xs
xsm
sm
md
lg

LPNย้ำลูกค้าสบายใจกม.คุมทุกตึกรับแรงสั่น-2,700อาคารในกทม.เสี่ยง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

แอล.พี.เอ็น.ฯชี้กรณีแผ่นดินไหวในญี่ปุ่นนำมาเทียบเหตุแผ่นดินไหวในไทยไม่ได้ เหตุความรุนแรงต่างกันมาก ย้ำลูกค้าอาคารชุดคอนโดมิเนียมสบายใจได้ ระบุอาคารสูงที่ผ่านการขออนุญาติก่อสร้างตามกฎหมายควบคุมอาคารชุดปี2550มีการออกแบบโครงสร้างรองรับแรงสั่นทะเทือนจกแผ่นดินไหวตามข้อกำหนด ส.อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ หว่งอาคารสูงสร้างก่อนประกาศใช้กฎหมายเหตุม่ได้ออกแบบรองรับแรงสั่นสะเทือนตามกฎหมายควบคุอาคารชุด ขณะที่กทม.ตื่นตัวแรงออกสำรวจอาคารสูง ระบุกว่า2,700อาคารในกทม.มีโอกาสเสี่ยงแผ่นดินไหว เผย12อาคารสูงในกทม. ต้องตรวจสอบเป็นพิเศษพร้อมเดินหน้ายื่นเรื่องกรมโยธาฯดำเนินการร่าง พ.ร.บ.การแก้ไขอาคารเก่า

กรณีการเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัตแผ่นดินไหว ซึ่งมีแรงสั่นสะเทือนสูงถึง8.9ริกเติอร์ในประเทศญี่ปุ่น จนส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิที่สร้างความเสียหายในจังหวัดฟุกุชิมะ จังหวัดใกล้เคียง และเกิดการกระจายของกัมตภาพรังษี จากการระบิดของโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังนิวเครีย ซึ่งส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอย่างหนัก ทำให้หลายๆประเทศตระหนักถึงพิบัติภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหวมากขึ้น

ต่อมาเมื่อเวลาประมาณ 12.57 น. ของวันนี้ (26 มีนาคม) ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศลาว ซึ่งสามารถวัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.8 ริกเตอร์ ห่างจากจังหวัดเชียงราย102 ก.ม.ทำให้แรงสั่นสะเทือนไปทั่วภาคเหนือของประเทศไทย การเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้นับเป็นการเกิดแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง ในเขต 3 เหลี่ยมทองคำ หลังจาก เมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา เพิ่งจะเกิดแผ่นดินไหว 7.0 ริกเตอร์ ในเขตประเทศพม่า และรับรู้ได้ถึงประเทศไทย นอกจากแผ่นดินไหวที่ลาวแล้ว ยังมีรายงานด้วยว่า ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ได้เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศพม่า ขนาด 5.2 ริกเตอร์ ห่างจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 60 กิโลเมตร

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดการตื่นตัวของหน่วยงานภาครัฐต่อกรณีการเกิดเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งจากความกังวลดังกล่าวส่งผลให้ล่าสุด กทม. เฝ้าระวัง 12 ตึกสูงที่มีความเสี่ยงใกล้ชุมชน และยอมรับ เป็นห่วงอาคารเก่าที่สร้างก่อนปี 2550 จะพังลงมาจากเหตุแผ่นดินไหว พร้อมเร่งร่างพ.ร.บ.แก้ไขอาคารเก่าให้รองรับแรงสั่นสะเทือนกว่า 5 ริกเตอร์

นายโอภาส ศรีพยัฆค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยอาคารชุดคอนโดมิเนียมรายใหญ่ของประเทศ กล่าวว่า กรณีการเกิดเหตุแผ่นดินไหวในญี่ปุ่ญ ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบ กับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนของการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งแรงสั่นะเทือนดังกล่าวขยายตัวมาถึงประเทศไทยได้ เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช้จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว และแรงสั่นสะเทือนที่ได้รับค่อนข้างน้อย ซึ่งสามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้เฉพาะผู้อยู่อาศัยอาคารสูงเท่านั้น

ทั้งนี้ ความกังวลด้านความปลอดภัยในการอยู่อาศัยในอาคารสูงที่เกิดขึ้นตามกระแสข่าว ซึ่งส่งผลให้เกิดความกังวลในกลุ่มผู้ซื้อห้องชุดดังกล่าว นั้นบริษัทยืนยันว่าปัจจุบันผู้บริโภคที่อยู่อาศัยในอาคารสูงที่มีการขออนุญาติก่อสร้างตามระเบียบ และกฎหมายควบคุมอาคารชุดนั้น สามารถอยู่อาศัยในห้องชุดอาคารสูงได้อย่างปลอดภัยแน่นอน เนื่องจากในการข้อกำหนดในการขออนุญาติก่อสร้าง กฎหมายควบคุมอาคารชุดนั้นมีการกำหนดว่าต้องมีการออกแบบให้โครงสร้างอาคารสามารถต้านรับแรงสั่นไหวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในระดับที่กฎหมายกำหนดไว้ในแต่ละพื้นที่เขตการก่อสร้างอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว

“กรณีที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นอาจ สร้างความกัวงวลแก่ผู้อยู่อาศัยในอาคารสูงในประเทศไทย แต่ยืนยันว่าแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหวในประเทศไทยนั้นอยู่ในระดับต่ำ ไม่สามารถนำกรร๊ที่เกิดในญี่ปุ่นมาเปรียบเทียบได้ แต่อย่างไรก็ตามหากหน่วยงานรัฐบาลที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านงานก่อสร้าง มีข้อกังวลและจะมีการแก้ไขข้อกำหนดในเรื่องการออกแบบโครงสร้างอาคารในอนาคตให้สามารถรองรับแรงสั่นไหวในอนาคตให้สูงกว่าในปัจจุบันบริษัทก็พร้อมที่จะดำเนินการ แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่าการออกแบบโครงกสร้างอาคารที่เผือนการรองรับการสั่นไหว่ของแผนดินที่สูงขึ้นก็จะกระทบต่อต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นได้”

ด้านนายกฤษดา จันทร์จำรัสแสง เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชุปถัมภ์ กล่าวว่า ด้านความปลอดภัยในการอยู่อาศัยในอาคารสูงขนาดใหญ่นั้น ถือว่ามีความปลอดภัยระดับหนึ่งเพราะมีข้อกำหนดตามกฎหมายการก่อสร้างอาคารที่กำหนดให้มีการออกแบบอาคารให้สามารถรอวงรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ระดับหนึ่ง แต่จะกำหนดไว้ให้รองรับได้กี่ริกเตอร์นั้นขึ้นอยูก่อข้อกำหนดในแต่ละเขตพื้นที่วึ่งมีความสั่นไหวแตกต่างกันไป

ทั้งนี้อาคารที่มีการขออนุญาติก่อสร้างตั้งแต่ปี2550 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคารชุด นั้นไม่น่าเป็นห่วงเพราะมีการออกแบบให้รองรับแรงสั่นไหวตามข้อกำหนดในกฎหมายอยู่แล้ว แต่อาคารที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มอาคารสูงที่มีการก่อสร้างก่อนปีที่มีการประกาศบังคับใช้กฎหมานควบคุมอาคารชุด เนื่องจากไม่ได้มีการออกแบบใหรองรับแรงสั่นสะเทือนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้นกลุ่มอาคารที่มีการก่อสร้างการการประกาศบังคับใช้กฎหมายควบคคุมอาคารชุด จึงเป็นกลุ่มที่มีความสุ่มเสี่ยงหากเกิดกรณีแผ่นดินไหวขึ้น

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ผู้บริหารของ กทม. ได้เร่งตรวจสอบความเสียหายของตึกสูงต่าง ๆ กว่า 60 อาคาร อาทิ ตึกใบหยก โรงแรมดุสิตธานี ศูนย์การค้ามาบุญครอง รวมถึงอาคารพาณิชย์ในย่านสาทร สีลมและ ถ.วิทยุ เป็นต้น แต่ก็ไม่ พบถึงความผิดปกติ ทั้งนี้ จากการตรวจสอบอาคารในกรุงเทพมหานครนั้น พบว่า มี 12 อาคารที่ทาง กทม.ต้องเข้าไปตรวจสอบเป็นพิเศษ เพราะอยู่ในพื้นที่ใกล้ชุมชน ย่านธุรกิจ และที่สาธารณะ แต่ไม่ได้หมายความว่าตึกเหล่านี้ไม่ปลอดภัย โดยตึกทั้ง 12 แห่ง ได้แก่ 1. อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์ 30 ชั้น 2.อาคารชุดเฟิร์สทาวเวอร์ 22 ชั้น 3.ศูนย์การค้ามาบุญครอง 29 ชั้น 4.ออลซีซั่นส์ พร็อพเพอร์ตี้ 53 ชั้น จำนวน 1 หลัง 5.อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ 58 ชั้น6.อาคารชัยทาวเวอร์ 30 ชั้น 7.อาคารเบญจจินดา 36 ชั้น 8.อาคารชินวัฒน์ 3 32 ชั้น 9.อาคารไอทาวเวอร์ ตึก 32 ชั้น10.อาคารธนาคารทหารไทย ตึก 34 ชั้น 11.อาคารซันทาวเวอร์ จำนวน 40 ชั้น 1 หลัง 12. อาคารซันทาวเวอร์ จำนวน 34 ชั้น 1 หลัง

โดยนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2550 ระบุชัดเจนว่าอาคารสูงกว่า 23 เมตร หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ พื้นที่มากกว่า 10,000 ตารางเมตร โครงสร้างของอาคารจะต้องสามารถรับแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหวได้ ตั้งแต่ 5 ริกเตอร์ขึ้นไป รวมทั้งตัวอาคารจะต้องมีสิ่งยึดกับ กระจกหรือโครงสร้างภายนอก เพื่อป้องกันการปลิวจากแรงลม ซึ่งอาคารที่สร้างก่อน ปี 2550 มีจำนวนกว่า 2,000 แห่ง ที่มีความเสี่ยง หากได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

