมื่อโอนกรรมสิทธิ อย่างไรก็ตามหากพิจจารณาจากตัวเลขยอดโอนกรรมสิทธิ กลับพบว่าปรับลดลง 33% ยอดบ้านใหม่จดทะเบียน ลดลง 19% ส่วนยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ลดไป 12% (อ่านหน้า 27 ประกอบ)
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนรัฐบาลชุดที่แล้วมีนโยบายบ้านหลักแรกดอกเบี้ย 0% นาน 2 ปี ได้กระตุ้นในตลาดในช่วง 2 เดือนดังกล่าวเติบโตขึ้นมาก แต่หลังจากนั้นเป็นช่วงหาเสียงเลือกตั้งและเมื่อผลการเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย แม้ว่าผู้บริโภคจะเกิดความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ตัวเลขภาคอสังหาฯดีขึ้นกลับชะลอตัวจนเกิดภาวะสุญญากาศขึ้น เนื่องจากทุกคนต้องการรอรับประโยชน์จากมาตรการ 0% 5 ปี ซึ่งจะส่งผลให้ปีนี้ทั้งปียอดโอนกรรมสิทธิลดลงไม่น้อยกว่า 25-30% โดยยอด 6 เดือนจำนวน 73,000 หน่วย
“ปัจจุบันรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนของนโยบายบ้านหลังแรกว่า รายละเอียดปลีกย่อยของนโยบายมีอะไรบ้าง ข้อกำหนด ข้อยกเว้นต่างๆ และที่สำคัญจะเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อใด เชื่อว่านายกรัฐมนตรีทราบดีว่าหากล่าช้าจะเกิดผลกระทบต่อธุรกิจ เพราะทุกคนรอมาตรการ เผลอๆคนที่ขอ 0% 2 ปี ขอรัฐบาลชุดที่แล้วแต่ยังไม่ได้โอนจะยกเลิกและไปรอใช้ 0% 5 ปีแทน แต่ก็ต้องเข้าใจได้ว่ารัฐบาลพึ่งเข้าทำงาน ทุกคนก็ไปทวงถามแล้ว” นายอิสระกล่าว
ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค และไม่ทำให้ตลาดเกิดภาวะสุญญากาศ รัฐบาลควรรีบประกาศให้ชัดเจนไปเลยว่าจะเริ่มโครงการเมื่อใด เพราะหากไม่ออกมาตรการคนก็ไม่ซื้อบ้าน ส่วนมาตรการหักลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านนั้นจะเริ่มปี 55 ก็ได้เพราะคนจะไปขอลดหย่อนภาษีในช่วงก่อนสิ้นเดือนมีนาคมอยู่แล้ว
นอกจากนี้รัฐบาลควรจัดลำดับราคาบ้านในการสนับสนุนผู้ที่มีรายได้น้อยหรือราคาบ้านไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ก็ควรได้รับการสนับสนุนมาก ส่วนผู้ที่มีรายได้มากก็ไปสนับสนุนในเรื่องของการชดเชยภาษีซึ่งไม่ต้องใช้งบประมาณชดเชย หากช่วยบ้านราคา 4 ล้านบาท เห็นว่าไม่จำเป็น เพราะผู้ที่จะซื้อบ้านราคาดังกล่าวได้จะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาทต่อเดือน ถือว่าเป็นผู้ที่มีรายได้สูงไม่จำเป็นที่รัฐบาลต้องไปให้การสนับสนุน หรือควรให้การสนับสนุน เพียง 1.5 ล้านบาทแรกเท่านั้น (นโยบาย 0% 2 ปีวงเงิน 25,000 ล้านบาท รัฐบาลชุดที่แล้วต้องใช้งบประมาณในการชดเชยถึง 400 ล้านบาท) เพราะรัฐบาลมีนโยบายหลักลดหย่อนภาษี 5 แสนบาท จากดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน และผู้ที่จะได้ประโยชน์จากนโยบายนี้สูงสุดคือผู้ที่เสียภาษีตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป และซื้อบ้านตั้งแต่ 8 ล้านบาทขึ้นไป
นอกจากนี้ยัง ต้องการให้รัฐบาลให้คำนิยาม หรือวางกรอบของคำว่า “บ้านหลังแรก” ว่าเป็นอย่างไร เพราะเป็นปัญหามากในโครงการบ้านหลักแรกของรัฐบาลชุดที่แล้ว บางคนเช่าบ้านอยู่มีชื่อเป็นเจ้าบ้าน แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของก็กู้ไม่ได้ ซึ่งสมาคมอสังหาฯมีคำนิยามของบ้านหลังแรกว่า “ที่อยู่อาศัยสำคัญ” นั้นหมายถึงการเป็นเจ้าของบ้านและมีซื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
