ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยสินเชื่อเดือนพ.ค.เพิ่ม 1.11 แสนล้านเป็น 6.87 ล้านล้าน รวม 5 เดือนแรกของปีเพิ่ม 3.66 แสนล้าน โต 5.63% ระบุแนวโน้มยังขยายตัวต่อ และหากการเลือกตั้งผ่านพ้นด้วยดี มีโอกาสโตเป็นเลขสองหลัก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานยอดคงค้างสินเชื่อ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2554 มีจำนวน 6.87 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.11 แสนล้านบาท จาก 6.76 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนเมษายน 2554 จากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อในทุกกลุ่มธนาคาร นำโดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก ทั้งนี้ การกลับมาผลิตได้อีกครั้งของภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ หลังเผชิญปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนจากเหตุภัยพิบัติในญี่ปุ่น ประกอบกับความต้องการเงินทุนหมุนเวียนของภาคเอกชน เพื่อรองรับการปรับขึ้นของต้นทุนผู้ประกอบการ ทั้งจากราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และค่าจ้างแรงงาน ทำให้ความต้องการเบิกใช้สินเชื่อในเดือนนี้เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน
ส่วนในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2554 เงินให้สินเชื่อสุทธิเพิ่มขึ้น 3.66 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นการเติบโตร้อยละ 5.63 จาก ณ สิ้นปี 2553 ขณะที่เงินฝากเพิ่มขึ้น 1.50 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 2.19 จาก ณ สิ้นปี 2553 ส่วนตราสารหนี้ที่ออกและเงินกู้ยืม เพิ่มขึ้น 3.01 แสนล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2553
ทั้งนี้ ในระยะถัดไปต่อเนื่องจนถึงครึ่งหลังของปี 2554 ประเมินว่า สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มรักษาระดับต่อเนื่องจากในช่วง 5 เดือนแรกของปี แม้จะมีปัจจัยดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบ โดยเฉพาะยอดการปล่อยสินเชื่อที่คาดว่าอาจมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นตามโมเมนตัมการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวจากผลกระทบชั่วคราว และหากการเลือกตั้งสามารถผ่านไปได้อย่างราบรื่น ก็น่าจะหนุนให้เงินให้สินเชื่อสุทธิตลอดทั้งปีมีแนวโน้มขยายตัวเข้าใกล้อัตราเลขสองหลัก
อย่างไรก็ดี คงจะต้องติดตามหลากหลายปัจจัยที่อาจมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยและความต้องการสินเชื่อภาคเอกชนในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสถียรภาพและนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ ตลอดจนอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกประเทศโดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯและปัญหาหนี้สินในยูโรโซน
ด้านการระดมเงินนั้น มองว่า ภาพการแข่งขันระดมเงินฝากระหว่างธนาคารพาณิชย์ด้วยกันเองและกับคู่แข่งอื่นๆ โดยเฉพาะสถาบันการเงินเฉพาะกิจ น่าจะยังคงความเข้มข้น เมื่อเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2554 จากการบริหารสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปี และเพื่อรับมือกับการจำกัดวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 50 ล้านบาท / รายผู้ฝาก / สถาบันการเงิน ในเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งเมื่อผนวกปัจจัยข้างต้นกับแนวโน้มขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อาจยังไม่สิ้นสุดในระยะ 1 - 2 เดือนข้างหน้าแล้ว คาดว่า ธนาคารพาณิชย์ต่างๆคงมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินออม ทั้งเงินฝากและตั๋วแลกเงินพิเศษที่ให้ผลตอบแทนในระดับที่สามารถแข่งขันได้ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมและจูงใจกลุ่มลูกค้าใหม่
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานยอดคงค้างสินเชื่อ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2554 มีจำนวน 6.87 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.11 แสนล้านบาท จาก 6.76 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนเมษายน 2554 จากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อในทุกกลุ่มธนาคาร นำโดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก ทั้งนี้ การกลับมาผลิตได้อีกครั้งของภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ หลังเผชิญปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนจากเหตุภัยพิบัติในญี่ปุ่น ประกอบกับความต้องการเงินทุนหมุนเวียนของภาคเอกชน เพื่อรองรับการปรับขึ้นของต้นทุนผู้ประกอบการ ทั้งจากราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และค่าจ้างแรงงาน ทำให้ความต้องการเบิกใช้สินเชื่อในเดือนนี้เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน
ส่วนในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2554 เงินให้สินเชื่อสุทธิเพิ่มขึ้น 3.66 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นการเติบโตร้อยละ 5.63 จาก ณ สิ้นปี 2553 ขณะที่เงินฝากเพิ่มขึ้น 1.50 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 2.19 จาก ณ สิ้นปี 2553 ส่วนตราสารหนี้ที่ออกและเงินกู้ยืม เพิ่มขึ้น 3.01 แสนล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2553
ทั้งนี้ ในระยะถัดไปต่อเนื่องจนถึงครึ่งหลังของปี 2554 ประเมินว่า สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มรักษาระดับต่อเนื่องจากในช่วง 5 เดือนแรกของปี แม้จะมีปัจจัยดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบ โดยเฉพาะยอดการปล่อยสินเชื่อที่คาดว่าอาจมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นตามโมเมนตัมการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวจากผลกระทบชั่วคราว และหากการเลือกตั้งสามารถผ่านไปได้อย่างราบรื่น ก็น่าจะหนุนให้เงินให้สินเชื่อสุทธิตลอดทั้งปีมีแนวโน้มขยายตัวเข้าใกล้อัตราเลขสองหลัก
อย่างไรก็ดี คงจะต้องติดตามหลากหลายปัจจัยที่อาจมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยและความต้องการสินเชื่อภาคเอกชนในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสถียรภาพและนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ ตลอดจนอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกประเทศโดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯและปัญหาหนี้สินในยูโรโซน
ด้านการระดมเงินนั้น มองว่า ภาพการแข่งขันระดมเงินฝากระหว่างธนาคารพาณิชย์ด้วยกันเองและกับคู่แข่งอื่นๆ โดยเฉพาะสถาบันการเงินเฉพาะกิจ น่าจะยังคงความเข้มข้น เมื่อเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2554 จากการบริหารสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปี และเพื่อรับมือกับการจำกัดวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 50 ล้านบาท / รายผู้ฝาก / สถาบันการเงิน ในเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งเมื่อผนวกปัจจัยข้างต้นกับแนวโน้มขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อาจยังไม่สิ้นสุดในระยะ 1 - 2 เดือนข้างหน้าแล้ว คาดว่า ธนาคารพาณิชย์ต่างๆคงมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินออม ทั้งเงินฝากและตั๋วแลกเงินพิเศษที่ให้ผลตอบแทนในระดับที่สามารถแข่งขันได้ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมและจูงใจกลุ่มลูกค้าใหม่