“รพ.บำรุงราษฎร์” ลั่นไม่คุยกับ “กรุงเทพดุสิตเวชการ” ก่อน ระบุ เป็นการซื้อหุ้นในตลาด ไม่มีผลกับโครงสร้างการบริหารและผู้ถือหุ้น รวมถึงแผนธุรกิจ หากอยากนั่งบอร์ดต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นเกินครึ่งก่อน แต่การประชุมบอร์ด 25 ก.พ.นี้ ไม่มีการบรรจุเพิ่มในวาระ ยืนยันไม่ทราบเจตนาในการซื้อ ผู้บริหารย้ำศักยภาพ รพ.แข็งแกร่ง ไม่จำเป็นต้องรวมกิจการ ส่วนแผนลงทุนเตรียมขยายเตียงผู้ป่วย ด้วยงบ 1.8 พันล้าน พร้อมเล็งประมูลสร้างรพ.ในฮ่องกง ช่วงต้นปีหน้า ตั้งเป้าปีนี้รายได้โตเพิ่มอีก 10%
จากกรณีที่ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ หรือ BGH ได้เข้าทำการลงทุนโดยการซื้อหุ้นสามัญของ บมจ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) จำนวน 46,116,400 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน6.32% ของทุนที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และลงทุนใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ (NVDR) จำนวน 35,000,000 หน่วย คิดเป็น 4.79% ในหลักทรัพย์อ้างอิงที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดนั้น
ล่าสุด นายเดนนิส บราวน์ Corprate CEO ของ บมจ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) เปิดเผยถึงเรื่องดังกล่าว วานนี้ (21 ก.พ.) ว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อจากทาง บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ เกี่ยวกับการใช้สิทธิเข้ามาเป็นกรรมการหรือความร่วมมืออื่นๆ หลังจากที่เข้ามาถือหุ้นในบริษัทแล้วประมาณ 11% รวมทั้งยืนยันว่าทาง รพ.บำรุงราษฎร์ เอง ไม่ทราบถึงเหตุผลในการเข้าลงทุนของ BGH ในครั้งนี้แต่อย่างใด และจะไม่เป็นผู้ติดต่อกลับหาทางผู้บริหารของบมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการก่อน
ส่วนการที่ BGH จะส่งตัวแทนเข้ามาเป็นกรรมการในบริษัทหรือไม่นั้น เรื่องนี้มองว่าขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นของบริษัท และกติกาที่ระบุว่า ต้องได้รับเสียงเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นเกิน 50.1% อย่างไรก็ตาม ในเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นเพื่อให้มีส่วนร่วมหรือสิทธิ์ในการบริหารโรงพยาบาลนั้น ทางบริษัทไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าต้องถือหุ้นในสัดส่วนอย่างน้อยเท่าใด จึงจะสามารถเข้ามาเป็นกรรมการได้
“การที่ BGH มีหุ้นของ รพ.11% นั้น เป็นการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตามปกติ และการซื้อดังกล่าวไม่ได้เป็นการสะท้อนถึงทิศทางใหม่ของกลยุทธ์บริษัท หรือการครอบงำกิจการ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้น รวมถึงโครงสร้างการจัดการและฐานะการเงินของบริษัท ดังนั้น ทาง รพ.จะยังคงแผนการขยายธุรกิจ รพ.อย่างต่อเนื่อง ต่อไป”
ปัจจุบัน ทาง รพ.บำรุงราษฎร์ ระบุว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทยังเป็นกลุ่มโสภณพาณิช ที่ถือหุ้นรวมกัน 25% ผ่านทาง ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ประมาณ 10%, บริษัท กรุงเทพประกันภัย 13% และตระกูลโสภณพนิช ประมาณ 2%
นายเดนนิส กล่าวว่า ในกรณีที่หลายฝ่ายประเมินว่าการลงทุนในครั้งนี้ เกิดขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมตัวรองรับการเปิดตลาดอาเซียนนั้น มองว่า ในแง่ของศักยภาพในการขยายธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน และการดำเนินธุรกิจ ทางโรงพยาบาลมีความพร้อมอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องควบรวมกับใคร ซึ่งในประเทศไทย BH นับเป็นอีกหนึ่งในโรงพยาบาลเอกชนระดับแถวหน้าที่มีอยู่ประมาณ 5-6 แห่ง และมีส่วนแบ่งทางการตลาดรวมกันประมาณ 25% ของตลาดโรงพยาลทั้งประเทศ ขณะที่อีก 75% ที่เหลือ คือ รพ.ของภาครัฐบาล
โดยในส่วนความร่วมมือนั้น ปัจจุบัน BH ก็ให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลอื่นๆ มาตลอด โดยเฉพาะการร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลเอกชนด้วยกัน ซึ่งเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นผ่านสมาคมโรงพยาบาลเอกชน และยังไม่เคยมีความร่วมมือโดยตรงกับทาง BGH
“เท่าที่เคยบริหารโรงพยาบาลอื่นๆมา เช่นในสหรัฐ แม้จะเป็นโรงพยาบาลแห่งเดียว ไม่มีเครือข่าย ก็ไม่เห็นมีความจำเป็นต้องรวมกับ รพ.อื่นๆ เพื่อรับมือการเปิดตลาด”
นอกจากนี้ ทางผู้บริหารของ รพ.บำรุงราษฎร์ เชื่อว่า หุ้นของบริษัทที่ BGH ได้มาน่าจะมาจาก กองทุน Capital Group Ingernational, Inc. ที่เป็นกองทุนสหรัฐฯจากแคลิฟอร์เนีย เป็นผู้ขายหุ้นให้ในสัดส่วน 6.7% หรือจำนวน 49,125,000 หุ้น แต่ยังเหลือหุ้นที่ถืออยู่ 2.8% หรือเท่ากับ 20,373,800 หุ้น โดยกองทุนดังกล่าวถือหุ้น BH มาเป็นเวลาประมาณ 4-5 ปี เมื่อรวมกับกองทุนเทมาเส็กที่ขายออกไปก่อนหน้านี้มองว่าเป็นจำนวนน้อยมาก
สำหรับภาพรวมในปีนี้ ทาง รพ.บำพรุงราษฎร์ คาดว่า รายได้ของ รพ.จะเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 10% ตามการขยายตัวของยอดคนไข้ที่เข้ารับการรักษา และรักษา EBITDA Margin ไว้ที่ระดับ 24% ต่อปี โดยคาดว่าในวันที่ 25 ก.พ.คณะกรรมการบริษัทจะพิจารณางบการเงินปี 53 และพิจารณาการจ่ายเงินปันผล ซึ่งตามนโยบาย คือ จ่ายไม่ต่ำกว่า 50% ของกำไรสุทธิ แต่จะไม่มีการนำวาระที่ BGH เข้าซื้อหุ้น BH 11% มาหารือกัน
ขณะเดียวกัน ทางโรงพยาบาลมีแผนที่จะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,800 ล้านบาท ขยายเตียงผู้ป่วยเพิ่มอีก 100 เตียง เพื่อให้ตึกผู้ป่วยนอกที่ยังมีพื้นที่กว่าอีกประมาณ 5 ชั้น เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคาดว่าภายใน 3-4 ปี จากนี้จะมีเตียงผู้ป่วยเพิ่มเป็น 580 เตียงจากปัจจุบันมี 480 เตียง รวมถึงการเพิ่มแพทย์เพาะทางมากขึ้น
“รายได้ของโรงพยาบาลส่วนใหญ่ 60% จะมาจากคนไข้ชาวต่างประเทศ และเป็นรายได้จากผู้ป้วยไทยประมาณ 40% ขณะที่ปริมาณผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการในแต่ละปีจะกลับกัน คือผู้ป่วยในประเทศประมาณ60% และผู้ป่วยต่างประเทศ 40%”
นอกจากนี้ ทางโรงพยาบาลมีความสนใจที่จะเข้าไปเปิดกิจการโรงพยาบาลในฮ่องกง หลังรัฐบาลฮ่องกงมีนโยบายที่จะพัฒนาบริการด้านสุขภาพ โดยมีพื้นที่ประมาณ 4 แปลงที่ต้องการให้มีผู้เข้ามาลงทุนในด้าน รพ.ซึ่งขณะนี้รอความชัดเจนด้านนโยบายของรัฐฐาลฮ่องกงก่อน โดยคาดว่าจะสามารถเข้าประมูลได้ในช่วงไตรมาส 1 ปีหน้า และถ้าชนะจะมีเวลาในการนำเสนอแผนประมาณ 6 เดือนและดำเนินการก่อสร้าง 2-3 ปี มูลค่าลงทุนประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมถึง มองหาโอกาสขยายธุรกิจในประเทศมาเลเซีย จีน เวียดนาม และ อินเดีย โดยด้านเงินลงทุนทาง รพ.มั่นใจว่า ไม่น่ามีปัญหา เพราะอัตราหนี้สินต่อทุนของบริษัทอยู่ในระดับต่ำ ประมาณ 0.2 เท่า และมีกระแสเงินสดมากกว่า 1,000 ล้านบาท
