โบรกเกอร์ประเมินหุ้นไทยสัปดาห์นี้ โอกาสแกว่งผันผวน และอาจฟื้นตัวขึ้น โดยคงจะต้องจับตาสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ และ ยูโรโซน โดยเฉพาะภาคธนาคารในฝรั่งเศสอย่างใกล้ชิด พร้อมติดตามดูนโยบายของรัฐบาลใหม่
ตลาดหุ้นไทยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (11 ส.ค.) ปิดที่ระดับ 1,062.07 จุด เพิ่มขึ้น 1.86 จุด หรือ 0.18% มูลค่าการซื้อขาย 30,361.98 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 1,063.41 จุด และต่ำสุดที่ 1,054.03 จุด เป็นการปรับตัวในแดนบวกสวนทางปัจจัยลบต่างประเทศทั้งสหรัฐฯและยุโรป ซึ่งคาดว่าได้แรงหนุนมาจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน
โดยหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในวันดังกล่าว เพิ่มขึ้น 253 หลักทรัพย์ ลดลง 242 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 116 หลักทรัพย์ และหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ KBANK มูลค่าการซื้อขาย 1,925.22 ล้านบาท ปิดที่ 129.00 บาท เพิ่มขึ้น 3.00 บาท PTT มูลค่าการซื้อขาย 1,779.05 ล้านบาท ปิดที่ 315.00 บาท ลดลง 2.00 บาท ADVANC มูลค่าการซื้อขาย 1,471.56 ล้านบาท ปิดที่ 116.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.50 บาท BANPU มูลค่าการซื้อขาย 1,384.14 ล้านบาท ปิดที่ 674.00 บาท ลดลง 12.00 บาท และ CPF มูลค่าการซื้อขาย 1,245.34 ล้านบาท ปิดที่ 31.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท
นายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์ การลงทุน บล.พัฒนสิน กล่าวว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยในช่วงเช้าปรับตัวในแดนลบแต่ไม่มากนัก จากนั้นแกว่งตัวผันผวนทั้งบวกและลบก่อนจะปิดตลาดเช้าบวกได้บางๆ โดยเป็นการเข้าซื้อเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มแบงก์ เช่น KBANK และ KTB ฯลฯ หุ้นที่มีงบ Q2/54 ออกมาดี รวมทั้งหุ้นที่มีการจ่ายปันผลสูง เช่น ADVANC สวนทางกับหุ้นในกลุ่มพลังงานปรับลดลง อย่าง PTT ที่ความผันผวนของราคาน้ำมันกดดัน จึงทำให้ดัชนีบวกได้เล็กน้อยเท่านั้น
“หุ้นไทยปรับลดลงไม่มากอยู่ในระดับเดียวกันกับตลาดหุ้นภูมิภาค กลุ่มพลังงานปรับลดลง แต่ดีที่มีหุ้นในกลุ่มสื่อสารโดยเฉพาะหุ้นที่จ่าย dividend ดีช่วยไว้บ้าง จึงทำให้ลบไม่แรง แต่ภายใต้ดัชนีปรับลดลง มองว่าเป็นจังหวะทยอยซื้อสะสมได้ในระยะยาว” นายชัย กล่าว
นายปริญทร์ กิจจาทรพิทักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเมื่อวันที้ 11 ส.ค.แกว่งตัวในกรอบแคบๆ แต่ถือว่าแข็งแกร่งภายใต้ปัจจัยลบต่างประเทศ โดยเฉพาะดัชนีดาวโจนส์เมื่อคืนที่ปรับลดลงแรง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนเริ่มเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากช่วง 2-3 วันตลาดหุ้นปรับลดลงแรงสะท้อนปัจจัยด้านจิตวิทยาการลงทุนลงมาทดสอบที่ระดับ 1,048 จุด
ทั้งนี้ การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยอยู่ในแดนบวกน่าจะเกิดจากแรงสนับสนุนจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในไตรมาส 2/54 ที่ส่วนใหญ่ออกมาดี นอกจากนี้ มองว่า การที่สถานการณ์เศรษฐกิจทั้งยุโรป-สหรัฐฯมีปัญหาอ่อนแอจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นภูมิภาค รวมทั้งตลาดหุ้นไทย เพราะ Fund Flow จะไหลเข้ามามากขึ้นในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า
ส่วนปัจจัยภายในประเทศ ต้องติดตามนโยบายบริหารประเทศของรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งจะส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุนในช่วงสั้น แต่ในทางปฎิบัติต้องติดตามปัจจัยต่างประเทศต่อไป เพราะจะส่งผลทำให้เกิดความผันผวนได้
