สคร.เปิดแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ เร่งผลักดัน กม.ใหม่ แปลงรัฐวิสาหกิจให้เป็นนิติบุคคล ดูแลโครงการรถไฟความเร็วสูง ปรับปรุงหลักเกณฑ์การนำส่งรายได้ของรัฐ พร้อมระบายหลักทรัพย์กิจการเอกชนมูลค่ากว่า 3-4 พันล้าน ที่คลังถือครองออกลดภาระ ขณะที่ตั้งความหวังหลังดูงาน “ซาเกร็บ ซิติ้ โฮลดิ้ง” ของโครเอเชีย สามารถปรับใช้กับรัฐวิสาหกิจไทยในอนาคต
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ที่ผ่านมา นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ นายกุลิศ สมบัติศิริ ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ สคร.นำคณะผู้บริหารสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชม บริษัท ซาเกร็บ ซิตี้ โฮลดิ้ง จำกัด (Zagreb City Holding Ltd.) ณ ประเทศโครเอเชีย
การดูงานครั้งนี้ เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการบริษัท ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นในด้านการบริหารจัดการ การให้บริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนายอิโว โซวิค ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ให้การต้อนรับ
นายสมชัย กล่าวว่า การดูงานที่นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ สคร.มุ่งหวังที่จะนำประโยชน์ที่ได้กลับไปพัฒนารัฐวิสาหกิจไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะเดียวกัน ภายใต้แผน 5 ปีจากนี้ไป หากกฏหมายใหม่ที่ สคร.อยู่ระหว่างการผลักดันนี้แล้วเสร็จจะสามารถช่วยเหลือพัฒนาศักยภาพรัฐวิสาหกิจไทยได้มากขึ้น
อาทิ การแปลงรัฐวิสาหกิจให้เป็นนิติบุคคล เพื่อความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ เช่น โรงงานสุรา และ โรงงานไพ่ เป็นต้น
โครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่ง สคร.รับหน้าที่ผลักดันแทนกระทรวงคมนาคมเพื่อสอดรับกับ พ.ร.บ.ร่วมทุนใหม่ โดยอาจจะตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมารับผิดชอบดูแลให้คลังถือหุ้น 100%
หลักเกณฑ์การนำส่งรายได้ให้รัฐของบรรดารัฐวิสาหกิจ โดยกำลังศึกษาเพื่อปรับปรุงอัตราที่ควรจะเป็นเพราะที่ผ่านมาการนำส่งไม่ค่อยมีมาตรฐาน รวมทั้งต่อไปนี้จะมีข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้นเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์วางแผน
รวมถึงการบริหารจัดการในส่วน สคร.รับผิดชอบอยู่ อาทิ จะทำอย่างไรกับหลักทรัพย์กิจการเอกชนต่างๆที่กระทรวงการคลังถือครองอยู่ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าราว 3-4 พันล้านบาท เช่น บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด
“บางหลักทรัพย์เราก็ไม่จำเป็นต้องถือแล้ว ถ้ามีโอกาสดีเราก็จำหน่าย หรือ ทำดีลดิจิเจนท์ บางหลักทรัพย์เจ้าของเดิมก็ติดต่อสอบถามเข้ามาจะขอซื้อคืนก็มี” นายสมชัย กล่าว
