บลจ.เอ็มเอฟซียิ้มออก ผ่านไป5ปี กองทุนสึนามิฟันด์อุ้มผู้ประกอบการฟื้นแล้วกว่า 10 บริษัท เดินหน้าติดตามผลงานต่อ จนจบกองทุนอีก5ปี
นาง โศภิดา ลู่วีระพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโสบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้บริหารจัดการกองทุนสึนามิ รีคัฟเวอรี่ฟันด์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการที่จังหวัดพังงา กระบี่และภูเก็ตที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในไทยเมื่อปลายปี 2547 ฟื้นตัวขึ้นแล้ว จากจำนวน 20 บริษัทที่ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุน ปัจจุบันเหลือเพียง 9 บริษัทที่ยังอยู่ในโครงการและมีเพียง 2 รายที่ยังมีปัญหาในการดำเนินธุรกิจ
ปัจจุบัน ผู้ประกอบการได้นำเงินมาคืนแก่กองทุนแล้ว ทำให้ขนาดกองทุนจาก 2,700 ล้านบาท ปัจจุบันลดลงเหลือ 1,274 ล้านบาท โดยเงินที่ได้รับมานั้นเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนซึ่งเป็น ผู้ลงทุนสถาบันที่เข้ามาช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ประกอบการฟื้นตัวได้”นางโศภิดา กล่าว
นาง โศภิดา กล่าวว่า กองทุนสึนามิขึ้นปีที่ 6 ที่จัดตั้งกองทุนเมื่อปี 2548 ดังนั้นผู้ประกอบการที่ยังขอความช่วยเหลือจากกองทุนต้องใช้อัตราดอกเบี้ยลอย ตัว MLR ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 3 แห่งตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้กองทุนมีอายุ 10 ปี โดย 5 ปีแรกที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1% เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบ ขณะที่ผู้ประกอบการที่ออกจากโครงการไปแล้วก็ไปรีไฟแนนซ์กับธนาคารพาณิชย์ต่อ
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ประกอบการที่ยังมีปัญหาประมาณ 2 รายนั้นพบว่าเกิดจากการบริหารจัดการของบริษัทเอง ในขณะที่ภาพรวมของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฟื้นตัวขึ้นแล้ว โดยในส่วนของบลจ.เอ็มเอฟซียังไม่ได้เข้าไปพบ เนื่องจากผู้ประกอบการมีเจ้าหนี้ร่วมรายอื่นด้วยจึงต้องเข้าไปหารือพร้อมกัน โดยวงเงินที่มีปัญหาคิดเป็นประมาณ 400 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าที่กองทุนประเมินสินทรัพย์ของผู้ประกอบการไว้อยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาท
" การเข้าไปชวยเหลือแล้วเขาฟื้นได้ ก็ภูมิใจที่ได้ช่วยคนที่แย่มากให้ดีขึ้น ซึ่งกองทุนนี้เอ็มเอฟซีก็ไม่ได้ค่าบริหารจัดการและการไปพบผู้ประกอบการทุกๆ 6 เดือนเพื่อติดตามผลเราก็เป็นคนจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ เอง ซึ่งเป็นโครงการช่วยชาติ ซึ่งผู้ประกอบการที่ขอรับความช่วยเหลือก็เป็นคนพื้นที่ๆประสบปัญหาภัยพิบัติ และมีความตั้งใจในการทำธุรกิจและคืนเงิน”นางโศภิดา กล่าว
สำหรับ รายชื่อโรงแรมที่ไถ่ถอนหุ้นกู้ครบทั้งจำนวนเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ 1. บริษัท บ้านร่มไม้ชายเล 2. บริษัท พาวิลเลียน บีช รีสอร์ท 3. บริษัท มุกดารา บีช รีสอร์ท 4. บริษัท เขาหลัก ปาล์มบีช รีสอร์ท 5. บริษัท บ้านเขาหลัก 6. บริษัท ปะการัง รีสอร์ท 7. บริษัท บุณฑริกา วิลล่า 8. บริษัท เขาหลัก เบย์ฟรอนท์ รีสอร์ท และ9. บริษัท ทรีดอลฟินซ์ รีสอร์ท
นาง โศภิดา กล่าวว่า ถึงแม้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะพื้นตัวขึ้นแล้วบริษัทก็ได้เข้าไปให้ ความรู้และนำเสนอการระดมทุนผ่านการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ได้รับความสนใจ อีกทั้งผู้ประกอบการมีขนาดสินทรัพย์ตั้งแต่ 15-300 ล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการที่สนใจตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่จะเป็นโรงแรม ระดับ 5 ดาวมากกว่า