ทำให้แนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้ (15 ส.ค.) มองว่า ตลาดหุ้นไทยคงจะแกว่งตัวในกรอบแคบ และแนะนำให้ติดตามผลประกอบการ บจ.ที่จะมีการประกาศงบการเงินไตรมาส 2/54 วันสุดท้าย แต่ก็เชื่อว่ายังแข็งแกร่งตามการเติบโตของจีดีพี พร้อมให้แนวรับไว้ในช่วง 1,040-1,050 จุด ส่วนแนวต้าน 1,100 จุด
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET) ร่วงลงจากแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติ หลัง S&P ปรับลดอันดับเครดิตของสหรัฐฯ โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,062.07 จุด ลดลง 2.86% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 2.20% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 42,569.70 ล้านบาท โดยนักลงทุนรายย่อย และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนสถาบันขายสุทธิ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 304.41 จุด ลดลง 1.66% จากสัปดาห์ก่อน
โดยดัชนีหุ้นไทยดิ่งลงต้นสัปดาห์ ตามตลาดต่างประเทศ หลัง S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของสหรัฐฯ โดยนักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นไทยต่อเนื่อง ก่อนที่ดัชนีจะฟื้นตัวขึ้นช่วงท้ายสัปดาห์ จากแรงซื้อหุ้นกลับของนักลงทุน หลังเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีก 2 ปี
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ระหว่างวันที่ 15-19 ส.ค.2554 บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีมีโอกาสแกว่งผันผวน และอาจฟื้นตัวขึ้น โดยคงจะต้องจับตาสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซน โดยเฉพาะภาคธนาคารในฝรั่งเศสอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ทั้งเครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคการผลิต รวมถึงการรายงานตัวเลขการค้าระหว่างประเทศโดยกระทรวงพาณิชย์ไทย ทั้งนี้ คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,055 และ 1,035 ขณะที่แนวต้าน คาดว่า จะอยู่ที่ 1,072 และ 1,094 จุด ตามลำดับ
ตลาดหุ้นไทยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (11 ส.ค.) ปิดที่ระดับ 1,062.07 จุด เพิ่มขึ้น 1.86 จุด หรือ 0.18% มูลค่าการซื้อขาย 30,361.98 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 1,063.41 จุด และต่ำสุดที่ 1,054.03 จุด เป็นการปรับตัวในแดนบวกสวนทางปัจจัยลบต่างประเทศทั้งสหรัฐฯและยุโรป ซึ่งคาดว่าได้แรงหนุนมาจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน
โดยหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในวันดังกล่าว เพิ่มขึ้น 253 หลักทรัพย์ ลดลง 242 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 116 หลักทรัพย์ และหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ KBANK มูลค่าการซื้อขาย 1,925.22 ล้านบาท ปิดที่ 129.00 บาท เพิ่มขึ้น 3.00 บาท PTT มูลค่าการซื้อขาย 1,779.05 ล้านบาท ปิดที่ 315.00 บาท ลดลง 2.00 บาท ADVANC มูลค่าการซื้อขาย 1,471.56 ล้านบาท ปิดที่ 116.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.50 บาท BANPU มูลค่าการซื้อขาย 1,384.14 ล้านบาท ปิดที่ 674.00 บาท ลดลง 12.00 บาท และ CPF มูลค่าการซื้อขาย 1,245.34 ล้านบาท ปิดที่ 31.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท
นายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์ การลงทุน บล.พัฒนสิน กล่าวว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยในช่วงเช้าปรับตัวในแดนลบแต่ไม่มากนัก จากนั้นแกว่งตัวผันผวนทั้งบวกและลบก่อนจะปิดตลาดเช้าบวกได้บางๆ โดยเป็นการเข้าซื้อเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มแบงก์ เช่น KBANK และ KTB ฯลฯ หุ้นที่มีงบ Q2/54 ออกมาดี รวมทั้งหุ้นที่มีการจ่ายปันผลสูง เช่น ADVANC สวนทางกับหุ้นในกลุ่มพลังงานปรับลดลง อย่าง PTT ที่ความผันผวนของราคาน้ำมันกดดัน จึงทำให้ดัชนีบวกได้เล็กน้อยเท่านั้น