จากกรณีที่ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ หรือ BGH ได้เข้าทำการลงทุนโดยการซื้อหุ้นสามัญของ บมจ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) จำนวน 46,116,400 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน6.32% ของทุนที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และลงทุนใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ (NVDR) จำนวน 35,000,000 หน่วย คิดเป็น 4.79% ในหลักทรัพย์อ้างอิงที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดนั้น
ล่าสุด นายเดนนิส บราวน์ Corprate CEO ของ บมจ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) เปิดเผยถึงเรื่องดังกล่าว วานนี้ (21 ก.พ.) ว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อจากทาง บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ เกี่ยวกับการใช้สิทธิเข้ามาเป็นกรรมการหรือความร่วมมืออื่นๆ หลังจากที่เข้ามาถือหุ้นในบริษัทแล้วประมาณ 11% รวมทั้งยืนยันว่าทาง รพ.บำรุงราษฎร์ เอง ไม่ทราบถึงเหตุผลในการเข้าลงทุนของ BGH ในครั้งนี้แต่อย่างใด และจะไม่เป็นผู้ติดต่อกลับหาทางผู้บริหารของบมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการก่อน
ส่วนการที่ BGH จะส่งตัวแทนเข้ามาเป็นกรรมการในบริษัทหรือไม่นั้น เรื่องนี้มองว่าขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นของบริษัท และกติกาที่ระบุว่า ต้องได้รับเสียงเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นเกิน 50.1% อย่างไรก็ตาม ในเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นเพื่อให้มีส่วนร่วมหรือสิทธิ์ในการบริหารโรงพยาบาลนั้น ทางบริษัทไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าต้องถือหุ้นในสัดส่วนอย่างน้อยเท่าใด จึงจะสามารถเข้ามาเป็นกรรมการได้
“การที่ BGH มีหุ้นของ รพ.11% นั้น เป็นการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตามปกติ และการซื้อดังกล่าวไม่ได้เป็นการสะท้อนถึงทิศทางใหม่ของกลยุทธ์บริษัท หรือการครอบงำกิจการ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้น รวมถึงโครงสร้างการจัดการและฐานะการเงินของบริษัท ดังนั้น ทาง รพ.จะยังคงแผนการขยายธุรกิจ รพ.อย่างต่อเนื่อง ต่อไป”
ปัจจุบัน ทาง รพ.บำรุงราษฎร์ ระบุว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทยังเป็นกลุ่มโสภณพาณิช ที่ถือหุ้นรวมกัน 25% ผ่านทาง ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ประมาณ 10%, บริษัท กรุงเทพประกันภัย 13% และตระกูลโสภณพนิช ประมาณ 2%
นายเดนนิส กล่าวว่า ในกรณีที่หลายฝ่ายประเมินว่าการลงทุนในครั้งนี้ เกิดขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมตัวรองรับการเปิดตลาดอาเซียนนั้น มองว่า ในแง่ของศักยภาพในการขยายธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน และการดำเนินธุรกิจ ทางโรงพยาบาลมีความพร้อมอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องควบรวมกับใคร ซึ่งในประเทศไทย BH นับเป็นอีกหนึ่งในโรงพยาบาลเอกชนระดับแถวหน้าที่มีอยู่ประมาณ 5-6 แห่ง และมีส่วนแบ่งทางการตลาดรวมกันประมาณ 25% ของตลาดโรงพยาลทั้งประเทศ ขณะที่อีก 75% ที่เหลือ คือ รพ.ของภาครัฐบาล
