“เอสบีเคฯ”ต้องรอต่อไป หลังศาลแพ่งเลื่อนชี้ขาดสิทธิ์ในการถือหุ้นเสริมสุข เมื่อโจทก์ร้องขอสืบพยานเพิ่มเติมอีก 3 ปาก พร้อมฟ้องคดีอาญาแก่กลุ่มเครื่องดื่มข้ามชาติ เล่นเกมฮุบหุ้นแบบเลี่ยงการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ ส่วนด้านทางเอสบีเคฯก็ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่ง
วานนี้(9พ.ค.) ศาลแพ่ง ได้นัดฟังคำสั่งกรณีการเข้าถือหุ้นของบริษัท เอสบีเค เบฟเวอเรจ ในบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) หรือ SSC เนื่องจากเรื่องดังกล่าวมีผลต่อการออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2554 ของ บมจ.เสริมสุข เมื่อวันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยฝ่ายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้มีการสืบพยานเพิ่มเติมอีก 3 ปาก เนื่องจากที่ผ่านมา พบว่ามีการสืบพยานเพียงปากเดียว ทำให้ศาลแพ่ง จึงได้มีคำสั่งตามคำร้องของโจทก์ คือให้สืบพยานเพิ่มเติมในวันที่ 11 พ.ค.นี้ พร้อมกับให้ฝ่ายโจทก์วางเงินประกันความเสียหายเพิ่มเติมอีก 2.5 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ในส่วนของผู้ถือหุ้นรายย่อยของ SSC ได้ฟ้องร้องเป็นคดีอาญา ในนามผู้ถือหุ้นใหญ่ เพื่อฟ้องเอสบีเคฯ , ซันโตรี่, เป็ปซี่ โค และ เซเว่นอัพ ในความผิดมาตรา 247 ของ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในการทำลักษณะความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมที่เข้าลักษณะเป็นการกระทำร่วมกับบุคคลอื่น (acting in concert) หลีกเลี่ยงการเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ โดยมีบทลงโทษจำคุก 2-7 ปีด้วย
นายธนา เบญจาธิกุล ทนายฝ่ายโจทก์ เปิดเผยว่า ฝ่ายโจทก์ ร้องขอเพิกถอนการซื้อขายหุ้นระหว่างบริษัท ซันโตรี เบฟเวอเรจ แอนด์ ฟูด จำกัด ที่เป็นนักลงทุนต่างประเทศ กับ บริษัท เอสบีเคฯ เนื่องจากมีการทำ acting in concert หลังจากที่ ซันโตรีฯประกาศทำเทนเดอร์ บมจ.เสริมสุข เมื่อปี 2553 แต่ไม่สำเร็จ และใช้เวลารออีก 1 ปี จึงจะสามารถทำเทนเดอร์ได้ ขณะที่กฎระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ระบุว่า การที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคล มีการไล่ซื้อหุ้น ถือเป็นการหลีกเลี่ยงการทำเทนเดอร์ ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย
นอกจากนี้ พบว่า การจัดตั้งบริษัท เอสบีเคฯ นั้น เกิดขึ้นหลังจากที่ทางเป็ปซี่ โค เจรจาลดส่วนแบ่งค่าหัวเชื้อกับเสริมสุข ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ ซันโตรี่ฯ มีสิทธิเข้าซื้อหุ้น SSC ได้ แต่เป็นการซื้อผ่านช่องทางเอ็นวีดีอาร์ ซึ่งหุ้นปีระเภทนี้ โดยแท้จริงแล้วมีสิทธิรับเงินปันผลเท่านั้น แต่ไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียง(โหวต) เพราะจะกลายเป็นนักลงทุนต่างชาติถือหุ้นเกินสัดส่วนที่กำหนด
“เรามองว่า การที่ ซันโตรีฯ ซื้อหุ้น SSC ประมาณ 9% และ ขายหุ้น SSC ให้ เอสบีเคฯนั้น ทำให้มองว่า เอสบีเคฯเป็นนอมินีของซันโตรี จึงขอเพิกถอนการโอนสิทธิ และขอไต่สวนฉุกเฉิก”
โดยในการประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อ 29 เม.ย. ผู้ถือหุ้นต้องจดทะเบียนในศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ เพื่อดำรงการเป็นผู้ถือหุ้นและเพื่อมีสิทธิในการออกเสียง ในขณะที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยขอไต่สวนฉุกเฉิกเพื่อให้ศาลระงับการจดทะเบียนและไม่ให้สิทธิในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งศาลอนุญาต
แต่ทางบริษัท เอสบีเคฯได้ฟ้องกลับทางเสริมสุขและศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ที่ระงับการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นทำให้เกิดข้อสงสัยในเรื่องการจ่ายเงินปันผลของบมจ.เสริมสุข ซึ่งศาลมีการขอตั้งข้อสังเกตุว่า ใครจะได้รับสิทธิในเงินปันผลดังกล่าว ทั้งนี้ในส่วนทนายฝ่ายโจกท์ ชี้แจงว่า เงินปันผลยังอยู่ที่เอ็นวีดีอาร์ ซึ่งซันโตรี หรือ เอสบีเค ยังคงมีสิทธิรับเงินปันผลในครั้งนี้
