ผู้ว่าแบงก์ชาติเผยเหตุการณ์ในญี่ปุ่นส่งผลกระทบภาคส่งออกไทย แต่ยังไม่มีการถอนการลงทุน เงินทุนไหลเข้าออกไทยยังไม่มีอะไรผิดปกติ เผยเงินบาทที่แข็งค่าสัปดาห์ก่อนเกิดจากบริษัทส่งออกบางรายหัวใส ใช้จังหวะเงินเยนแข็งนำออกมาขายทำกำไร
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.ติดตามสถานการณ์และผลกระทบจากญี่ปุ่น แต่ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินเหตุการณ์สึนามิและแผ่นดินไหวจะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากข้อมูลในหลายส่วนยังไม่นิ่ง อีกทั้งมีปัจจัยเสี่ยงใหม่ในการแพร่กระจายสารกัมมันตรังสี
ทั้งนี้ จากการประเมินเบื้องต้นพบว่า การลงทุนยังไม่ได้รับผลกระทบ ทำให้ผลกระทบโดยรวมต่อเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ยังไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นด้านการส่งออกไทยอาจได้รับผลกระทบบ้าง โดยเฉพาะภาคส่วนที่ต้องอาศัยอะไหล่ ชิ้นส่วน หรือการค้าขายโดยตรงกับโรงงานในญี่ปุ่น ซึ่งขณะนี้ปิดโรงงานหลายแห่ง
“สัปดาห์ก่อนค่าเงินบาทแข็งค่าบ้าง แต่เกิดจากเหตุเฉพาะที่มีบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออกบางแห่งรอจังหวะที่เงินเยนแข็งค่าแล้วนำออกมาขาย เพื่อเก็งกำไร แต่เรื่องนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง และมองว่าการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทโดยรวมยังเป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานและศักยภาพในการเติบโตเศรษฐกิจของไทยเทียบกับกลุ่มประเทศ G3 มากกว่า ทำให้ผลกระทบจากสถานการณ์ของประเทศญี่ปุ่นไม่มากนัก จึงมองว่าเงินทุนไหลเข้าออกไทยในขณะนี้ยังไม่มีอะไรผิดปกติ”
สำหรับกรณีที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจะมีผลต่อแรงกดดันค่าเงินบาทอย่างไรบ้างนั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า การดำเนินการของธนาคารกลางดังกล่าวเกิดจากความจำเป็นที่พยายามดูแลระบบเศรษฐกิจและประคับประคองสถานการณ์ต่อไป แต่แรงกดดันน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะประเด็นที่หลายฝ่ายเป็นห่วงเรื่องแรงกดดันบริษัทประกันภัยในการขายพันธบัตรต่างประเทศออกมา เพื่อนำเงินกลับไปช่วยเหลือประเทศญี่ปุ่น
“เดิมทีหลายฝ่ายประเมินว่า บริษัทประกันภัยต่างๆ จะมีการขายพันธบัตรต่างประเทศ เพื่อนำเงินกลับมามาชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่สุดท้ายบริษัทประกันภัยมีพันธบัตรรูปเงินเยนเพียงพอ และบริษัทประกันภัยได้ทำข้อตกลงระบบ Reinsuranceไว้กับรัฐบาลญี่ปุ่นไว้แล้ว หากเกิดความเสียหายเกินขีดจำกัด นอกจากนี้ขณะนี้ยังมีความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศ G7
ในการเข้าไปแทรกแซงตลาด ทำให้แรงกดดันค่าเงินเยนแข็งค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐไม่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้”
นอกจากนี้ เท่าที่ ธปท.ประเมินด้านสถาบันการเงินก็ได้รับผลกระทบไม่มากนัก โดยกรณีสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยทุกแห่งที่ตั้งอยู่ในญี่ปุ่นไม่ได้รับความเสียหาย เพราะห่างไกลจากพื้นที่ที่มีปัญหา ทำให้ธุรกิจยังคงดำเนินได้อย่างปกติอยู่ เช่นเดียวกับสถาบันการเงินของญี่ปุ่นที่ตั้งสาขาในไทยไม่ได้รับความเสียหายและยังคงดำเนินการตามปกติ อย่างไรก็ตาม
หากเกิดเหตุจำเป็นหรือฉุกเฉิน ธปท.พร้อมที่จะยืดหยุ่นหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการช่วยเหลือต่อไป
สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินก็ยังคงจะติดตามสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารต่างๆ ขณะที่กรอบนโยบายการเงินที่ยืดหยุ่นเชื่อว่าจะสามารถรองรับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ และในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 20 เม.ย.นี้ จะนำปัจจัยประเด็นสถานการณ์ในญี่ปุ่นเข้าพิจารณาด้วย