นอกจากนี้ ตามกฎหมายใหม่ สคร.ได้การผลักดันให้มีกองทุน 2 กองทุน คือ กองทุนพัฒนาระบบรัฐวิสาหกิจ และ กองทุนบริหารหลักทรัพย์ของรัฐ ซึ่งเงินที่จะใช้ดำเนินการของกองทุนมาจากการหักเงินนำส่งของรัฐวิสาหกิจราวๆ 0.3-0.5%
“อนาคต สคร.อาจจะเป็นโฮลดิ้ง ซาเกร็บ โฮลดิ้ง ที่มาศึกษาดูงานครั้งนี้ถือว่าน่าสนใจระดับหนึ่ง ซึ่งการดำเนินงานของเขาคล้ายๆ กทม.บ้านเรา แต่หาก สคร.ทำคงเป็นโฮลดิ้งระดับชาติ การเมืองแทรกแซงได้น้อย เอกชนร่วมกิจการได้แค่บางอย่าง ซึ่งความจริงแล้วขณะนี้ สคร.ก็ทำเป็นขั้นๆ เช่น แยกหลักทรัพย์ออกมาบริหาร จากนั้นน่าจะแผนระยะยาวที่จะกระจายอำนาจออกไป หรือ รัฐบาลควรต้องใช้ สคร.เป็นเครื่องไม้เครื่องมือ เป็นคนกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ โดยอาจจะต้องใช้เวลานานกว่า 10 ปี หากจะทำ ซึ่ง สคร.มั่นใจว่า ถึงเวลานั้น สคร.มีประสบการณ์มีความพร้อมทั้งจากประสบการณ์และการศึกษาจากต่างประเทศ” ผอ.สคร. กล่าว
ด้าน นายอิโว โซวิค กล่าวถึง บริษัท ซาเกร็บ ซิติ้ โฮลดิ้ง ว่า ก่อตั้งเมื่อปัจจุบัน (ข้อมูล ณ ปี 2552) ทำรายได้กว่า 587 ล้านยูโร หรือ ประมาณ 24,654 ล้านบาท จากกิจการ 18 สาขา 6บริษัท และอีกหนึ่งสถาบัน ก่อตั้งเมื่อปี 2548 และเปลี่ยนชื่อมาเป็น ซาเกร็บ ซิตี้ โฮลดิ้ง เมื่อปี 2550 มีพนักงานรวมทั้งสิ้น 13,000 คน
ภายใต้การดำเนินการของโฮลดิ้งซึ่งเทศบาลเมืองซาเกร็บ ถือหุ้น 100% แบ่งออกเป็น 3 ส่วนธุรกิจ คือ 1.กิจการด้านขนส่ง เช่น รถรางสาธารณะ และบริการที่จอดรถ 2.กิจการด้านเทศบาล เช่น งานกำจัดขยะ สุสาน ตลาดสด การประปา การระบายน้ำ งานทำถนน 3.กิจการด้านการตลาด เช่น การบริหารสถานกีฬาและกิจกรรมกีฬา ศูนย์แสดงสินค้า สถานีขนส่งสินค้า รับเหมาก่อสร้างบ้าน โงงานผลิตยา เป็นต้น
“ไม่ทุกกิจการของซาเกร็บฯที่มีกำไร บางกิจการก็ขาดทุน เช่น กิจการด้านขนส่งมวลชน แต่รัฐบาลก็ให้การสนับสนุน รวมทั้งการบริหารจัดการจากกิจการอื่นมาช่วย ทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีแต่ใช้จ่ายน้อย” นายอิโว กล่าว
ซาเกร็บ ซิตี้ โฮลดิ้ง ถือว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโครเอเชีย ดูแลพลเมืองในกรุงซาเกร็บ ที่เป็นเมืองหลวงเมืองใหญ่ของประเทศกว่า 8 แสนคน โดยบริษัทมุ่งเน้นการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นหลัก และให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของคนพิการ เช่น การเลือกใช้รถราง รถบัสสาธารณะแบบช่วงล่างต่ำ
นอกจากนี้ การบริหารจัดการกิจการให้สอดคล้องกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การนำเอาไบโอดีเซลและแก๊สความดันสูงมาใช้กับรถโดยสารสาธารณะ เป็นต้น
ทั้งนี้ หากกล่าวถึงรถโดยสารสาธารณะภายใต้การดูแลของ ซาเกร็บ ซิติ้ โฮลดิ้ง แล้ว รถรางไฟฟ้าซาเกร็บ (Zagreb Electric Tram-ZET) นับเป็นหนึ่งในกิจการที่น่าสนใจยิ่ง