"หุ้นที่เอสบีเคฯซื้อมา ใช้สิทธิโหวตไม่ได้ เรารอการเพิกถอนการโอนหุ้นระหว่างซันโตรี กับ เอสบีเคให้เป็นที่สิ้นสุดก่อน ส่วนตัวไม่รู้ว่า เป็ปซี่ โคฯ มีความพยายามที่จะเข้าประชุมผู้ถือหุ้นหรือไม่ อีกทั้งเชื่อว่าคดีที่เกิดขึ้นดังกล่าวน่าจะใช้เวลาเป็นปี กว่าคดีจะสิ้นสุด”
วานนี้(9พ.ค.) ศาลแพ่ง ได้นัดฟังคำสั่งกรณีการเข้าถือหุ้นของบริษัท เอสบีเค เบฟเวอเรจ ในบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) หรือ SSC เนื่องจากเรื่องดังกล่าวมีผลต่อการออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2554 ของ บมจ.เสริมสุข เมื่อวันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยฝ่ายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้มีการสืบพยานเพิ่มเติมอีก 3 ปาก เนื่องจากที่ผ่านมา พบว่ามีการสืบพยานเพียงปากเดียว ทำให้ศาลแพ่ง จึงได้มีคำสั่งตามคำร้องของโจทก์ คือให้สืบพยานเพิ่มเติมในวันที่ 11 พ.ค.นี้ พร้อมกับให้ฝ่ายโจทก์วางเงินประกันความเสียหายเพิ่มเติมอีก 2.5 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ในส่วนของผู้ถือหุ้นรายย่อยของ SSC ได้ฟ้องร้องเป็นคดีอาญา ในนามผู้ถือหุ้นใหญ่ เพื่อฟ้องเอสบีเคฯ , ซันโตรี่, เป็ปซี่ โค และ เซเว่นอัพ ในความผิดมาตรา 247 ของ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในการทำลักษณะความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมที่เข้าลักษณะเป็นการกระทำร่วมกับบุคคลอื่น (acting in concert) หลีกเลี่ยงการเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ โดยมีบทลงโทษจำคุก 2-7 ปีด้วย
นายธนา เบญจาธิกุล ทนายฝ่ายโจทก์ เปิดเผยว่า ฝ่ายโจทก์ ร้องขอเพิกถอนการซื้อขายหุ้นระหว่างบริษัท ซันโตรี เบฟเวอเรจ แอนด์ ฟูด จำกัด ที่เป็นนักลงทุนต่างประเทศ กับ บริษัท เอสบีเคฯ เนื่องจากมีการทำ acting in concert หลังจากที่ ซันโตรีฯประกาศทำเทนเดอร์ บมจ.เสริมสุข เมื่อปี 2553 แต่ไม่สำเร็จ และใช้เวลารออีก 1 ปี จึงจะสามารถทำเทนเดอร์ได้ ขณะที่กฎระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ระบุว่า การที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคล มีการไล่ซื้อหุ้น ถือเป็นการหลีกเลี่ยงการทำเทนเดอร์ ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย
นอกจากนี้ พบว่า การจัดตั้งบริษัท เอสบีเคฯ นั้น เกิดขึ้นหลังจากที่ทางเป็ปซี่ โค เจรจาลดส่วนแบ่งค่าหัวเชื้อกับเสริมสุข ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ ซันโตรี่ฯ มีสิทธิเข้าซื้อหุ้น SSC ได้ แต่เป็นการซื้อผ่านช่องทางเอ็นวีดีอาร์ ซึ่งหุ้นปีระเภทนี้ โดยแท้จริงแล้วมีสิทธิรับเงินปันผลเท่านั้น แต่ไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียง(โหวต) เพราะจะกลายเป็นนักลงทุนต่างชาติถือหุ้นเกินสัดส่วนที่กำหนด
“เรามองว่า การที่ ซันโตรีฯ ซื้อหุ้น SSC ประมาณ 9% และ ขายหุ้น SSC ให้ เอสบีเคฯนั้น ทำให้มองว่า เอสบีเคฯเป็นนอมินีของซันโตรี จึงขอเพิกถอนการโอนสิทธิ และขอไต่สวนฉุกเฉิก”
โดยในการประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อ 29 เม.ย. ผู้ถือหุ้นต้องจดทะเบียนในศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ เพื่อดำรงการเป็นผู้ถือหุ้นและเพื่อมีสิทธิในการออกเสียง ในขณะที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยขอไต่สวนฉุกเฉิกเพื่อให้ศาลระงับการจดทะเบียนและไม่ให้สิทธิในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งศาลอนุญาต
แต่ทางบริษัท เอสบีเคฯได้ฟ้องกลับทางเสริมสุขและศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ที่ระงับการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นทำให้เกิดข้อสงสัยในเรื่องการจ่ายเงินปันผลของบมจ.เสริมสุข ซึ่งศาลมีการขอตั้งข้อสังเกตุว่า ใครจะได้รับสิทธิในเงินปันผลดังกล่าว ทั้งนี้ในส่วนทนายฝ่ายโจกท์ ชี้แจงว่า เงินปันผลยังอยู่ที่เอ็นวีดีอาร์ ซึ่งซันโตรี หรือ เอสบีเค ยังคงมีสิทธิรับเงินปันผลในครั้งนี้
"หุ้นที่เอสบีเคฯซื้อมา ใช้สิทธิโหวตไม่ได้ เรารอการเพิกถอนการโอนหุ้นระหว่างซันโตรี กับ เอสบีเคให้เป็นที่สิ้นสุดก่อน ส่วนตัวไม่รู้ว่า เป็ปซี่ โคฯ มีความพยายามที่จะเข้าประชุมผู้ถือหุ้นหรือไม่ อีกทั้งเชื่อว่าคดีที่เกิดขึ้นดังกล่าวน่าจะใช้เวลาเป็นปี กว่าคดีจะสิ้นสุด”