ASTVผู้จัดการรายวัน – นักลงทุนต่างชาติ ทิ้งหุ้นไทยอีก 2.8 พันล้านบาท แค่ 5 วันรวมแล้ว 8.4 พันล้านบาท ถล่มดัชนีหลุดแนวรับหลักที่ 950 จุด ปิดต่ำสุดในรอบ 4 เดือน ที่ระดับ 949.09 จุด ลดลงกว่า 20 จุด ระบุต่างชาติขนเงินหนีหวั่นทางการขึ้นดอกเบี้ยคุมเงินเฟ้อตามยักษ์ใหญ่จีน บล.ไทยพาณิชย์ ประเมินตลาดหุ้นไทยไตรมาสแรกอาจปรับลดลง 10-15% จากนักลงทุนต่างชาติปรับพอร์ต แต่จะเริ่มขยับขึ้นในไตรมาส 2 พร้อมคงเป้าดัชนีปีนี้ 1.2 พันจุด
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (10 ก.พ.) ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงตั้งแต่เปิดการซื้อขายภาคเช้า จากแรงกดดันที่ธนาคารกลางจีนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ส่งผลให้ประเทศในแถบเอเชียอาจจะต้องทบทวนมาตรการดูแลเงินเฟ้อของแต่ละประเทศ ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นในเอเชียปรับตัวลดลงกันอย่างถ้วนหน้า
ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นสูงสุดแตะที่ระดับ 963.28 จุด ก่อนจะปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงในช่วงบ่าย และปิดการซื้อขายในระดับที่ต่ำกว่า 950 จุด ในรอบระยะ 4 เดือน โดยปิดการซื้อขายที่ระดับ 949.09 จุด ลดลง 20.80 จุด หรือคิดเป็น 2.14% มูลค่าการซื้อขาย 32,609.63 ล้านบาท
โดยนักลงทุนสถาบัน ขายสุทธิ 1,175.66 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 546.03 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 4,522.44 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศยังคงเทขายออกมาอย่างต่อเนื่องอีก 2,800.75 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดขายสุทธิตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. 54 รวมทั้งสิ้น 8,403.09 ล้านบาท
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวสอดคล่องกันตลาดหุ้นเอเชียที่ได้รับแรงกดดันจากธนาคารกลางจีนประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อในเทศ ส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลประเทศในแถบเอเชียอาจจะต้องทบทวนมาตรการควบคุมเงินเฟ้อเช่นเดียวกัน
ขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นไทยยังได้รับปัจจัยลบจากปัญหาทางการเมือง โดยเฉพาะการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) รวมถึงปัญหาเหตุการณ์ปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
สำหรับทิศทางและแนวโน้มตลาดหุ้นไทยนั้น นักวิเคราะห์ กล่าว่า ขณะนี้ปัจจัยลบปกคลุมตลาดหุ้นไทย ส่งผลให้มีการย้ายเงินลงทุนออกจากตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มปรับตัวลดลง หลังจากหลุดแนวรับหลัก 950 จุด โดยแนวรับต่อไปจะอยู่ที่รัดบ 940 จุด
นายเกียรติศักดิ์ เจนวิภากุล กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วง3 เดือนแรกของปีนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยอาจปรับตัวลดลง 10-15% จากปีก่อน เนื่องจาก นักลงทุนต่างประเทศมีการปรับพอร์ตการลงทุนเพื่อย้ายเงินลงทุนกลับไปยังสหรัฐและยุโรปจากที่เศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวเริ่มเห็นทิศทางที่จะมีการฟื้นตัว หลังจากที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปีที่ผ่านมามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 40% ทำให้มีแรงขายทำกำไรออกมา
ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะมีการปรับตัวดีขึ้นในช่วงในช่วงไตรมาส 2/53 ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่มีปัจจัยลบใหม่ ๆ เข้ามากระทบ เพราะ ตลาดหุ้นไทยยัง ราคาถูกเมื่อเทียบตลาดหุ้นไทยภูมิภาค และกำไรของบริษัทจดทะเบียนมีการกตเบโตที่ดีในอัตรา 15% จากปีก่อน แม้ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ก็จะมีความผันผวนเป็นระยะ ซึ่งนักลงทุนจะต้องมีการจังหวะในการลงทุนให้เหมาะสม
สำหรับการที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯมีการปรับตัวลดลงมา 10% มาอยู่ที่ 950 จุด ถือว่าไม่น่าแปลกใจเนื่องจาก ที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงมา 2 ปีติดต่อกันในปี 2552 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 60% และปี 2553 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 40% ซึ่งรวม 2ปี ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น 100 จุด
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้จะอยู่ที่ 1,200 จุด มีค่าP/E 14 เท่า โดยมองว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงต่ำสุดไม่น่าจะหลด 950 จุด จากปัจจัยพื้นฐานของตลาดหุ้นไทยยังดีอยู่ ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจในการที่จะทำให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย แต่ยอมรับว่า ประเด็นทางการเมืองอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่กดดันตลาดหุ้นไทย แต่ไม่ใช้เหตุผลหลักที่ทำให้ดัชนีปรับลดลง
