บอร์ดไออาร์พีซีเตรียมอนุมัติโครงการผลิตปิโตรเคมีขั้นปลายใหม่อีก 2-3 โครงการ ภายใต้ฟินิกซ์ ไตรมาส 2 นี้ มูลค่าเงินลงทุน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ เชื่อแผนการลงทุน 5ปีวงเงิน 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐแล้วเสร็จ ในปี 2558 ช่วยสร้างรายได้เพิ่มอีกปีละ 1 หมื่นล้านบาท ระบุปีนี้มีรายได้ใกล้เคียงปีก่อน 2.23 แสนล้านบาท แต่มี EBITDAโตขึ้น จากการรับรู้รายได้โรงไฟฟ้า 220เมกะวัตต์
นายอธิคม เติบศิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายแผนธุรกิจองค์กร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาอนุมัติโครงการผลิตปิโตรเคมีขั้นปลายอีก 2-3 โครงการในไตรมาส 2 นี้ คาดใช้เงินลงทุนประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยโครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการฟินิกซ์ 19 โครงการ เงินลงทุนรวม 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันบอร์ดได้อนุมัติไปแล้วคิดเป็นเงินลงทุนรวม 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ บริษัทมีแผนการลงทุน 5ปีข้างหน้า (2553-2557) ใช้เงินลงทุนรวม 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นการลงทุนภายใต้โครงการฟินิกซ์ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่เหลือเป็นการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าเอสพีพีที่ได้ยื่นประมูลเสนอขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาการรับซื้ออีก 1,500 เมกะวัตต์ หลังจากไม่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรก
นอกจากโครงการลงทุนภายใต้ฟินิกซ์แล้ว ยังพิจารณาความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการต่อยอดสายโพลีเอทิลีนเกรดพิเศษนอกเหนือฟินิกซ์ โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่มีคุณสมบัติคงทนสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาร์จินสูงกว่าผลิตเม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีนเกรดทั่วไป ซึ่งเอทิลีนเป็นวัตถุดิบ อาทิ การนำไปผลิตขาเทียม เป็นต้น โดยคงต้องพิจารณาเรื่องตลาด เทคโนโลยี และการหาพันธมิตรร่วมทุน
นายอธิคมกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการผลิตโพรพิลีนขนาด 2.7 แสนตัน/ปี เงินลงทุน 800 ล้านเหรียญสหรัฐที่บอร์ดอนุมัติไปปลายปีที่แล้วว่า โครงการดังกล่าวจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2558 ทำให้มีกำลังการผลิตโพรพิลีนเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปัจจุบันผลิตอยู่ 3.12 แสนตัน/ปี รวมกับโครงการส่วนขยายคอขวดโครงการเดิมอีก 1แสนตัน/ปี ที่จะแล้วเสร็จในปีหน้า
โครงการใหม่นี้ ช่วยลดการนำเข้าโพรพิลีนเพื่อนำมาผลิตเป็นโพลีโพรพิลีนที่ปัจจุบันต้องซื้อจากภายในอยู่ปีละ 1.6 แสนตัน และกำลังการผลิตโพรพิลีนที่เกิน สามารถลงทุนพัฒนาต่อยอดไปสู่ดาวน์สตรีมอื่นๆ ที่ให้มาร์จินได้สูง และช่วยให้โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสามารถกลั่นได้เต็มที่ 2.15 แสนบาร์เรล/วัน จากปัจจุบันที่กลั่นอยู่ 1.79 แสนบาร์เรล/วันหรือคิดเป็น 83% ของกำลังการผลิต เนื่องจากมียูนิตอัพเกรดผลิตภัณฑ์บางตัวที่มีราคาต่ำมาผลิตเป็นโพรพิลีนได้ อาทิ ลองเรสซิดูและมิกซ์ ซี 4 เป็นต้น
ดังนั้น หากโครงการลงทุนต่างๆ ภายใต้แผนลงทุน 5ปีแล้วเสร็จ จะทำให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก 10,000 ล้านบาท โดยต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่มาร์จินที่ได้รับสูงมาก เนื่องจากเป็นโครงการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added)
“โครงการผลิตโพรพิลีนมูลค่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558 จะช่วยให้โรงกลั่นฯ เดินเครื่องได้เต็มที่ในปีเดียวกัน ส่งผลให้โครงสร้างรายได้ของบริษัทมาจากธุรกิจปิโตรเลียม คิดเป็น 60-70% และอีก 30% มาจากธุรกิจปิโตรเคมี”
นายอธิคมกล่าวว่า ผลการดำเนินงานในปี 2554 คาดมีรายได้รวมใกล้เคียงปี 2553 ที่มีรายได้รวม 2.23 แสนล้านบาท แต่มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและภาษี (EBITDA) สูงกว่าปีก่อนที่มี EBITDA ประมาณ 8.32 พันล้านบาท แม้ว่าในช่วงเดือนพ.ย.นี้ จะหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นเป็นเวลา 30วัน ทำให้ปริมาณการผลิตลดลงไปบางส่วน แต่เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอยู่ระดับสูง
รวมทั้งในปีนี้บริษัทรับรู้รายได้จากการลดต้นทุนโครงการผลิตไฟฟ้า 220 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้ได้เดินเครื่องผลิตไฟไปแล้ว 3 เครื่อง คาดว่าจะแล้วเสร็จเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ครบทั้ง 6 เครื่องได้ภายในเดือนมิ.ย.2554 ทำให้ประหยัดต้นทุนได้วันละ 5 ล้านบาท หรือปีนี้ประมาณ 1.3 พันล้านบาท และยังมีแผนจะขายคาร์บอนเดรดิตจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4.2 แสนตันภายใต้โครงการนี้ด้วย ทำให้ทั้งปีบริษัทคาดว่ามีกำไรEBITDAดีกว่าปีก่อน
