ปตท.เคมิคอลชี้ไตรมาส 3/54 กำไรจากการดำเนินงานลดลงจากไตรมาส 2 นี้ เหตุปิดซ่อมบำรุงโรงแครกเกอร์ล้านตันเป็นเวลา 40วัน และโรงเม็ดพลาสติกทำให้กำลังการผลิตหดหาย และมาร์จินเม็ดพลาสติกแคบลง เชื่อว่าส.ค.นี้ความต้องการใช้เม็ดพลาสติกขยับขึ้นดันราคาดี เผยบริษัทฯพร้อมรับมือการรวมตัวAEC มองเป็นโอกาสที่ดีในการลงทุนต่างประเทศ สนใจลงทุนที่อินโดนีเซีย เนื่องจากเป็นประเทศนำเข้าเม็ดพลาสติกทุกชนิด หลังควบรวมกิจการตั้งPTTGC ทิศทางการลงทุนเน้นโครงการปลายน้ำเป็นหลัก
นายวีรศักดิ์ โฆษิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด(มหาชน)(PTTCH) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานบริษัทฯในไตรมาส 3/2554 คาดว่ามีกำไรจากการดำเนินงาน ต่ำกว่าไตรมาส 2/2554 เนื่องจากปริมาณการผลิตโอเลฟินส์และเม็ดพลาสติกลดลงจากการหยุดซ่อมบำรุงโรงงานเอทืลีนแครกเกอร์ 1 ล้านตัน/ปีเป็นเวลา 40 วัน ช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. รวมทั้งโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก LDPE, HDPE ด้วย รวมทั้งส่วนต่างราคาเม็ดพลาสติกHDPEกับแนฟธา(สเปรด)ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมาอ่อนตัวลงมาเล็กน้อยตามฤดูกาลอยู่ที่เฉลี่ย 500 เหรียญสหรัฐ /ตัน เชื่อว่าเดือนส.ค.นี้ความต้องการใช้เม็ดพลาสติกจะกลับมาเพื่อสต็อกไว้ผลิตสินค้าคริสต์มาสทำให้สเปรดดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการไตรมาส 3/2554 มีกำไรจากการดำเนินงานดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบปี 2553 แต่เมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานในครึ่งปีหลังนี้คาดว่าจะต่ำกว่าครึ่งปีแรก เพราะปริมาณการผลิตที่ลดลงจากการปิดซ่อมบำรุง
ในปีนี้ราคาเม็ดพลาสติก MEG พบว่าราคาค่อนข้างดี ล่าสุดอยู่ที่ตันละ 1,100-1,200 เหรียญสหรัฐ จากที่คาดไว้ที่ระดับ 900- 1,000 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากมีโรงงานผลิตขวดPET และโพลีเอสเตอร์เกิดขึ้นใหม่ทำให้เกิดความต้องการใช้มาก แต่เนื่องจากราคาเม็ดพลาสติกMEG มีความผันผวนมาก ดังนั้นยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะรักษาระดับราคาในช่วงนี้ได้จนถึงสิ้นปี 2554 ได้หรือไม่ โดย สัดส่วนรายได้ของ MEG คิดเป็น 15% ของรายได้รวม
สำหรับสถานการณ์โอเลฟินส์ในช่วง 5 ปีข้างหน้า จะมีกำลังการผลิตใหม่เข้ามาในตลาดโลกอีก 3 ล้านตัน ถือว่าเป็นปริมาณที่น้อยจากก่อนหน้านี้มีปริมาณกำลังการผลิตใหม่ถึง 12 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการใช้โอเลฟินส์ของโลกอยู่ที่ 150 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3% โดยประเมินว่าวัฎจักรราคาเม็ดพลาสติกจะดีขึ้นสูงสุดในปี 2557 ส่วนกรณีที่เกิดเพลิงไหม้โรงกลั่นของฟอร์โมซา ปิโตรเคมิคอล ในไต้หวัน ส่งผลให้ราคาปิโตรเคมีดีดตัวขึ้นเล็กน้อย แต่เชื่อว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น
นายวีรศักดิ์ กล่าวถึงการควบรวมกิจการระหว่าง PTTCH และ บมจ.ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR) ว่า หลังการควบรวมจะจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ คือบมจ. ปตท โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) โดยบริษัทใหม่มีความสามารถในการแข่งขันกับบริษัทปิโตรเคมีระดับโลกได้ โดยคาดว่าบริษัทฯใหม่จะมีรายได้รวม 15,000-17,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และพร้อมที่จะแข่งขันหลังเปิดกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)ในปี 2558 ที่สามารถเคลื่อนย้ายเงินทุน บุคคลากรทำได้ง่ายขึ้น
ซึ่งปัจจุบัน บริษัทฯได้มีการเตรียมความพร้อมในเชิงโครงสร้าง จากเดิมที่เป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายสินค้าในประเทศ เหลือส่งออก ก็ปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจเพื่อเป็นบริษัทข้ามชาติ รวมทั้งมีการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร และกำหนดทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ที่บริษัทต้องการก้าวต่อไปในอนาคต ซึ่งภายหลังการควบรวมกิจการเป็นบริษัทใหม่นี้ จะมีการประกาศแผนการลงทุนในอนาคต โดยเน้นการลงทุนโครงการปิโตรเคมีปลายน้ำ ที่ใช้วัตถุดิบจากโอเลฟินส์และอะโรเม ติกส์ จากปัจจุบันที่มีการลงทุนร่วมกันเพียงโครงการผลิตฟีนอล ทั้งๆที่ยังสามารถผลิตเม็ดพลาสติกได้อีกหลายชนิด อาทิ โครงการผลิตสไตรีนโมโนเมอร์ โครงการผลิตโพลีคาร์บอเนต เป็นต้น
โดยยอมรับการเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้ประกอบการไทยต้องพร้อมที่จะแข่งขันกับหลายประเทศในอาเซียนให้ได้ โดยมองว่าการลงทุนปิโตรเคมีใหม่ในพื้นที่มาบตาพุด แต่หากไม่สามารถดำเนินโครงการก็คงต้องหันไปมองประเทศอื่นๆที่มีขนาดใหญ่อาทิ อินโดนีเซีย อินเดีย และจีน
ซึ่งการรวมกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทำให้บริษัทฯสามารถลงทุนในอาเซียนได้สะดวกขึ้น โดยมองว่าอินโดนีเซียเป็นตลาดที่น่าลงทุนมีประชากรสูงถึง 200 ล้านคน และปัจจุบันอินโดนีเซียเป็นประเทศผู้นำเข้าเม็ดพลาสติกทุกชนิด และมีศักยภาพเติบโตอีกมาก ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯมีการส่งออกเม็ดพลาสติกไปจำหน่ายในอินโดนีเซียอยู่แล้ว
นอกเหนือจากอินโดนีเซียแล้ว บริษัทฯมองเห็นศักยภาพของอินเดียและจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีการบริโภคเม็ดพลาสติกสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก ซึ่งการลงทุนในอนาคตนี้จะเป็นรูปแบบเข้าไปซื้อกิจการ (M&A) หรือการร่วมทุนกับพันธมิตร เนื่องจากบางโครงการต้องใช้เงินลงทุนสูง และลดความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยรักษาอัตราหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ระดับ 1:1 เท่า
นายวีรศักดิ์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการผลิตเอทิลีนไกลคอลส่วนต่อขยาย(MEG) ที่เป็น 1ใน 2 โครงการที่ศาลปกครองกลางสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อเดือนก.ย. ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ว่าจะให้โครงการดังกล่าวดำเนินการผลิตได้หรือไม่ หลังจาก บริษัทได้ยื่นรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) และองค์กรอิสระ มีมติเป็นเอกฉันท์ไม่อนุมัติให้โครงการ MEG ส่วนขยายของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ PTTCH ดำเนินการได้ หลังจากได้ลงพื้นที่พิสูจน์ และรับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่ายแล้ว
นายวีรศักดิ์ โฆษิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด(มหาชน)(PTTCH) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานบริษัทฯในไตรมาส 3/2554 คาดว่ามีกำไรจากการดำเนินงาน ต่ำกว่าไตรมาส 2/2554 เนื่องจากปริมาณการผลิตโอเลฟินส์และเม็ดพลาสติกลดลงจากการหยุดซ่อมบำรุงโรงงานเอทืลีนแครกเกอร์ 1 ล้านตัน/ปีเป็นเวลา 40 วัน ช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. รวมทั้งโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก LDPE, HDPE ด้วย รวมทั้งส่วนต่างราคาเม็ดพลาสติกHDPEกับแนฟธา(สเปรด)ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมาอ่อนตัวลงมาเล็กน้อยตามฤดูกาลอยู่ที่เฉลี่ย 500 เหรียญสหรัฐ /ตัน เชื่อว่าเดือนส.ค.นี้ความต้องการใช้เม็ดพลาสติกจะกลับมาเพื่อสต็อกไว้ผลิตสินค้าคริสต์มาสทำให้สเปรดดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการไตรมาส 3/2554 มีกำไรจากการดำเนินงานดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบปี 2553 แต่เมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานในครึ่งปีหลังนี้คาดว่าจะต่ำกว่าครึ่งปีแรก เพราะปริมาณการผลิตที่ลดลงจากการปิดซ่อมบำรุง
ในปีนี้ราคาเม็ดพลาสติก MEG พบว่าราคาค่อนข้างดี ล่าสุดอยู่ที่ตันละ 1,100-1,200 เหรียญสหรัฐ จากที่คาดไว้ที่ระดับ 900- 1,000 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากมีโรงงานผลิตขวดPET และโพลีเอสเตอร์เกิดขึ้นใหม่ทำให้เกิดความต้องการใช้มาก แต่เนื่องจากราคาเม็ดพลาสติกMEG มีความผันผวนมาก ดังนั้นยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะรักษาระดับราคาในช่วงนี้ได้จนถึงสิ้นปี 2554 ได้หรือไม่ โดย สัดส่วนรายได้ของ MEG คิดเป็น 15% ของรายได้รวม