ทั้งนี้ ทางกทม. จะดำเนินการร่าง พ.ร.บ.การแก้ไขอาคารเก่า และเพิ่มในส่วนของการติดตั้งไฟสำรอง และสร้างทางหนีไฟ เพื่อเคลื่อนย้ายประชาชนได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยเตรียมเสนอต่อกรมโยธาธิการและผังเมือง ให้พิจารณาอนุมัติต่อไป

ทางด้านนายจุมพล สำเภาพล ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กล่าวว่า เดิมทีพื้นที่ในเขต กทม. ไม่ได้เป็นพื้นที่ระวังภัยเหตุแผ่นดินไหว แต่เนื่องมาจากเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ทางกทม. มีการร่าง พ.ร.บ.การสร้างอาคาร ในปี 2550 โดยอาคารสูงจะต้องสร้างให้รับแรงสั่นทะเทือนจากแผ่นดินไหว 5 ริกเตอร์ขึ้นไป แต่ยังเป็นห่วง อาคารและตึกเก่าที่อาจจะได้รับผลกระทบ

สำหรับมาตรการรับมือแผ่นดินไหวของอาคารสูงในกทม.นั้น นายพรเทพ กล่าวว่า กทม.ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารสูง เพื่อตรวจสอบและประชาสัมพันธ์เพื่อให้เจ้าของอาคารมีการวางแผนรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยในสัปดาห์หน้า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. จะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักการโยธา ฝ่ายป้องกันภัย เพื่อประชุมให้มีความพร้อมจะรับมือหากแผ่นดินไหวมีผลกระทบในกทม. ซึ่งอดีตที่ผ่านมาหลายคนเห็นว่า กทม.ไม่ได้อยู่ในแนวแผ่นดินไหว แต่จากนี้ก็ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติอะไรขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม อาคารสูงในพื้นที่อาจได้รับผลกระทบหากเกิดแผ่นดินไหวในกทม.มีกว่า 2,700 แห่ง และมีตึกที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษ 12อาคาร ซึ่งกทม.จะเข้าไปตรวจสอบเป็นพิเศษ เพราะอาคารเหล่านี้ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นอาคารที่รู้สึกได้หากมีแผ่นดินไหว ซึ่งกทม.จะเข้าไปตรวจสอบความมั่นคง ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว จากนั้นวันนี้ ( 28 มี.ค)จะส่งเจ้าหน้าที่ชุดใหญ่เข้าไปตรวจสอบอีกครั้ง ซึ่งไม่ได้หมายความว่าอาคารเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหาย แต่เป็นการตรวจโครงสร้างอาคารเพื่อความมั่นใจของประชาชน

ส่วนอาคารหลายแห่งที่มีการสร้างก่อนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2550 บังคับใช้ ซึ่งก่อนหน้านี้กฎหมายได้ควบคุมให้อาคารเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อรองรับเรื่องพายุ เพราะพายุที่จะเกิดขึ้นในกทม.จะมีระดับความรุนแรงไม่มาก ดังนั้นอาคารเหล่านี้มีความสามารถพอที่จะรองรับการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้ เพราะพลังของพายุกับแรงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในกทม.มีลักษณะใกล้เคียงกัน เพราะการก่อสร้างอาคารเหล่านี้มีความสามารถส่วนหนึ่งที่จะรองรับคลื่นแผ่นดินไหวในระดับหนึ่งได้

รายงานข่าวจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคาระห์ เปิดเผยว่า ข้อมูลที่อยู่อาศัยส้รางเสร็จจดทะเบียนใหม่ในพื้นที่กทม.-ปริมณฑล 5จังหวัดประกอบด้วย นนททบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม ในช่วง10เดือนแรกของปี 2553 พบว่ามีจำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนใหม่ทุกประเภทรวม 80,000 หน่วย เพิ่มขึ้จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งมีจำนวนหน่วย 72,950หน่วยกว่า10% แบ่งออกเป้ฯที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนในกทม. 46,800หน่วย และเขตพื้นที่ปริมณฑล 33,200หน่วย

ทั้งนี้ ในจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนใหม่ทั้งหมดในรอบ10เดือนแรกของปี2553 แบ่งออกเป็นห้องชุดคอนโดมิเนียม40,850หน่วย บ้านเดี่ยว 25,300หน่วย ทางวน์เฮ้าส์ 11,100หน่วย อาคารพาณิชย์ 1,800หน่วย และบ้านแฝด950หน่วย โดยในกลุ่มที่อยู่อาศัยทั้งหมดนี้ในส่วนที่จะได้รับผลกระทบจากความกังวลที่เกิดขึ้นจากปัญหาแผ่นดินไหวคือกลุ่มที่อยู่อาศัยประเภมห้องชุดคอนโดมิเนียม
กำลังโหลดความคิดเห็น