นาง โศภิดา ลู่วีระพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโสบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้บริหารจัดการกองทุนสึนามิ รีคัฟเวอรี่ฟันด์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการที่จังหวัดพังงา กระบี่และภูเก็ตที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในไทยเมื่อปลายปี 2547 ฟื้นตัวขึ้นแล้ว จากจำนวน 20 บริษัทที่ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุน ปัจจุบันเหลือเพียง 9 บริษัทที่ยังอยู่ในโครงการและมีเพียง 2 รายที่ยังมีปัญหาในการดำเนินธุรกิจ
ปัจจุบัน ผู้ประกอบการได้นำเงินมาคืนแก่กองทุนแล้ว ทำให้ขนาดกองทุนจาก 2,700 ล้านบาท ปัจจุบันลดลงเหลือ 1,274 ล้านบาท โดยเงินที่ได้รับมานั้นเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนซึ่งเป็น ผู้ลงทุนสถาบันที่เข้ามาช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ประกอบการฟื้นตัวได้”นางโศภิดา กล่าว
นาง โศภิดา กล่าวว่า กองทุนสึนามิขึ้นปีที่ 6 ที่จัดตั้งกองทุนเมื่อปี 2548 ดังนั้นผู้ประกอบการที่ยังขอความช่วยเหลือจากกองทุนต้องใช้อัตราดอกเบี้ยลอย ตัว MLR ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 3 แห่งตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้กองทุนมีอายุ 10 ปี โดย 5 ปีแรกที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1% เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบ ขณะที่ผู้ประกอบการที่ออกจากโครงการไปแล้วก็ไปรีไฟแนนซ์กับธนาคารพาณิชย์ต่อ
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ประกอบการที่ยังมีปัญหาประมาณ 2 รายนั้นพบว่าเกิดจากการบริหารจัดการของบริษัทเอง ในขณะที่ภาพรวมของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฟื้นตัวขึ้นแล้ว โดยในส่วนของบลจ.เอ็มเอฟซียังไม่ได้เข้าไปพบ เนื่องจากผู้ประกอบการมีเจ้าหนี้ร่วมรายอื่นด้วยจึงต้องเข้าไปหารือพร้อมกัน โดยวงเงินที่มีปัญหาคิดเป็นประมาณ 400 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าที่กองทุนประเมินสินทรัพย์ของผู้ประกอบการไว้อยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาท
" การเข้าไปชวยเหลือแล้วเขาฟื้นได้ ก็ภูมิใจที่ได้ช่วยคนที่แย่มากให้ดีขึ้น ซึ่งกองทุนนี้เอ็มเอฟซีก็ไม่ได้ค่าบริหารจัดการและการไปพบผู้ประกอบการทุกๆ 6 เดือนเพื่อติดตามผลเราก็เป็นคนจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ เอง ซึ่งเป็นโครงการช่วยชาติ ซึ่งผู้ประกอบการที่ขอรับความช่วยเหลือก็เป็นคนพื้นที่ๆประสบปัญหาภัยพิบัติ และมีความตั้งใจในการทำธุรกิจและคืนเงิน”นางโศภิดา กล่าว
สำหรับ รายชื่อโรงแรมที่ไถ่ถอนหุ้นกู้ครบทั้งจำนวนเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ 1. บริษัท บ้านร่มไม้ชายเล 2. บริษัท พาวิลเลียน บีช รีสอร์ท 3. บริษัท มุกดารา บีช รีสอร์ท 4. บริษัท เขาหลัก ปาล์มบีช รีสอร์ท 5. บริษัท บ้านเขาหลัก 6. บริษัท ปะการัง รีสอร์ท 7. บริษัท บุณฑริกา วิลล่า 8. บริษัท เขาหลัก เบย์ฟรอนท์ รีสอร์ท และ9. บริษัท ทรีดอลฟินซ์ รีสอร์ท
นาง โศภิดา กล่าวว่า ถึงแม้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะพื้นตัวขึ้นแล้วบริษัทก็ได้เข้าไปให้ ความรู้และนำเสนอการระดมทุนผ่านการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ได้รับความสนใจ อีกทั้งผู้ประกอบการมีขนาดสินทรัพย์ตั้งแต่ 15-300 ล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการที่สนใจตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่จะเป็นโรงแรม ระดับ 5 ดาวมากกว่า