ตลาดหุ้นไทยร่วง 13.64 จุด สอดคล้องตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับแรงกดดันจากจีนขยับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยยังได้รับแรงกดดันจากปัจจัยการเมือง-เหตุปะทะชายแดนไทย-เขมร โดยในรอบ 4 วัน นักลงทุนต่างชาติทิ้งหุ้นไทยรวม 5.6 พันล้าน ด้าน สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ชี้ กระทบแค่ระยะสั้น แนะให้เลือกหุ้นพื้นฐานดี ส่วนตลาดหลักทรัพย์ เผย บจ.ยังไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากเหตุการณ์ปะทะตามแนวชายแดน แต่ต้องติดตามใกล้ชิด
บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (9 ก.พ.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงตั้งแต่เปิดการซื้อขายในภาคเช้า ซึ่งสอดคล้องกับตลาดหุ้นในภูมิภาคที่ได้รับแรงกดดันจากธนาคารกลางจีน ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% บวกกับปัจจัยในประเทศที่มีการชุมนุมขับไล่รัฐบาลของหลายกลุ่ม รวมถึงสถานการณ์ปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยแตะระดับสูงสุดที่ 985.69 จุด และต่ำสุดที่ 968.93 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ระดับ 969.89 จุด ลดลง 13.64 จุด หรือคิดเป็น 1.39% มูลค่าการซื้อขาย 29,162.78 ล้านบาททั้งนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศขายสุทธิ 1,669.02 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 52.84 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อย ซื้อสุทธิ 3,142.37 ล้านบาท และนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,526.19 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ปะทะตามแนวชายแดน (4-9 ก.พ.) รวม 4 วัน มีจำนวนทั้งสิ้น 5,603.34 ล้านบาท
หุ้นภูมิภาคจับมือร่วงถ้วนหน้า
ขณะที่ตลาดหุ้นภูมิภาคต่างปรับตัวลดลงกันถ้วนหน้า อาทิ ตลาดหุ้นโตเกียว ดัชนีนิกเกอิ ปิดที่ 10,617.83 จุด ลดลง 18.15 จุด หรือ 0.17% ตลาดหุ้นฮ่องกง ดัชนีฮั่งเส็ง ปิดที่ 23,164.03 จุด ลดลง 320.27 จุด หรือ 1.36% ตลาดหุ้นมาเลเซีย ดัชนีคอมโพสิต ปิดที่ 1,536.07 จุด ลดลง 3.48 จุด หรือ 0.23% และตลาดหุ้นสิงคโปร์ ดัชนีสเตรทส์ไทม์ ปิดที่ 3,150.56 จุด ลดลง 34.80 จุด หรือ 1.09%
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ (9 ก.พ.) ได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ของธนาคารกลางจีน ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียต่างปรับตัวลดลงถ้วนหน้า โดยนักลงทุนต่างประเทศ เทขายออกมาอย่างต่อเนื่อง บวกกันปัจจัยในประเทศ ทั้งเรื่องของสถานการณ์ทางการเมือง และเหตุการณ์ปะทะตามแนวชายแดนไทย-เขมร ทำให้นักลงทุนต่างประเทศหวั่นเกิดปัญหาบานปลายจึงเทขายหุ้นไทยออกมาต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในวันนี้ (10 ก.พ.) ดัชนีตลาดหุ้นไทย อาจมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากปัจจัยต่างๆ ข้างต้น รวมถึงแรงขายของนักลงทุนต่างชาติทีทยอยขายหุ้นออกมา ดังนั้นนักลงทุนควรจะถือเงินสด และรอดูปัจจัยต่างๆ เริ่มคลี่คลายหรือไม่ รวมถึงท่าทีของนักลงทุนต่างชาติจะหยุดขายหุ้นไทยออกมาเมื่อใด พร้อมแนะนำให้นักลงทุนรอจังหวะซ้อเมื่อดัชนีลดลงแตะระดับ 950 จุด
ปัจจัยในประเทศกระทบแค่ระยะสั้น
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า ช่วงนี้มีปัจจัยที่เป็นตัวแปรซึ่งส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทยหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในประเทศและจากต่างประเทศ โดยเหตุการณ์สำคัญที่กำลังมีการติดตามอย่างใกล้ชิดจากทุกฝ่าย ได้แก่ เหตุการณ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา รวมถึงการประกาศใช้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ใน 7 เขต ของ กทม.ซึ่งมีผลตั้งแต่วันนี้ (9 ก.พ.) ต่อเนื่องจนถึงวันที่ 23 ก.พ.รวมถึงกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง ที่อาจมีการยกระดับการชุมนุมในวันที่ 11 ก.พ.นี้