“หุ้นไทยปรับลดลงไม่มากอยู่ในระดับเดียวกันกับตลาดหุ้นภูมิภาค กลุ่มพลังงานปรับลดลง แต่ดีที่มีหุ้นในกลุ่มสื่อสารโดยเฉพาะหุ้นที่จ่าย dividend ดีช่วยไว้บ้าง จึงทำให้ลบไม่แรง แต่ภายใต้ดัชนีปรับลดลง มองว่าเป็นจังหวะทยอยซื้อสะสมได้ในระยะยาว” นายชัย กล่าว
นายปริญทร์ กิจจาทรพิทักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเมื่อวันที้ 11 ส.ค.แกว่งตัวในกรอบแคบๆ แต่ถือว่าแข็งแกร่งภายใต้ปัจจัยลบต่างประเทศ โดยเฉพาะดัชนีดาวโจนส์เมื่อคืนที่ปรับลดลงแรง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนเริ่มเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากช่วง 2-3 วันตลาดหุ้นปรับลดลงแรงสะท้อนปัจจัยด้านจิตวิทยาการลงทุนลงมาทดสอบที่ระดับ 1,048 จุด
ทั้งนี้ การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยอยู่ในแดนบวกน่าจะเกิดจากแรงสนับสนุนจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในไตรมาส 2/54 ที่ส่วนใหญ่ออกมาดี นอกจากนี้ มองว่า การที่สถานการณ์เศรษฐกิจทั้งยุโรป-สหรัฐฯมีปัญหาอ่อนแอจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นภูมิภาค รวมทั้งตลาดหุ้นไทย เพราะ Fund Flow จะไหลเข้ามามากขึ้นในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า
ส่วนปัจจัยภายในประเทศ ต้องติดตามนโยบายบริหารประเทศของรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งจะส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุนในช่วงสั้น แต่ในทางปฎิบัติต้องติดตามปัจจัยต่างประเทศต่อไป เพราะจะส่งผลทำให้เกิดความผันผวนได้
ทำให้แนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้ (15 ส.ค.) มองว่า ตลาดหุ้นไทยคงจะแกว่งตัวในกรอบแคบ และแนะนำให้ติดตามผลประกอบการ บจ.ที่จะมีการประกาศงบการเงินไตรมาส 2/54 วันสุดท้าย แต่ก็เชื่อว่ายังแข็งแกร่งตามการเติบโตของจีดีพี พร้อมให้แนวรับไว้ในช่วง 1,040-1,050 จุด ส่วนแนวต้าน 1,100 จุด
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET) ร่วงลงจากแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติ หลัง S&P ปรับลดอันดับเครดิตของสหรัฐฯ โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,062.07 จุด ลดลง 2.86% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 2.20% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 42,569.70 ล้านบาท โดยนักลงทุนรายย่อย และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนสถาบันขายสุทธิ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 304.41 จุด ลดลง 1.66% จากสัปดาห์ก่อน
โดยดัชนีหุ้นไทยดิ่งลงต้นสัปดาห์ ตามตลาดต่างประเทศ หลัง S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของสหรัฐฯ โดยนักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นไทยต่อเนื่อง ก่อนที่ดัชนีจะฟื้นตัวขึ้นช่วงท้ายสัปดาห์ จากแรงซื้อหุ้นกลับของนักลงทุน หลังเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีก 2 ปี
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ระหว่างวันที่ 15-19 ส.ค.2554 บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีมีโอกาสแกว่งผันผวน และอาจฟื้นตัวขึ้น โดยคงจะต้องจับตาสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซน โดยเฉพาะภาคธนาคารในฝรั่งเศสอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ทั้งเครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคการผลิต รวมถึงการรายงานตัวเลขการค้าระหว่างประเทศโดยกระทรวงพาณิชย์ไทย ทั้งนี้ คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,055 และ 1,035 ขณะที่แนวต้าน คาดว่า จะอยู่ที่ 1,072 และ 1,094 จุด ตามลำดับ