“ครั้งที่แล้วนโยบาย 0% 2 ปี ผู้ประกอบการที่ผลิตบ้านสูงกว่า 3 ล้านบาทหันไปจับมือกับธนาคารพาณิชย์เพื่อออกแคมเปญ 0% มาแข่งขันกับธนาคารอาคารสงเคราะห์เพื่อรักษายอดขายและมาร์เก็ตแชรของตนเอง แต่คราวนี้ 0% 5 ปี เชื่อว่าจะไม่มีเอกชนรายได้หรือธนาคารพาณิชย์ออกแคมเปญมาสู้อย่างแน่นอน เพราะต้องใช้เงินชดเชยจำนวนมาก ไม่คุ้ม” นายอิสระกล่าว และว่าสำหรับนโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาทนั้น ภาคธุรกิจอสังหาฯ ไม่ได้คัดค้าน แต่มีคำถามว่า รัฐบาลจะรื้อระบบไตรภาคีหรือไม่ และต้องการให้ดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป
นับจากพรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกตั้งเป็นรัฐบาล นโยบายหาเสียงบ้านหลักแรก ดอกเบี้ย 0% นาน 5 ปี ได้สร้างความหวังแก่ประชาชนที่ต้องการมีบ้านเป็นของตนเองอย่างมาก เพราะลดภาระค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยได้ถึง 35% ยกตัวอย่างเงินกู้ 1 ล้านบาท ดอกเบี้ย 7% ต่อปี หาก 0% ระยะเวลา 5 ปี ก็เท่ากับว่าลดดอกเบี้ยไปได้ถึง 350,000 บาทเลยทีเดียว เมื่อนโยบายดังกล่าวช่วยลดค่าใช้จ่ายแก่ผู้บริโภคสูงจึงเป็นธรรมดาที่ผู้บริโภคที่อยู่ระหว่างรอโอนกรรมสิทธิจะชะลอหรือประวิงเวลาไปจนกว่ามาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ นอกจากนี้ยังมีมาตรการดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 500,000 บาท ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระผู้ซื้อบ้านได้เป็นอย่างมาก
นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ตลาดที่อยู่อาศัยนับจากต้นปีเป็นต้นมาการเปิดตัวเติบโตอย่างมากโดยตัวเลขในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาเปิดตัวไปกว่า 50,000 หน่วย หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 20% เมื่อเทียบกับปี 2553 ทั้งปีเปิดไปเพียง 50,000 หน่าวย เนื่องจากในปีที่แล้วมีปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในช่วงครึ่งปีแรก ส่งผลให้การเปิดตัวโครงการเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีจึงทำให้ยอดเปิดตัวน้อย ในขณะที่ปีนี้การเปิดตัวเริ่มตั้งแต่ต้นปี
ส่วนยอดขายทุกบริษัทมีการเติบโตไม่น้อยกว่า 10% แต่ยอดรับรู้รายได้ปรับลดลงเนื่องจากเกณฑ์มาตรฐานบัญชีใหม่ที่บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะรับรู้รายได้เมื่อโอนกรรมสิทธิ อย่างไรก็ตามหากพิจจารณาจากตัวเลขยอดโอนกรรมสิทธิ กลับพบว่าปรับลดลง 33% ยอดบ้านใหม่จดทะเบียน ลดลง 19% ส่วนยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ลดไป 12% (อ่านหน้า 27 ประกอบ)
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนรัฐบาลชุดที่แล้วมีนโยบายบ้านหลักแรกดอกเบี้ย 0% นาน 2 ปี ได้กระตุ้นในตลาดในช่วง 2 เดือนดังกล่าวเติบโตขึ้นมาก แต่หลังจากนั้นเป็นช่วงหาเสียงเลือกตั้งและเมื่อผลการเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย แม้ว่าผู้บริโภคจะเกิดความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ตัวเลขภาคอสังหาฯดีขึ้นกลับชะลอตัวจนเกิดภาวะสุญญากาศขึ้น เนื่องจากทุกคนต้องการรอรับประโยชน์จากมาตรการ 0% 5 ปี ซึ่งจะส่งผลให้ปีนี้ทั้งปียอดโอนกรรมสิทธิลดลงไม่น้อยกว่า 25-30% โดยยอด 6 เดือนจำนวน 73,000 หน่วย
“ปัจจุบันรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนของนโยบายบ้านหลังแรกว่า รายละเอียดปลีกย่อยของนโยบายมีอะไรบ้าง ข้อกำหนด ข้อยกเว้นต่างๆ และที่สำคัญจะเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อใด เชื่อว่านายกรัฐมนตรีทราบดีว่าหากล่าช้าจะเกิดผลกระทบต่อธุรกิจ เพราะทุกคนรอมาตรการ เผลอๆคนที่ขอ 0% 2 ปี ขอรัฐบาลชุดที่แล้วแต่ยังไม่ได้โอนจะยกเลิกและไปรอใช้ 0% 5 ปีแทน แต่ก็ต้องเข้าใจได้ว่ารัฐบาลพึ่งเข้าทำงาน ทุกคนก็ไปทวงถามแล้ว” นายอิสระกล่าว
ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค และไม่ทำให้ตลาดเกิดภาวะสุญญากาศ รัฐบาลควรรีบประกาศให้ชัดเจนไปเลยว่าจะเริ่มโครงการเมื่อใด เพราะหากไม่ออกมาตรการคนก็ไม่ซื้อบ้าน ส่วนมาตรการหักลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านนั้นจะเริ่มปี 55 ก็ได้เพราะคนจะไปขอลดหย่อนภาษีในช่วงก่อนสิ้นเดือนมีนาคมอยู่แล้ว
นอกจากนี้รัฐบาลควรจัดลำดับราคาบ้านในการสนับสนุนผู้ที่มีรายได้น้อยหรือราคาบ้านไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ก็ควรได้รับการสนับสนุนมาก ส่วนผู้ที่มีรายได้มากก็ไปสนับสนุนในเรื่องของการชดเชยภาษีซึ่งไม่ต้องใช้งบประมาณชดเชย หากช่วยบ้านราคา 4 ล้านบาท เห็นว่าไม่จำเป็น เพราะผู้ที่จะซื้อบ้านราคาดังกล่าวได้จะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาทต่อเดือน ถือว่าเป็นผู้ที่มีรายได้สูงไม่จำเป็นที่รัฐบาลต้องไปให้การสนับสนุน หรือควรให้การสนับสนุน เพียง 1.5 ล้านบาทแรกเท่านั้น (นโยบาย 0% 2 ปีวงเงิน 25,000 ล้านบาท รัฐบาลชุดที่แล้วต้องใช้งบประมาณในการชดเชยถึง 400 ล้านบาท) เพราะรัฐบาลมีนโยบายหลักลดหย่อนภาษี 5 แสนบาท จากดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน และผู้ที่จะได้ประโยชน์จากนโยบายนี้สูงสุดคือผู้ที่เสียภาษีตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป และซื้อบ้านตั้งแต่ 8 ล้านบาทขึ้นไป
นอกจากนี้ยัง ต้องการให้รัฐบาลให้คำนิยาม หรือวางกรอบของคำว่า “บ้านหลังแรก” ว่าเป็นอย่างไร เพราะเป็นปัญหามากในโครงการบ้านหลักแรกของรัฐบาลชุดที่แล้ว บางคนเช่าบ้านอยู่มีชื่อเป็นเจ้าบ้าน แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของก็กู้ไม่ได้ ซึ่งสมาคมอสังหาฯมีคำนิยามของบ้านหลังแรกว่า “ที่อยู่อาศัยสำคัญ” นั้นหมายถึงการเป็นเจ้าของบ้านและมีซื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
“ครั้งที่แล้วนโยบาย 0% 2 ปี ผู้ประกอบการที่ผลิตบ้านสูงกว่า 3 ล้านบาทหันไปจับมือกับธนาคารพาณิชย์เพื่อออกแคมเปญ 0% มาแข่งขันกับธนาคารอาคารสงเคราะห์เพื่อรักษายอดขายและมาร์เก็ตแชรของตนเอง แต่คราวนี้ 0% 5 ปี เชื่อว่าจะไม่มีเอกชนรายได้หรือธนาคารพาณิชย์ออกแคมเปญมาสู้อย่างแน่นอน เพราะต้องใช้เงินชดเชยจำนวนมาก ไม่คุ้ม” นายอิสระกล่าว และว่าสำหรับนโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาทนั้น ภาคธุรกิจอสังหาฯ ไม่ได้คัดค้าน แต่มีคำถามว่า รัฐบาลจะรื้อระบบไตรภาคีหรือไม่ และต้องการให้ดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป