ซิงเกอร์ประเทศไทยคาดกำไรปีนี้เกิน 100 ล้านบาท แม้มาร์จิ้นหด เชื่อยอดขายเพิ่มขึ้นแตะ 2,300-2,400 ล้านบาท เผยไตรมาสแรกปีนี้เติบโตเกือบ 20% จากปี 52 โตของภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่สูง ขณะที่ตู้แช่เบียร์ลูกค้าตอบรับดี อัดงบ 150 ล้านบาทขยายสาขารุกโฆษณา ขณะบริการสินเชื่อเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้ก๊าซทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง คาดได้ข้อสรุปไตรมาส 2 ปีนี้
นายบุญยง ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย หรือ SINGER คาดว่าในปี 54 จะมีกำไรเกินกว่า 100 ล้านบาทสูงขึ้นจากปีก่อนตามรายได้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2,300-2,400 ล้านบาทในปีนี้หรือเติบโต 15% จากปีก่อนที่มีรายได้ 2,100 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิเกือบ 90 ล้านบาท โดยช่วงไตรมาส แรกปีนี้ บริษัทมีรายได้เติบโตเกือบ 20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจ และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่สูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตร และ SINGER คาดว่ายอดเก็บค่าชำระปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 91% ของบัญชีลูกค้ารวม เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ระดับ 87.40% และบริษัทจะพยายามรักษาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)ไว้ที่ต่ำกว่า 5% เท่ากับปีก่อน
สำหรับปีนี้คาดว่าสินค้าสำหรับตลาดประเภทร้านค้าจะมีแนวโน้มเติบโตสูง แม้จะมีอัตรากำไรขั้นต้น(มาร์จิ้น) 38-40% ต่ำกว่าสินค้าสำหรับตลาดประเภทครัวเรือนที่มีมาร์จิ้นประมาณ 45% แต่ราคาขายมีมูลค่าสูงกว่าเฉลี่ย 4-5 หมื่นบาท ขณะสินค้าสำหรับครัวเรือนราคาขายเฉลี่ยอยู่ 1-2 หมื่นบาท ส่วนอัตราส่วนกำไรขั้นต้น(gross margin)ของบริษัทปีนี้อาจจะลดลงเหลือ 50% จาก 59% ในปีก่อนแต่จะรักษาอัตราส่วนกำไรสุทธิ (net margin) ไว้ที่ระดับ 6% เนื่องจากเชื่อว่าปริมาณการสั่งสินค้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศที่มีเพิ่มขึ้นทำให้สามารถซื้อสินค้าซึ่งเป็นต้นทุนได้ต่ำลง
" สินค้าที่ขายให้ร้านค้ามีแนวโน้มโตสูงและมีมูลค่าสูง ขณะที่สินค้าพวกนี้ไม่ค่อยมีคู่แข่ง อย่างเช่นตู้แช่เบียร์ที่เริ่มขาเมื่อเดือนมกราคมก็มียอดขายเฉลี่ยต่อเดือน 100 ตู้ ระยะยาวก็น่าดีกว่านี้ ส่วนตู้เติมเงินมือถือปีนี้ก็น่าจะขายได้ 800-900 ตู้ต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 400 ตู้ต่อเดือน ตู้แช่เครื่องดื่มก็น่าจะอยู่ที่ 1,100 ตู้ต่อเดือน " นายบุญยงกล่าว
ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าสัดส่วนบัญชีลูกค้าร้านค้าปีนี้จะปรับขึ้นมาเป็น 35% จากปีก่อนอยู่ที่ 25% ส่วนบัญชีลูกค้าครัวเรือนจะลดสัดส่วนลงเหลือ 65% จากปีก่อนอยู่ที่ 75% และเชื่อว่าภายในอีก 2 ปีข้างหน้า สัดส่วนบัญชีลูกค้าร้านค้าจะเพิ่มเป็น 50% เท่ากับบัญชีลูกค้าครัวเรือน
ดังนั้นบริษัทตั้งงบลงทุนในปีนี้ที่ 150 ล้านบาท แบ่งใช้ในการส่งเสริมแรงจูงใจให้พนักงาน 100 ล้านบาท ที่เหลือเปิดสาขาใหม่ 10 สาขาใช้งบ 20 ล้านบาท และใช้เป็นงบโฆษณาประมาณ 30 ล้านบาท
ขณะที่กลยุทธการให้ร้านค้าโชห่วย ซึ่งเป็นลูกค้าเดิมของบริษัท มาเป็นตัวแทนในการจำหน่ายสินค้า ซึ่งมีร้านค้าเข้ามาร่วมแล้ว 200 ร้าน จากเป้าที่ตั้งไว้ที่ 500 ร้าน ขณะเดียวที่ยังคงเน้นขายจอ LCD และเครื่องรับดาวเทียม ซึ่งยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก โดยเฉพาะตลาดต่างจังหวัด