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (10 ก.พ.) ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงตั้งแต่เปิดการซื้อขายภาคเช้า จากแรงกดดันที่ธนาคารกลางจีนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ส่งผลให้ประเทศในแถบเอเชียอาจจะต้องทบทวนมาตรการดูแลเงินเฟ้อของแต่ละประเทศ ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นในเอเชียปรับตัวลดลงกันอย่างถ้วนหน้า
ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นสูงสุดแตะที่ระดับ 963.28 จุด ก่อนจะปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงในช่วงบ่าย และปิดการซื้อขายในระดับที่ต่ำกว่า 950 จุด ในรอบระยะ 4 เดือน โดยปิดการซื้อขายที่ระดับ 949.09 จุด ลดลง 20.80 จุด หรือคิดเป็น 2.14% มูลค่าการซื้อขาย 32,609.63 ล้านบาท
โดยนักลงทุนสถาบัน ขายสุทธิ 1,175.66 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 546.03 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 4,522.44 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศยังคงเทขายออกมาอย่างต่อเนื่องอีก 2,800.75 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดขายสุทธิตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. 54 รวมทั้งสิ้น 8,403.09 ล้านบาท
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวสอดคล่องกันตลาดหุ้นเอเชียที่ได้รับแรงกดดันจากธนาคารกลางจีนประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อในเทศ ส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลประเทศในแถบเอเชียอาจจะต้องทบทวนมาตรการควบคุมเงินเฟ้อเช่นเดียวกัน
ขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นไทยยังได้รับปัจจัยลบจากปัญหาทางการเมือง โดยเฉพาะการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) รวมถึงปัญหาเหตุการณ์ปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
สำหรับทิศทางและแนวโน้มตลาดหุ้นไทยนั้น นักวิเคราะห์ กล่าว่า ขณะนี้ปัจจัยลบปกคลุมตลาดหุ้นไทย ส่งผลให้มีการย้ายเงินลงทุนออกจากตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มปรับตัวลดลง หลังจากหลุดแนวรับหลัก 950 จุด โดยแนวรับต่อไปจะอยู่ที่รัดบ 940 จุด
นายเกียรติศักดิ์ เจนวิภากุล กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วง3 เดือนแรกของปีนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยอาจปรับตัวลดลง 10-15% จากปีก่อน เนื่องจาก นักลงทุนต่างประเทศมีการปรับพอร์ตการลงทุนเพื่อย้ายเงินลงทุนกลับไปยังสหรัฐและยุโรปจากที่เศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวเริ่มเห็นทิศทางที่จะมีการฟื้นตัว หลังจากที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปีที่ผ่านมามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 40% ทำให้มีแรงขายทำกำไรออกมา
ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะมีการปรับตัวดีขึ้นในช่วงในช่วงไตรมาส 2/53 ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่มีปัจจัยลบใหม่ ๆ เข้ามากระทบ เพราะ ตลาดหุ้นไทยยัง ราคาถูกเมื่อเทียบตลาดหุ้นไทยภูมิภาค และกำไรของบริษัทจดทะเบียนมีการกตเบโตที่ดีในอัตรา 15% จากปีก่อน แม้ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ก็จะมีความผันผวนเป็นระยะ ซึ่งนักลงทุนจะต้องมีการจังหวะในการลงทุนให้เหมาะสม
สำหรับการที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯมีการปรับตัวลดลงมา 10% มาอยู่ที่ 950 จุด ถือว่าไม่น่าแปลกใจเนื่องจาก ที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงมา 2 ปีติดต่อกันในปี 2552 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 60% และปี 2553 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 40% ซึ่งรวม 2ปี ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น 100 จุด
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้จะอยู่ที่ 1,200 จุด มีค่าP/E 14 เท่า โดยมองว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงต่ำสุดไม่น่าจะหลด 950 จุด จากปัจจัยพื้นฐานของตลาดหุ้นไทยยังดีอยู่ ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจในการที่จะทำให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย แต่ยอมรับว่า ประเด็นทางการเมืองอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่กดดันตลาดหุ้นไทย แต่ไม่ใช้เหตุผลหลักที่ทำให้ดัชนีปรับลดลง