ZET ให้บริการขนส่งมวลชนในเมืองเป็นไปด้วยความคล่องตัวด้วยรถรางโดยสารวันละ 130 คนรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 94 ล้านคนต่อปี ขณะเดียวกัน ยังมี รถโรงเรียน ที่รับเฉพาะเด็กนักเรียนเป็นขบวนพิเศษกว่า 26 คัน
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ที่ผ่านมา นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ นายกุลิศ สมบัติศิริ ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ สคร.นำคณะผู้บริหารสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชม บริษัท ซาเกร็บ ซิตี้ โฮลดิ้ง จำกัด (Zagreb City Holding Ltd.) ณ ประเทศโครเอเชีย
การดูงานครั้งนี้ เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการบริษัท ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นในด้านการบริหารจัดการ การให้บริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนายอิโว โซวิค ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ให้การต้อนรับ
นายสมชัย กล่าวว่า การดูงานที่นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ สคร.มุ่งหวังที่จะนำประโยชน์ที่ได้กลับไปพัฒนารัฐวิสาหกิจไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะเดียวกัน ภายใต้แผน 5 ปีจากนี้ไป หากกฏหมายใหม่ที่ สคร.อยู่ระหว่างการผลักดันนี้แล้วเสร็จจะสามารถช่วยเหลือพัฒนาศักยภาพรัฐวิสาหกิจไทยได้มากขึ้น
อาทิ การแปลงรัฐวิสาหกิจให้เป็นนิติบุคคล เพื่อความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ เช่น โรงงานสุรา และ โรงงานไพ่ เป็นต้น
โครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่ง สคร.รับหน้าที่ผลักดันแทนกระทรวงคมนาคมเพื่อสอดรับกับ พ.ร.บ.ร่วมทุนใหม่ โดยอาจจะตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมารับผิดชอบดูแลให้คลังถือหุ้น 100%
หลักเกณฑ์การนำส่งรายได้ให้รัฐของบรรดารัฐวิสาหกิจ โดยกำลังศึกษาเพื่อปรับปรุงอัตราที่ควรจะเป็นเพราะที่ผ่านมาการนำส่งไม่ค่อยมีมาตรฐาน รวมทั้งต่อไปนี้จะมีข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้นเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์วางแผน
รวมถึงการบริหารจัดการในส่วน สคร.รับผิดชอบอยู่ อาทิ จะทำอย่างไรกับหลักทรัพย์กิจการเอกชนต่างๆที่กระทรวงการคลังถือครองอยู่ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าราว 3-4 พันล้านบาท เช่น บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด
“บางหลักทรัพย์เราก็ไม่จำเป็นต้องถือแล้ว ถ้ามีโอกาสดีเราก็จำหน่าย หรือ ทำดีลดิจิเจนท์ บางหลักทรัพย์เจ้าของเดิมก็ติดต่อสอบถามเข้ามาจะขอซื้อคืนก็มี” นายสมชัย กล่าว
นอกจากนี้ ตามกฎหมายใหม่ สคร.ได้การผลักดันให้มีกองทุน 2 กองทุน คือ กองทุนพัฒนาระบบรัฐวิสาหกิจ และ กองทุนบริหารหลักทรัพย์ของรัฐ ซึ่งเงินที่จะใช้ดำเนินการของกองทุนมาจากการหักเงินนำส่งของรัฐวิสาหกิจราวๆ 0.3-0.5%