สำหรับสถานการณ์โอเลฟินส์ในช่วง 5 ปีข้างหน้า จะมีกำลังการผลิตใหม่เข้ามาในตลาดโลกอีก 3 ล้านตัน ถือว่าเป็นปริมาณที่น้อยจากก่อนหน้านี้มีปริมาณกำลังการผลิตใหม่ถึง 12 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการใช้โอเลฟินส์ของโลกอยู่ที่ 150 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3% โดยประเมินว่าวัฎจักรราคาเม็ดพลาสติกจะดีขึ้นสูงสุดในปี 2557 ส่วนกรณีที่เกิดเพลิงไหม้โรงกลั่นของฟอร์โมซา ปิโตรเคมิคอล ในไต้หวัน ส่งผลให้ราคาปิโตรเคมีดีดตัวขึ้นเล็กน้อย แต่เชื่อว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น
นายวีรศักดิ์ กล่าวถึงการควบรวมกิจการระหว่าง PTTCH และ บมจ.ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR) ว่า หลังการควบรวมจะจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ คือบมจ. ปตท โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) โดยบริษัทใหม่มีความสามารถในการแข่งขันกับบริษัทปิโตรเคมีระดับโลกได้ โดยคาดว่าบริษัทฯใหม่จะมีรายได้รวม 15,000-17,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และพร้อมที่จะแข่งขันหลังเปิดกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)ในปี 2558 ที่สามารถเคลื่อนย้ายเงินทุน บุคคลากรทำได้ง่ายขึ้น
ซึ่งปัจจุบัน บริษัทฯได้มีการเตรียมความพร้อมในเชิงโครงสร้าง จากเดิมที่เป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายสินค้าในประเทศ เหลือส่งออก ก็ปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจเพื่อเป็นบริษัทข้ามชาติ รวมทั้งมีการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร และกำหนดทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ที่บริษัทต้องการก้าวต่อไปในอนาคต ซึ่งภายหลังการควบรวมกิจการเป็นบริษัทใหม่นี้ จะมีการประกาศแผนการลงทุนในอนาคต โดยเน้นการลงทุนโครงการปิโตรเคมีปลายน้ำ ที่ใช้วัตถุดิบจากโอเลฟินส์และอะโรเม ติกส์ จากปัจจุบันที่มีการลงทุนร่วมกันเพียงโครงการผลิตฟีนอล ทั้งๆที่ยังสามารถผลิตเม็ดพลาสติกได้อีกหลายชนิด อาทิ โครงการผลิตสไตรีนโมโนเมอร์ โครงการผลิตโพลีคาร์บอเนต เป็นต้น
โดยยอมรับการเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้ประกอบการไทยต้องพร้อมที่จะแข่งขันกับหลายประเทศในอาเซียนให้ได้ โดยมองว่าการลงทุนปิโตรเคมีใหม่ในพื้นที่มาบตาพุด แต่หากไม่สามารถดำเนินโครงการก็คงต้องหันไปมองประเทศอื่นๆที่มีขนาดใหญ่อาทิ อินโดนีเซีย อินเดีย และจีน
ซึ่งการรวมกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทำให้บริษัทฯสามารถลงทุนในอาเซียนได้สะดวกขึ้น โดยมองว่าอินโดนีเซียเป็นตลาดที่น่าลงทุนมีประชากรสูงถึง 200 ล้านคน และปัจจุบันอินโดนีเซียเป็นประเทศผู้นำเข้าเม็ดพลาสติกทุกชนิด และมีศักยภาพเติบโตอีกมาก ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯมีการส่งออกเม็ดพลาสติกไปจำหน่ายในอินโดนีเซียอยู่แล้ว
นอกเหนือจากอินโดนีเซียแล้ว บริษัทฯมองเห็นศักยภาพของอินเดียและจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีการบริโภคเม็ดพลาสติกสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก ซึ่งการลงทุนในอนาคตนี้จะเป็นรูปแบบเข้าไปซื้อกิจการ (M&A) หรือการร่วมทุนกับพันธมิตร เนื่องจากบางโครงการต้องใช้เงินลงทุนสูง และลดความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยรักษาอัตราหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ระดับ 1:1 เท่า
นายวีรศักดิ์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการผลิตเอทิลีนไกลคอลส่วนต่อขยาย(MEG) ที่เป็น 1ใน 2 โครงการที่ศาลปกครองกลางสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อเดือนก.ย. ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ว่าจะให้โครงการดังกล่าวดำเนินการผลิตได้หรือไม่ หลังจาก บริษัทได้ยื่นรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) และองค์กรอิสระ มีมติเป็นเอกฉันท์ไม่อนุมัติให้โครงการ MEG ส่วนขยายของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ PTTCH ดำเนินการได้ หลังจากได้ลงพื้นที่พิสูจน์ และรับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่ายแล้ว