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.ติดตามสถานการณ์และผลกระทบจากญี่ปุ่น แต่ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินเหตุการณ์สึนามิและแผ่นดินไหวจะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากข้อมูลในหลายส่วนยังไม่นิ่ง อีกทั้งมีปัจจัยเสี่ยงใหม่ในการแพร่กระจายสารกัมมันตรังสี
ทั้งนี้ จากการประเมินเบื้องต้นพบว่า การลงทุนยังไม่ได้รับผลกระทบ ทำให้ผลกระทบโดยรวมต่อเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ยังไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นด้านการส่งออกไทยอาจได้รับผลกระทบบ้าง โดยเฉพาะภาคส่วนที่ต้องอาศัยอะไหล่ ชิ้นส่วน หรือการค้าขายโดยตรงกับโรงงานในญี่ปุ่น ซึ่งขณะนี้ปิดโรงงานหลายแห่ง
“สัปดาห์ก่อนค่าเงินบาทแข็งค่าบ้าง แต่เกิดจากเหตุเฉพาะที่มีบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออกบางแห่งรอจังหวะที่เงินเยนแข็งค่าแล้วนำออกมาขาย เพื่อเก็งกำไร แต่เรื่องนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง และมองว่าการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทโดยรวมยังเป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานและศักยภาพในการเติบโตเศรษฐกิจของไทยเทียบกับกลุ่มประเทศ G3 มากกว่า ทำให้ผลกระทบจากสถานการณ์ของประเทศญี่ปุ่นไม่มากนัก จึงมองว่าเงินทุนไหลเข้าออกไทยในขณะนี้ยังไม่มีอะไรผิดปกติ”
สำหรับกรณีที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจะมีผลต่อแรงกดดันค่าเงินบาทอย่างไรบ้างนั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า การดำเนินการของธนาคารกลางดังกล่าวเกิดจากความจำเป็นที่พยายามดูแลระบบเศรษฐกิจและประคับประคองสถานการณ์ต่อไป แต่แรงกดดันน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะประเด็นที่หลายฝ่ายเป็นห่วงเรื่องแรงกดดันบริษัทประกันภัยในการขายพันธบัตรต่างประเทศออกมา เพื่อนำเงินกลับไปช่วยเหลือประเทศญี่ปุ่น
“เดิมทีหลายฝ่ายประเมินว่า บริษัทประกันภัยต่างๆ จะมีการขายพันธบัตรต่างประเทศ เพื่อนำเงินกลับมามาชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่สุดท้ายบริษัทประกันภัยมีพันธบัตรรูปเงินเยนเพียงพอ และบริษัทประกันภัยได้ทำข้อตกลงระบบ Reinsuranceไว้กับรัฐบาลญี่ปุ่นไว้แล้ว หากเกิดความเสียหายเกินขีดจำกัด นอกจากนี้ขณะนี้ยังมีความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศ G7
ในการเข้าไปแทรกแซงตลาด ทำให้แรงกดดันค่าเงินเยนแข็งค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐไม่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้”
นอกจากนี้ เท่าที่ ธปท.ประเมินด้านสถาบันการเงินก็ได้รับผลกระทบไม่มากนัก โดยกรณีสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยทุกแห่งที่ตั้งอยู่ในญี่ปุ่นไม่ได้รับความเสียหาย เพราะห่างไกลจากพื้นที่ที่มีปัญหา ทำให้ธุรกิจยังคงดำเนินได้อย่างปกติอยู่ เช่นเดียวกับสถาบันการเงินของญี่ปุ่นที่ตั้งสาขาในไทยไม่ได้รับความเสียหายและยังคงดำเนินการตามปกติ อย่างไรก็ตาม
หากเกิดเหตุจำเป็นหรือฉุกเฉิน ธปท.พร้อมที่จะยืดหยุ่นหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการช่วยเหลือต่อไป
สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินก็ยังคงจะติดตามสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารต่างๆ ขณะที่กรอบนโยบายการเงินที่ยืดหยุ่นเชื่อว่าจะสามารถรองรับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ และในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 20 เม.ย.นี้ จะนำปัจจัยประเด็นสถานการณ์ในญี่ปุ่นเข้าพิจารณาด้วย