“ปัจจัยดังกล่าวมีผลกระทบในเชิงจิตวิทยา น่าจะเป็นระยะสั้น และส่งผลให้หุ้นเคลื่อนไหวผันผวน ซึ่งผู้ลงทุนที่ไม่แน่ใจ การเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีจะมั่นใจได้ในระยะยาว หากไม่มีเหตุการณ์ที่ยืดเยื้อ จะทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นกลับมาลงทุนอีกครั้ง”
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเศรษฐกิจภายนอกประเทศ ยังนับเป็นตัวแปรสำคัญที่ต้องติดตาม เพราะการที่ปริมาณการซื้อขายของผู้ลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยเริ่มเบาบาง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเริ่มกระจายเงินลงทุนไปยังประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศที่เศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว ซึ่งผู้ลงทุนควรติดตามข้อมูลความเคลื่อนไหวในระบบเศรษฐกิจระดับโลกเพิ่มมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ผู้ลงทุนควรติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศอย่างใกล้ชิด และควรศึกษาข้อมูลและมุมมองการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ของสำนักวิจัยหลายแห่ง เพื่อให้ได้มุมมองที่ครบถ้วนทั้งนี้ จากข้อมูลสรุปภาวะตลาดหลักทรัพย์ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2554 สถิติชี้ให้เห็นว่าการลงทุนตลาดหุ้นไทยยังมีความน่าสนใจจากพื้นฐานที่ดี โดยให้อัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend yield) ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค โดยอยู่ที่ระดับ 3.82%
ตลาดหุ้นยัน บจ.ยังไม่ได้รับผลกระทบ
ด้าน นายศักรินทร์ ร่วมรังสี ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานกำกับตลาด ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ ได้ติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-เขมรอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจากการติดตาม ณ ขณะนี้ ยังไม่มีบริษัทจดทะเบียนใดที่แจ้งว่าการดำเนินงานได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลมายังตลาดหลักทรัพย์ โดยทันที
“ตลาดหลักทรัพย์ จะติดตามเหตุการณ์ที่อาจมีผลกระทบกับบริษัทจดทะเบียน และหากมีข้อมูลสำคัญที่บริษัทจดทะเบียนใดจะต้องเปิดเผย จะได้มีการประสานงานเพื่อนำข้อมูลเผยแพร่ให้ผู้ลงทุนทราบต่อไป โดยในช่วงนี้ขอให้ผู้ลงทุนติดตามข่าวสารที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนอย่างใกล้ชิดด้วย” นายศักรินทร์ กล่าว
บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (9 ก.พ.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงตั้งแต่เปิดการซื้อขายในภาคเช้า ซึ่งสอดคล้องกับตลาดหุ้นในภูมิภาคที่ได้รับแรงกดดันจากธนาคารกลางจีน ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% บวกกับปัจจัยในประเทศที่มีการชุมนุมขับไล่รัฐบาลของหลายกลุ่ม รวมถึงสถานการณ์ปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยแตะระดับสูงสุดที่ 985.69 จุด และต่ำสุดที่ 968.93 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ระดับ 969.89 จุด ลดลง 13.64 จุด หรือคิดเป็น 1.39% มูลค่าการซื้อขาย 29,162.78 ล้านบาททั้งนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศขายสุทธิ 1,669.02 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 52.84 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อย ซื้อสุทธิ 3,142.37 ล้านบาท และนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,526.19 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ปะทะตามแนวชายแดน (4-9 ก.พ.) รวม 4 วัน มีจำนวนทั้งสิ้น 5,603.34 ล้านบาท
หุ้นภูมิภาคจับมือร่วงถ้วนหน้า
ขณะที่ตลาดหุ้นภูมิภาคต่างปรับตัวลดลงกันถ้วนหน้า อาทิ ตลาดหุ้นโตเกียว ดัชนีนิกเกอิ ปิดที่ 10,617.83 จุด ลดลง 18.15 จุด หรือ 0.17% ตลาดหุ้นฮ่องกง ดัชนีฮั่งเส็ง ปิดที่ 23,164.03 จุด ลดลง 320.27 จุด หรือ 1.36% ตลาดหุ้นมาเลเซีย ดัชนีคอมโพสิต ปิดที่ 1,536.07 จุด ลดลง 3.48 จุด หรือ 0.23% และตลาดหุ้นสิงคโปร์ ดัชนีสเตรทส์ไทม์ ปิดที่ 3,150.56 จุด ลดลง 34.80 จุด หรือ 1.09%