“อนาคต สคร.อาจจะเป็นโฮลดิ้ง ซาเกร็บ โฮลดิ้ง ที่มาศึกษาดูงานครั้งนี้ถือว่าน่าสนใจระดับหนึ่ง ซึ่งการดำเนินงานของเขาคล้ายๆ กทม.บ้านเรา แต่หาก สคร.ทำคงเป็นโฮลดิ้งระดับชาติ การเมืองแทรกแซงได้น้อย เอกชนร่วมกิจการได้แค่บางอย่าง ซึ่งความจริงแล้วขณะนี้ สคร.ก็ทำเป็นขั้นๆ เช่น แยกหลักทรัพย์ออกมาบริหาร จากนั้นน่าจะแผนระยะยาวที่จะกระจายอำนาจออกไป หรือ รัฐบาลควรต้องใช้ สคร.เป็นเครื่องไม้เครื่องมือ เป็นคนกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ โดยอาจจะต้องใช้เวลานานกว่า 10 ปี หากจะทำ ซึ่ง สคร.มั่นใจว่า ถึงเวลานั้น สคร.มีประสบการณ์มีความพร้อมทั้งจากประสบการณ์และการศึกษาจากต่างประเทศ” ผอ.สคร. กล่าว
ด้าน นายอิโว โซวิค กล่าวถึง บริษัท ซาเกร็บ ซิติ้ โฮลดิ้ง ว่า ก่อตั้งเมื่อปัจจุบัน (ข้อมูล ณ ปี 2552) ทำรายได้กว่า 587 ล้านยูโร หรือ ประมาณ 24,654 ล้านบาท จากกิจการ 18 สาขา 6บริษัท และอีกหนึ่งสถาบัน ก่อตั้งเมื่อปี 2548 และเปลี่ยนชื่อมาเป็น ซาเกร็บ ซิตี้ โฮลดิ้ง เมื่อปี 2550 มีพนักงานรวมทั้งสิ้น 13,000 คน
ภายใต้การดำเนินการของโฮลดิ้งซึ่งเทศบาลเมืองซาเกร็บ ถือหุ้น 100% แบ่งออกเป็น 3 ส่วนธุรกิจ คือ 1.กิจการด้านขนส่ง เช่น รถรางสาธารณะ และบริการที่จอดรถ 2.กิจการด้านเทศบาล เช่น งานกำจัดขยะ สุสาน ตลาดสด การประปา การระบายน้ำ งานทำถนน 3.กิจการด้านการตลาด เช่น การบริหารสถานกีฬาและกิจกรรมกีฬา ศูนย์แสดงสินค้า สถานีขนส่งสินค้า รับเหมาก่อสร้างบ้าน โงงานผลิตยา เป็นต้น
“ไม่ทุกกิจการของซาเกร็บฯที่มีกำไร บางกิจการก็ขาดทุน เช่น กิจการด้านขนส่งมวลชน แต่รัฐบาลก็ให้การสนับสนุน รวมทั้งการบริหารจัดการจากกิจการอื่นมาช่วย ทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีแต่ใช้จ่ายน้อย” นายอิโว กล่าว
ซาเกร็บ ซิตี้ โฮลดิ้ง ถือว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโครเอเชีย ดูแลพลเมืองในกรุงซาเกร็บ ที่เป็นเมืองหลวงเมืองใหญ่ของประเทศกว่า 8 แสนคน โดยบริษัทมุ่งเน้นการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นหลัก และให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของคนพิการ เช่น การเลือกใช้รถราง รถบัสสาธารณะแบบช่วงล่างต่ำ
นอกจากนี้ การบริหารจัดการกิจการให้สอดคล้องกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การนำเอาไบโอดีเซลและแก๊สความดันสูงมาใช้กับรถโดยสารสาธารณะ เป็นต้น
ทั้งนี้ หากกล่าวถึงรถโดยสารสาธารณะภายใต้การดูแลของ ซาเกร็บ ซิติ้ โฮลดิ้ง แล้ว รถรางไฟฟ้าซาเกร็บ (Zagreb Electric Tram-ZET) นับเป็นหนึ่งในกิจการที่น่าสนใจยิ่ง
ZET ให้บริการขนส่งมวลชนในเมืองเป็นไปด้วยความคล่องตัวด้วยรถรางโดยสารวันละ 130 คนรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 94 ล้านคนต่อปี ขณะเดียวกัน ยังมี รถโรงเรียน ที่รับเฉพาะเด็กนักเรียนเป็นขบวนพิเศษกว่า 26 คัน