นายอธิคม เติบศิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายแผนธุรกิจองค์กร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาอนุมัติโครงการผลิตปิโตรเคมีขั้นปลายอีก 2-3 โครงการในไตรมาส 2 นี้ คาดใช้เงินลงทุนประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยโครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการฟินิกซ์ 19 โครงการ เงินลงทุนรวม 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันบอร์ดได้อนุมัติไปแล้วคิดเป็นเงินลงทุนรวม 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ บริษัทมีแผนการลงทุน 5ปีข้างหน้า (2553-2557) ใช้เงินลงทุนรวม 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นการลงทุนภายใต้โครงการฟินิกซ์ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่เหลือเป็นการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าเอสพีพีที่ได้ยื่นประมูลเสนอขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาการรับซื้ออีก 1,500 เมกะวัตต์ หลังจากไม่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรก
นอกจากโครงการลงทุนภายใต้ฟินิกซ์แล้ว ยังพิจารณาความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการต่อยอดสายโพลีเอทิลีนเกรดพิเศษนอกเหนือฟินิกซ์ โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่มีคุณสมบัติคงทนสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาร์จินสูงกว่าผลิตเม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีนเกรดทั่วไป ซึ่งเอทิลีนเป็นวัตถุดิบ อาทิ การนำไปผลิตขาเทียม เป็นต้น โดยคงต้องพิจารณาเรื่องตลาด เทคโนโลยี และการหาพันธมิตรร่วมทุน
นายอธิคมกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการผลิตโพรพิลีนขนาด 2.7 แสนตัน/ปี เงินลงทุน 800 ล้านเหรียญสหรัฐที่บอร์ดอนุมัติไปปลายปีที่แล้วว่า โครงการดังกล่าวจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2558 ทำให้มีกำลังการผลิตโพรพิลีนเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปัจจุบันผลิตอยู่ 3.12 แสนตัน/ปี รวมกับโครงการส่วนขยายคอขวดโครงการเดิมอีก 1แสนตัน/ปี ที่จะแล้วเสร็จในปีหน้า
โครงการใหม่นี้ ช่วยลดการนำเข้าโพรพิลีนเพื่อนำมาผลิตเป็นโพลีโพรพิลีนที่ปัจจุบันต้องซื้อจากภายในอยู่ปีละ 1.6 แสนตัน และกำลังการผลิตโพรพิลีนที่เกิน สามารถลงทุนพัฒนาต่อยอดไปสู่ดาวน์สตรีมอื่นๆ ที่ให้มาร์จินได้สูง และช่วยให้โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสามารถกลั่นได้เต็มที่ 2.15 แสนบาร์เรล/วัน จากปัจจุบันที่กลั่นอยู่ 1.79 แสนบาร์เรล/วันหรือคิดเป็น 83% ของกำลังการผลิต เนื่องจากมียูนิตอัพเกรดผลิตภัณฑ์บางตัวที่มีราคาต่ำมาผลิตเป็นโพรพิลีนได้ อาทิ ลองเรสซิดูและมิกซ์ ซี 4 เป็นต้น
ดังนั้น หากโครงการลงทุนต่างๆ ภายใต้แผนลงทุน 5ปีแล้วเสร็จ จะทำให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก 10,000 ล้านบาท โดยต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่มาร์จินที่ได้รับสูงมาก เนื่องจากเป็นโครงการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added)
“โครงการผลิตโพรพิลีนมูลค่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558 จะช่วยให้โรงกลั่นฯ เดินเครื่องได้เต็มที่ในปีเดียวกัน ส่งผลให้โครงสร้างรายได้ของบริษัทมาจากธุรกิจปิโตรเลียม คิดเป็น 60-70% และอีก 30% มาจากธุรกิจปิโตรเคมี”
นายอธิคมกล่าวว่า ผลการดำเนินงานในปี 2554 คาดมีรายได้รวมใกล้เคียงปี 2553 ที่มีรายได้รวม 2.23 แสนล้านบาท แต่มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและภาษี (EBITDA) สูงกว่าปีก่อนที่มี EBITDA ประมาณ 8.32 พันล้านบาท แม้ว่าในช่วงเดือนพ.ย.นี้ จะหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นเป็นเวลา 30วัน ทำให้ปริมาณการผลิตลดลงไปบางส่วน แต่เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอยู่ระดับสูง
รวมทั้งในปีนี้บริษัทรับรู้รายได้จากการลดต้นทุนโครงการผลิตไฟฟ้า 220 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้ได้เดินเครื่องผลิตไฟไปแล้ว 3 เครื่อง คาดว่าจะแล้วเสร็จเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ครบทั้ง 6 เครื่องได้ภายในเดือนมิ.ย.2554 ทำให้ประหยัดต้นทุนได้วันละ 5 ล้านบาท หรือปีนี้ประมาณ 1.3 พันล้านบาท และยังมีแผนจะขายคาร์บอนเดรดิตจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4.2 แสนตันภายใต้โครงการนี้ด้วย ทำให้ทั้งปีบริษัทคาดว่ามีกำไรEBITDAดีกว่าปีก่อน