ปตท.ร่วมทุนมิตซูบิชิ เคมิคอลฯตั้งโรงงานผลิตPBS ขนาด 2หมื่นตัน/ปี มูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดแล้วเสร็จปี 2556 เล็งลุยโครงการผลิตPLA เผยอยู่ระหว่างเจรจาหาพาร์ทเนอร์ คาดว่าได้ข้อสรุปในเร็วๆนี้ เมินIVL เล็งตั้งโรงงานPLA ในไทยแข่ง
นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ร่วมทุนกับบริษัท มิตซูบิชิ เคมิคอล คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนาเทคโลยีผลิตพลาสติกชีวภาพตั้งบริษัท พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม จำกัด เพื่อพัฒนาโครงการผลิต Polytylene Succinate (PBS)ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ขนาดกำลังการผลิต 2 หมื่นตัน/ปี ใช้เงินลงทุนประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานและแล้วเสร็จเชิงพาณิชย์ในปี 2556
การร่วมทุนดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจของกลุ่มปตท.ที่ต้องการก้าวสู่ธุรกิจพลาสติกชีวภาพ ซึ่งเป็นการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ในปี2554 บริษัทฯจะร่วมกับมิตซูบิชิฯในการทำการตลาดร่วมกันในภูมิภาคนี้ เนื่องจากราคาผลิตภัณฑพลาสติกย่อยสลายได้PBS มีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์พลาสติกทั่วไปหลายเท่าตัว โดยจะให้บริษัท พีทีที โพลิเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง (PTTPM) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านการตลาดและจำหน่ายเม็ดพลาสติกในเครือปตท. ให้เป็นผู้ทำการตลาดผ่านช่องทางสำนักงานจำหน่ายในต่างประทเศที่มีอยู่ทั้งจีน เวียดนามและดูไบ เบื้องต้นจะนำเข้าPBSจากญี่ปุ่นมาทดลองทำตลาดประมาณ3-4 พันตัน
นายปรัชญา กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯยังเจรจากับผู้พัฒนาเทคโนโลยีพลาสติกชีวภาพชนิดอื่นอาทิ PLA หลายราย เพื่อหาโอกาสความร่วมมือกันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการตั้งโรงงานผลิตPLAในไทย คาดว่าจะได้สรุปในเร็วๆนี้ ส่วนกณีที่บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)(IVL)เจรจาหาร่วมกับบริษัทย่อยในเครือพูแรค เพื่อสร้างโรงงานผลิตPolylactic Acid (PLA)ในไทยขนาด 1หมื่นตัน/ปีว่า
หากปตท.เห็นว่าการตั้งโรงงานPLA ขึ้นนั้น ไม่ได้มุ่งทำตลาดภายในประเทศ เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์เหล่านี้สูงกว่าราคาเม็ดพลาสติกทั่วไป ดังนั้นการทำตลาดจะเน้นส่งออก ขณะเดียวกันวัตถุดิบเพื่อใช้ในโครงการดังกล่าวก็เพียงพอถ้าจะตั้งโรงงาน 2แห่งได้ การตัดสินใจเข้าสู่ธุรกิจพลาสติกชีวภาพของปตท. เบื้องต้นจะรับรู้รายได้น้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้ทั้งเครือฯ แต่สาเหตุที่บริษัทให้ความสนใจในการลงทุนนั้น เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตสูงมากปีละกว่า 20%
นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ร่วมทุนกับบริษัท มิตซูบิชิ เคมิคอล คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนาเทคโลยีผลิตพลาสติกชีวภาพตั้งบริษัท พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม จำกัด เพื่อพัฒนาโครงการผลิต Polytylene Succinate (PBS)ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ขนาดกำลังการผลิต 2 หมื่นตัน/ปี ใช้เงินลงทุนประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานและแล้วเสร็จเชิงพาณิชย์ในปี 2556
การร่วมทุนดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจของกลุ่มปตท.ที่ต้องการก้าวสู่ธุรกิจพลาสติกชีวภาพ ซึ่งเป็นการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ในปี2554 บริษัทฯจะร่วมกับมิตซูบิชิฯในการทำการตลาดร่วมกันในภูมิภาคนี้ เนื่องจากราคาผลิตภัณฑพลาสติกย่อยสลายได้PBS มีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์พลาสติกทั่วไปหลายเท่าตัว โดยจะให้บริษัท พีทีที โพลิเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง (PTTPM) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านการตลาดและจำหน่ายเม็ดพลาสติกในเครือปตท. ให้เป็นผู้ทำการตลาดผ่านช่องทางสำนักงานจำหน่ายในต่างประทเศที่มีอยู่ทั้งจีน เวียดนามและดูไบ เบื้องต้นจะนำเข้าPBSจากญี่ปุ่นมาทดลองทำตลาดประมาณ3-4 พันตัน
นายปรัชญา กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯยังเจรจากับผู้พัฒนาเทคโนโลยีพลาสติกชีวภาพชนิดอื่นอาทิ PLA หลายราย เพื่อหาโอกาสความร่วมมือกันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการตั้งโรงงานผลิตPLAในไทย คาดว่าจะได้สรุปในเร็วๆนี้ ส่วนกณีที่บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)(IVL)เจรจาหาร่วมกับบริษัทย่อยในเครือพูแรค เพื่อสร้างโรงงานผลิตPolylactic Acid (PLA)ในไทยขนาด 1หมื่นตัน/ปีว่า
หากปตท.เห็นว่าการตั้งโรงงานPLA ขึ้นนั้น ไม่ได้มุ่งทำตลาดภายในประเทศ เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์เหล่านี้สูงกว่าราคาเม็ดพลาสติกทั่วไป ดังนั้นการทำตลาดจะเน้นส่งออก ขณะเดียวกันวัตถุดิบเพื่อใช้ในโครงการดังกล่าวก็เพียงพอถ้าจะตั้งโรงงาน 2แห่งได้ การตัดสินใจเข้าสู่ธุรกิจพลาสติกชีวภาพของปตท. เบื้องต้นจะรับรู้รายได้น้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้ทั้งเครือฯ แต่สาเหตุที่บริษัทให้ความสนใจในการลงทุนนั้น เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตสูงมากปีละกว่า 20%