"พิสิฐ ลี้อาธรรม" ห่วงปัญหาการเมืองทำนักลงทุนต่างชาติหนีไปประเทศเพื่อนบ้าน แนะพรรคการเมืองชูนโยบายพัฒนาคุณภาพแรงงานควบคู่ขึ้นค่าจ้าง
นายพิสิฐ ลี้อาธรรม คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะอดีต รมช.คลัง เปิดเผยว่า ฝากแสดงความห่วงใยไปยังพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่กำลังชูนโยบายหาเสียงเกี่ยวกับการเพิ่มอัตราค่าจ้าง ค่าครองชีพ รวมถึงเงินเดือนข้าราชการ โดยควรจะเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน เพื่อสร้างคุณภาพแรงงานให้ได้มาตรฐานควบคู่กันไปด้วย เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในระยะยาว
สำหรับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยนั้น เชื่อว่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว แต่หลังจากยุติเหตุการณ์ชุมนุมที่ราชประสงค์แล้ว ไทยกลับมามีแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งเมื่อปีที่แล้วภาวะตลาดหุ้นไทยกลับมาขยายตัวได้ดีที่สุด
“ประเทศไทยยังคงโดดเด่นในเรื่องการส่งออก ทั้งด้านสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ทำให้ปัญหาการว่างงานของไทยไม่น่ากังวล อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตระบบการเมืองยังไม่มั่นคง อาจทำให้นักลงทุนย้ายฐานการผลิตไปยังอินโดนีเซียและเวียดนามแทนได้”
หลังจากที่นานาประเทศเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 50-51 และกลับมาฟื้นตัวในปี 52-53 แต่การฟื้นตัวช่วง 6 เดือนที่ผ่านมานี้ กลับมีความเลวร้ายมากขึ้น ทำให้หลายฝ่ายวิตกกังวลและห่วงใยภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัญหาเงินเฟ้อ และการว่างงานที่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“แม้ว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวแล้ว แต่สำหรับประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรปกลับฟื้นตัวได้ช้ากว่าประเทศอุตสาหกรรมใหม่ เช่น จีน และรัสเซีย ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีผลพวงมาจากการใช้นโยบายประชานิยมของรัฐบาลที่ต้องการตอบสนองความต้องการของประชาชนมากกว่าจะรับฟังการวิเคราะห์ของนักเศรษฐศาสตร์” นายพิสิฐกล่าว
นายพิสิฐ ลี้อาธรรม คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะอดีต รมช.คลัง เปิดเผยว่า ฝากแสดงความห่วงใยไปยังพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่กำลังชูนโยบายหาเสียงเกี่ยวกับการเพิ่มอัตราค่าจ้าง ค่าครองชีพ รวมถึงเงินเดือนข้าราชการ โดยควรจะเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน เพื่อสร้างคุณภาพแรงงานให้ได้มาตรฐานควบคู่กันไปด้วย เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในระยะยาว
สำหรับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยนั้น เชื่อว่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว แต่หลังจากยุติเหตุการณ์ชุมนุมที่ราชประสงค์แล้ว ไทยกลับมามีแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งเมื่อปีที่แล้วภาวะตลาดหุ้นไทยกลับมาขยายตัวได้ดีที่สุด
“ประเทศไทยยังคงโดดเด่นในเรื่องการส่งออก ทั้งด้านสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ทำให้ปัญหาการว่างงานของไทยไม่น่ากังวล อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตระบบการเมืองยังไม่มั่นคง อาจทำให้นักลงทุนย้ายฐานการผลิตไปยังอินโดนีเซียและเวียดนามแทนได้”
หลังจากที่นานาประเทศเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 50-51 และกลับมาฟื้นตัวในปี 52-53 แต่การฟื้นตัวช่วง 6 เดือนที่ผ่านมานี้ กลับมีความเลวร้ายมากขึ้น ทำให้หลายฝ่ายวิตกกังวลและห่วงใยภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัญหาเงินเฟ้อ และการว่างงานที่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“แม้ว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวแล้ว แต่สำหรับประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรปกลับฟื้นตัวได้ช้ากว่าประเทศอุตสาหกรรมใหม่ เช่น จีน และรัสเซีย ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีผลพวงมาจากการใช้นโยบายประชานิยมของรัฐบาลที่ต้องการตอบสนองความต้องการของประชาชนมากกว่าจะรับฟังการวิเคราะห์ของนักเศรษฐศาสตร์” นายพิสิฐกล่าว