โดยในส่วนความร่วมมือนั้น ปัจจุบัน BH ก็ให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลอื่นๆ มาตลอด โดยเฉพาะการร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลเอกชนด้วยกัน ซึ่งเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นผ่านสมาคมโรงพยาบาลเอกชน และยังไม่เคยมีความร่วมมือโดยตรงกับทาง BGH
“เท่าที่เคยบริหารโรงพยาบาลอื่นๆมา เช่นในสหรัฐ แม้จะเป็นโรงพยาบาลแห่งเดียว ไม่มีเครือข่าย ก็ไม่เห็นมีความจำเป็นต้องรวมกับ รพ.อื่นๆ เพื่อรับมือการเปิดตลาด”
นอกจากนี้ ทางผู้บริหารของ รพ.บำรุงราษฎร์ เชื่อว่า หุ้นของบริษัทที่ BGH ได้มาน่าจะมาจาก กองทุน Capital Group Ingernational, Inc. ที่เป็นกองทุนสหรัฐฯจากแคลิฟอร์เนีย เป็นผู้ขายหุ้นให้ในสัดส่วน 6.7% หรือจำนวน 49,125,000 หุ้น แต่ยังเหลือหุ้นที่ถืออยู่ 2.8% หรือเท่ากับ 20,373,800 หุ้น โดยกองทุนดังกล่าวถือหุ้น BH มาเป็นเวลาประมาณ 4-5 ปี เมื่อรวมกับกองทุนเทมาเส็กที่ขายออกไปก่อนหน้านี้มองว่าเป็นจำนวนน้อยมาก
สำหรับภาพรวมในปีนี้ ทาง รพ.บำพรุงราษฎร์ คาดว่า รายได้ของ รพ.จะเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 10% ตามการขยายตัวของยอดคนไข้ที่เข้ารับการรักษา และรักษา EBITDA Margin ไว้ที่ระดับ 24% ต่อปี โดยคาดว่าในวันที่ 25 ก.พ.คณะกรรมการบริษัทจะพิจารณางบการเงินปี 53 และพิจารณาการจ่ายเงินปันผล ซึ่งตามนโยบาย คือ จ่ายไม่ต่ำกว่า 50% ของกำไรสุทธิ แต่จะไม่มีการนำวาระที่ BGH เข้าซื้อหุ้น BH 11% มาหารือกัน
ขณะเดียวกัน ทางโรงพยาบาลมีแผนที่จะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,800 ล้านบาท ขยายเตียงผู้ป่วยเพิ่มอีก 100 เตียง เพื่อให้ตึกผู้ป่วยนอกที่ยังมีพื้นที่กว่าอีกประมาณ 5 ชั้น เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคาดว่าภายใน 3-4 ปี จากนี้จะมีเตียงผู้ป่วยเพิ่มเป็น 580 เตียงจากปัจจุบันมี 480 เตียง รวมถึงการเพิ่มแพทย์เพาะทางมากขึ้น
“รายได้ของโรงพยาบาลส่วนใหญ่ 60% จะมาจากคนไข้ชาวต่างประเทศ และเป็นรายได้จากผู้ป้วยไทยประมาณ 40% ขณะที่ปริมาณผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการในแต่ละปีจะกลับกัน คือผู้ป่วยในประเทศประมาณ60% และผู้ป่วยต่างประเทศ 40%”
นอกจากนี้ ทางโรงพยาบาลมีความสนใจที่จะเข้าไปเปิดกิจการโรงพยาบาลในฮ่องกง หลังรัฐบาลฮ่องกงมีนโยบายที่จะพัฒนาบริการด้านสุขภาพ โดยมีพื้นที่ประมาณ 4 แปลงที่ต้องการให้มีผู้เข้ามาลงทุนในด้าน รพ.ซึ่งขณะนี้รอความชัดเจนด้านนโยบายของรัฐฐาลฮ่องกงก่อน โดยคาดว่าจะสามารถเข้าประมูลได้ในช่วงไตรมาส 1 ปีหน้า และถ้าชนะจะมีเวลาในการนำเสนอแผนประมาณ 6 เดือนและดำเนินการก่อสร้าง 2-3 ปี มูลค่าลงทุนประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมถึง มองหาโอกาสขยายธุรกิจในประเทศมาเลเซีย จีน เวียดนาม และ อินเดีย โดยด้านเงินลงทุนทาง รพ.มั่นใจว่า ไม่น่ามีปัญหา เพราะอัตราหนี้สินต่อทุนของบริษัทอยู่ในระดับต่ำ ประมาณ 0.2 เท่า และมีกระแสเงินสดมากกว่า 1,000 ล้านบาท