ซีอีโอ บล.ฟิลลิป มองหุ้นไทยมีโอกาสแตะ 1,220 จุด ชี้จับตานโยบายรัฐบาลใหม่ จะเป็นปัจจัยสำคัญต้านรับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ในต่างประเทศทั้งสหรัฐฯ และยุโรป จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ วงการประเมินกรณีอเมริกาโดนลดเครดิต จะดันเม็ดเงินเข้าเอเชียรวมถึงไทย แต่หุ้นอาจร่วง ส่วนทองคำราคาขยับเพิ่มอีก ภาพรวมยังเชื่อหุ้นมีโอกาสรีบาวน์
นายปรัชญา กุลวณิชพิสิฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ PST กล่าวว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยขณะนี้ได้ประเมินยาก เนื่องจาก มีปัจจัยภายนอกประเทศเข้ามากระทบคือปัญหาหนี้ของสหรัฐอเมริกา และยุโรปที่เข้ามาบั่นทอนความเชื่อมั่นในการลงทุน แต่ส่วนตัวเชื่อว่าจากการที่สหรัฐอเมริกามีการเพิ่มเพดานหนี้ครั้งนี้ อาจทำให้สหรัฐฯจะมีการออกมาตรการเชิงปริมาณ (QE3)ออกมา แต่อาจจะไม่ใช้ชื่อ QE ซึ่งลักษณะก็จะเป็นการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการฟื้นตัว
ส่วนปัจจัยในประเทศ ทั้งนี้หากรัฐบาลใหม่มีการจัดตั้งรัฐบาลเสร็จ มีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ออกมา จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตเพิ่มขึ้น จากการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกเชน ก็จะทำให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพและมีความผันผวนไม่มากนัก จากปัจจัยลบในต่างประเทศ สำหรับดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้ ทางบล.ฟิลลิป เชื่อว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น อยู่ที่ 1,220 จุด ได้
"ตอนนี้มองภาพตลาดหุ้นไทยยาก จากที่มีปัญหาหนี้ยุโรปและอเมริกาที่คอยบั่นทอนความเชื่อมั่นในการลงทุน แต่ส่วนตัวเชื่อว่าหากรัฐบาลใหม่มา มีโครงการลงทุนชัดเจน หวังว่าเศรษฐกิจในประเทศจะดี จากที่มีการลงทุนของภาครัฐและเอกชน ก็จะเป็นภูมิต้านทานจากปัญหาต่างประเทศที่จะเข้ามากระทบต่อการลงทุนได้"นายปรัชญา กล่าว
อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ก็ได้รับปัจจัยลบเพิ่มเติมเข้ามาเมื่อ สถาบันจัดลำดับความน่าเชื่อถือ "สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์" หรือ เอส แอนด์ พี ได้ปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ ลงมาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยลดระดับลงมา 1 ขั้น จาก AAA เหลือ AA+ แล้วยังมีภาพรวมในแง่ลบอีก เพราะยังมีโอกาสที่จะถูกปรับลดลงอีกครั้งภายใน 2 ปีนี้ หากยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ในการตัดลดงบประมาณขาดดุลของรัฐบาล
เรื่องดังกล่าวทำให้นักวิเคราะห์มองว่า การที่สหรัฐฯถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงถือเป็นข่าวในเชิงลบ และมีโอกาสกระทบต่อจิตวิทยาการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากนี้ต้องประเมินว่าประเทศในแถบเอเชียจะได้รับผลกระทบแรงหรือไม่ เพราะการลดอันดับเครดิตจะส่งผลให้เงินทุนไหลออกจากสหรัฐฯ โดยในระยะกลางประเทศ ไทยและเอเชียอาจได้รับประโยชน์จากเงินไหลออกดังกล่าว แต่ต้องประเมินด้วยว่ารัฐบาลชุดใหม่จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างไร
ขณะเดียวกันมองว่า จะมีนักลงทุนจำนวนมาก จะขายสินทรัพย์เสี่ยง และหันไปซื้อทองคำแทน เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงปลอดภัย โดยในระยะสั้นหากดัชนีหุ้นไทยปรับลดลงแรง
ด้านนายสมชาย เอนกทวีผล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส มองว่า หุ้นไทยสัปดาห์นี้ (8-12 ส.ค.) ดัชนีอาจจะปรับตัวขึ้นได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก คือ เรื่องการประชุม ของเฟด ซึ่งตลาดต่างคาดหวังว่า จะมีการส่งสัญญาณถึงมาตรการ QE3
ทั้งนี้ แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯจะชะลอตัว และยังมีปัญหาหนี้ในกลุ่มประเทศ ยุโรป แต่ภาวะเศรษฐกิจในเอเชีย ยังแข็งแกร่ง ดังนั้นในท้ายที่สุดก็เชื่อว่า เม็ดเงินจากต่างชาติจะ ไหลเข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดย มองตลาดหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,075 จุด ส่วนแนวต้าน อยู่ที่ 1,110 และ 1,120 จุด
ด้านน.ส.อาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส(ประเทศไทย)กล่าวว่า แนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้ ต้องรอติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ในวันที่ 9 ส.ค. ว่าจะมีถ้อยแถลงอะไรที่บ่งชี้ว่าจะมีการออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจอะไรออกมาเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งถ้ามีก็อาจช่วยให้ตลาดฯรีบาวน์ได้ พร้อมให้แนวรับ 1,050 จุด แนวต้าน 1,090-1100 จุด