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ (9 ก.พ.) ได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ของธนาคารกลางจีน ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียต่างปรับตัวลดลงถ้วนหน้า โดยนักลงทุนต่างประเทศ เทขายออกมาอย่างต่อเนื่อง บวกกันปัจจัยในประเทศ ทั้งเรื่องของสถานการณ์ทางการเมือง และเหตุการณ์ปะทะตามแนวชายแดนไทย-เขมร ทำให้นักลงทุนต่างประเทศหวั่นเกิดปัญหาบานปลายจึงเทขายหุ้นไทยออกมาต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในวันนี้ (10 ก.พ.) ดัชนีตลาดหุ้นไทย อาจมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากปัจจัยต่างๆ ข้างต้น รวมถึงแรงขายของนักลงทุนต่างชาติทีทยอยขายหุ้นออกมา ดังนั้นนักลงทุนควรจะถือเงินสด และรอดูปัจจัยต่างๆ เริ่มคลี่คลายหรือไม่ รวมถึงท่าทีของนักลงทุนต่างชาติจะหยุดขายหุ้นไทยออกมาเมื่อใด พร้อมแนะนำให้นักลงทุนรอจังหวะซ้อเมื่อดัชนีลดลงแตะระดับ 950 จุด
ปัจจัยในประเทศกระทบแค่ระยะสั้น
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า ช่วงนี้มีปัจจัยที่เป็นตัวแปรซึ่งส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทยหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในประเทศและจากต่างประเทศ โดยเหตุการณ์สำคัญที่กำลังมีการติดตามอย่างใกล้ชิดจากทุกฝ่าย ได้แก่ เหตุการณ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา รวมถึงการประกาศใช้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ใน 7 เขต ของ กทม.ซึ่งมีผลตั้งแต่วันนี้ (9 ก.พ.) ต่อเนื่องจนถึงวันที่ 23 ก.พ.รวมถึงกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง ที่อาจมีการยกระดับการชุมนุมในวันที่ 11 ก.พ.นี้
“ปัจจัยดังกล่าวมีผลกระทบในเชิงจิตวิทยา น่าจะเป็นระยะสั้น และส่งผลให้หุ้นเคลื่อนไหวผันผวน ซึ่งผู้ลงทุนที่ไม่แน่ใจ การเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีจะมั่นใจได้ในระยะยาว หากไม่มีเหตุการณ์ที่ยืดเยื้อ จะทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นกลับมาลงทุนอีกครั้ง”
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเศรษฐกิจภายนอกประเทศ ยังนับเป็นตัวแปรสำคัญที่ต้องติดตาม เพราะการที่ปริมาณการซื้อขายของผู้ลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยเริ่มเบาบาง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเริ่มกระจายเงินลงทุนไปยังประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศที่เศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว ซึ่งผู้ลงทุนควรติดตามข้อมูลความเคลื่อนไหวในระบบเศรษฐกิจระดับโลกเพิ่มมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ผู้ลงทุนควรติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศอย่างใกล้ชิด และควรศึกษาข้อมูลและมุมมองการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ของสำนักวิจัยหลายแห่ง เพื่อให้ได้มุมมองที่ครบถ้วนทั้งนี้ จากข้อมูลสรุปภาวะตลาดหลักทรัพย์ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2554 สถิติชี้ให้เห็นว่าการลงทุนตลาดหุ้นไทยยังมีความน่าสนใจจากพื้นฐานที่ดี โดยให้อัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend yield) ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค โดยอยู่ที่ระดับ 3.82%
ตลาดหุ้นยัน บจ.ยังไม่ได้รับผลกระทบ
ด้าน นายศักรินทร์ ร่วมรังสี ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานกำกับตลาด ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ ได้ติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-เขมรอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจากการติดตาม ณ ขณะนี้ ยังไม่มีบริษัทจดทะเบียนใดที่แจ้งว่าการดำเนินงานได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลมายังตลาดหลักทรัพย์ โดยทันที
“ตลาดหลักทรัพย์ จะติดตามเหตุการณ์ที่อาจมีผลกระทบกับบริษัทจดทะเบียน และหากมีข้อมูลสำคัญที่บริษัทจดทะเบียนใดจะต้องเปิดเผย จะได้มีการประสานงานเพื่อนำข้อมูลเผยแพร่ให้ผู้ลงทุนทราบต่อไป โดยในช่วงนี้ขอให้ผู้ลงทุนติดตามข่าวสารที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนอย่างใกล้ชิดด้วย” นายศักรินทร์ กล่าว