" ความคืบหน้าเรื่องการให้บริการสินเชื่อเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้ก๊าซ LPG/NGV ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง ปัจจุบันคืบหน้าไปมากแล้ว ซึ่งขณะนี้บริษัทได้พันธมิตรแล้ว 2-3 ราย และอยู่ในระหว่างเจรจาคาดได้ข้อสรุปและเปิดให้บริการได้ราวไตรมาส 2 ปี 54 นี้
นายบุญยง ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย หรือ SINGER คาดว่าในปี 54 จะมีกำไรเกินกว่า 100 ล้านบาทสูงขึ้นจากปีก่อนตามรายได้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2,300-2,400 ล้านบาทในปีนี้หรือเติบโต 15% จากปีก่อนที่มีรายได้ 2,100 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิเกือบ 90 ล้านบาท โดยช่วงไตรมาส แรกปีนี้ บริษัทมีรายได้เติบโตเกือบ 20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจ และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่สูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตร และ SINGER คาดว่ายอดเก็บค่าชำระปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 91% ของบัญชีลูกค้ารวม เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ระดับ 87.40% และบริษัทจะพยายามรักษาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)ไว้ที่ต่ำกว่า 5% เท่ากับปีก่อน
สำหรับปีนี้คาดว่าสินค้าสำหรับตลาดประเภทร้านค้าจะมีแนวโน้มเติบโตสูง แม้จะมีอัตรากำไรขั้นต้น(มาร์จิ้น) 38-40% ต่ำกว่าสินค้าสำหรับตลาดประเภทครัวเรือนที่มีมาร์จิ้นประมาณ 45% แต่ราคาขายมีมูลค่าสูงกว่าเฉลี่ย 4-5 หมื่นบาท ขณะสินค้าสำหรับครัวเรือนราคาขายเฉลี่ยอยู่ 1-2 หมื่นบาท ส่วนอัตราส่วนกำไรขั้นต้น(gross margin)ของบริษัทปีนี้อาจจะลดลงเหลือ 50% จาก 59% ในปีก่อนแต่จะรักษาอัตราส่วนกำไรสุทธิ (net margin) ไว้ที่ระดับ 6% เนื่องจากเชื่อว่าปริมาณการสั่งสินค้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศที่มีเพิ่มขึ้นทำให้สามารถซื้อสินค้าซึ่งเป็นต้นทุนได้ต่ำลง
" สินค้าที่ขายให้ร้านค้ามีแนวโน้มโตสูงและมีมูลค่าสูง ขณะที่สินค้าพวกนี้ไม่ค่อยมีคู่แข่ง อย่างเช่นตู้แช่เบียร์ที่เริ่มขาเมื่อเดือนมกราคมก็มียอดขายเฉลี่ยต่อเดือน 100 ตู้ ระยะยาวก็น่าดีกว่านี้ ส่วนตู้เติมเงินมือถือปีนี้ก็น่าจะขายได้ 800-900 ตู้ต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 400 ตู้ต่อเดือน ตู้แช่เครื่องดื่มก็น่าจะอยู่ที่ 1,100 ตู้ต่อเดือน " นายบุญยงกล่าว
ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าสัดส่วนบัญชีลูกค้าร้านค้าปีนี้จะปรับขึ้นมาเป็น 35% จากปีก่อนอยู่ที่ 25% ส่วนบัญชีลูกค้าครัวเรือนจะลดสัดส่วนลงเหลือ 65% จากปีก่อนอยู่ที่ 75% และเชื่อว่าภายในอีก 2 ปีข้างหน้า สัดส่วนบัญชีลูกค้าร้านค้าจะเพิ่มเป็น 50% เท่ากับบัญชีลูกค้าครัวเรือน
ดังนั้นบริษัทตั้งงบลงทุนในปีนี้ที่ 150 ล้านบาท แบ่งใช้ในการส่งเสริมแรงจูงใจให้พนักงาน 100 ล้านบาท ที่เหลือเปิดสาขาใหม่ 10 สาขาใช้งบ 20 ล้านบาท และใช้เป็นงบโฆษณาประมาณ 30 ล้านบาท
ขณะที่กลยุทธการให้ร้านค้าโชห่วย ซึ่งเป็นลูกค้าเดิมของบริษัท มาเป็นตัวแทนในการจำหน่ายสินค้า ซึ่งมีร้านค้าเข้ามาร่วมแล้ว 200 ร้าน จากเป้าที่ตั้งไว้ที่ 500 ร้าน ขณะเดียวที่ยังคงเน้นขายจอ LCD และเครื่องรับดาวเทียม ซึ่งยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก โดยเฉพาะตลาดต่างจังหวัด
" ความคืบหน้าเรื่องการให้บริการสินเชื่อเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้ก๊าซ LPG/NGV ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง ปัจจุบันคืบหน้าไปมากแล้ว ซึ่งขณะนี้บริษัทได้พันธมิตรแล้ว 2-3 ราย และอยู่ในระหว่างเจรจาคาดได้ข้อสรุปและเปิดให้บริการได้ราวไตรมาส 2 ปี 54 นี้