นายปรัชญา กุลวณิชพิสิฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ PST กล่าวว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยขณะนี้ได้ประเมินยาก เนื่องจาก มีปัจจัยภายนอกประเทศเข้ามากระทบคือปัญหาหนี้ของสหรัฐอเมริกา และยุโรปที่เข้ามาบั่นทอนความเชื่อมั่นในการลงทุน แต่ส่วนตัวเชื่อว่าจากการที่สหรัฐอเมริกามีการเพิ่มเพดานหนี้ครั้งนี้ อาจทำให้สหรัฐฯจะมีการออกมาตรการเชิงปริมาณ (QE3)ออกมา แต่อาจจะไม่ใช้ชื่อ QE ซึ่งลักษณะก็จะเป็นการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการฟื้นตัว
ส่วนปัจจัยในประเทศ ทั้งนี้หากรัฐบาลใหม่มีการจัดตั้งรัฐบาลเสร็จ มีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ออกมา จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตเพิ่มขึ้น จากการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกเชน ก็จะทำให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพและมีความผันผวนไม่มากนัก จากปัจจัยลบในต่างประเทศ สำหรับดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้ ทางบล.ฟิลลิป เชื่อว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น อยู่ที่ 1,220 จุด ได้
"ตอนนี้มองภาพตลาดหุ้นไทยยาก จากที่มีปัญหาหนี้ยุโรปและอเมริกาที่คอยบั่นทอนความเชื่อมั่นในการลงทุน แต่ส่วนตัวเชื่อว่าหากรัฐบาลใหม่มา มีโครงการลงทุนชัดเจน หวังว่าเศรษฐกิจในประเทศจะดี จากที่มีการลงทุนของภาครัฐและเอกชน ก็จะเป็นภูมิต้านทานจากปัญหาต่างประเทศที่จะเข้ามากระทบต่อการลงทุนได้"นายปรัชญา กล่าว
อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ก็ได้รับปัจจัยลบเพิ่มเติมเข้ามาเมื่อ สถาบันจัดลำดับความน่าเชื่อถือ "สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์" หรือ เอส แอนด์ พี ได้ปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ ลงมาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยลดระดับลงมา 1 ขั้น จาก AAA เหลือ AA+ แล้วยังมีภาพรวมในแง่ลบอีก เพราะยังมีโอกาสที่จะถูกปรับลดลงอีกครั้งภายใน 2 ปีนี้ หากยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ในการตัดลดงบประมาณขาดดุลของรัฐบาล
เรื่องดังกล่าวทำให้นักวิเคราะห์มองว่า การที่สหรัฐฯถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงถือเป็นข่าวในเชิงลบ และมีโอกาสกระทบต่อจิตวิทยาการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากนี้ต้องประเมินว่าประเทศในแถบเอเชียจะได้รับผลกระทบแรงหรือไม่ เพราะการลดอันดับเครดิตจะส่งผลให้เงินทุนไหลออกจากสหรัฐฯ โดยในระยะกลางประเทศ ไทยและเอเชียอาจได้รับประโยชน์จากเงินไหลออกดังกล่าว แต่ต้องประเมินด้วยว่ารัฐบาลชุดใหม่จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างไร
ขณะเดียวกันมองว่า จะมีนักลงทุนจำนวนมาก จะขายสินทรัพย์เสี่ยง และหันไปซื้อทองคำแทน เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงปลอดภัย โดยในระยะสั้นหากดัชนีหุ้นไทยปรับลดลงแรง
ด้านนายสมชาย เอนกทวีผล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส มองว่า หุ้นไทยสัปดาห์นี้ (8-12 ส.ค.) ดัชนีอาจจะปรับตัวขึ้นได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก คือ เรื่องการประชุม ของเฟด ซึ่งตลาดต่างคาดหวังว่า จะมีการส่งสัญญาณถึงมาตรการ QE3
ทั้งนี้ แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯจะชะลอตัว และยังมีปัญหาหนี้ในกลุ่มประเทศ ยุโรป แต่ภาวะเศรษฐกิจในเอเชีย ยังแข็งแกร่ง ดังนั้นในท้ายที่สุดก็เชื่อว่า เม็ดเงินจากต่างชาติจะ ไหลเข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดย มองตลาดหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,075 จุด ส่วนแนวต้าน อยู่ที่ 1,110 และ 1,120 จุด
ด้านน.ส.อาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส(ประเทศไทย)กล่าวว่า แนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้ ต้องรอติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ในวันที่ 9 ส.ค. ว่าจะมีถ้อยแถลงอะไรที่บ่งชี้ว่าจะมีการออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจอะไรออกมาเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งถ้ามีก็อาจช่วยให้ตลาดฯรีบาวน์ได้ พร้อมให้แนวรับ 1,050 จุด แนวต้าน 1,090-1100 จุด