“กรณ์” ห่วงปัญหาเงินเฟ้อฉุดเศรษฐกิจปีนี้ รับเป็นปัญหาใหญ่ที่ลุกลามไปทั่วโลก แต่เชื่อกระทบไทยน้อยเหตุยังรักษากรอบเงินเฟ้อในระดับที่เหมาะสม ยันขึ้นดอกเบี้ยกระทบหนี้สินภาคเอกชนไม่มาก
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ปัญหาที่กดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญในปีนี้ คือ อัตราเงินเฟ้อ จากราคาสินค้าที่แพงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่ของทุกประเทศทั่วโลกรวมถึงไทยด้วย แต่อัตราเงินเฟ้อของไทยยังอยู่ในกรอบข้อตกลงระหว่างกระทรวงการคลังกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ระดับ 0.5-3.0% แต่การที่ราคาสินค้า ค่าครองชีพและต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบที่สูงขึ้น ถือเป็นปัญหาท้าทายของรัฐบาล ที่จะสะท้อนถึงความสามารถในการดูแลปัญหาเงินเฟ้อโดยไม่กระทบเศรษฐกิจระยะยาว
สำหรับเครื่องมือที่จะใช้ดูแลไม่ให้เงินเฟ้อเป็นปัญหาต่อเศรษฐกิจ คือ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งหากจำเป็นก็ต้องปรับเพิ่มขึ้น แต่ก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการด้วย เพราะคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกระทบต่อต้นทุนทางการเงินรวมถึงการใช้จ่ายของประชาชน ดังนั้น ทุกคนก็ต้องเตรียมตัวรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะตามมา แต่เชื่อว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่จะยังอยู่ในขาขึ้นต่อไปนั้น จะไม่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการมากนัก เนื่องจากหนี้สินต่อทุนของผู้ประกอบการไทยโดยรวม ยังต่ำกว่าผู้ประกอบการของต่างประเทศ
“ในความเป็นจริงแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหาใกล้ตัวเหมือนกันราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นซึ่งมีผลต่อค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการจะมองว่าเงินเฟ้อทำให้ภาระต้นทุนสูงขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อจึงเป็นความท้าทายของรัฐบาล ที่จะดูแลไม่ให้เป็นปัญหาเรื้อรัง ดังนั้นปัญหาราคาสินค้าแพง จึงเป็นปัญหาอันดับแรกๆ ที่ประชาชนนึกถึง และท้าทายรัฐบาลด้วย” นายกรณ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ข้อดีของไทยหากเทียบกับประเทศอื่นๆ คือ ภาคเอกชนยังมีระดับหนี้สินต่อทุนต่ำมาก เมื่อเทียบกับในอดีต ทำให้เงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นเหมือนกันในช่วงนี้น่าจะกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยน้อยกว่าของประเทศอื่นๆ เพราะต้นทุนผู้ประกอบการในต่างประเทศสูงกว่ามาก ดังนั้น แม้ว่าภาระดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น แต่ผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยคงมีไม่มาก ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยก็ยังอยู่ในระดับต่ำและสามารถปรับเพิ่มขึ้นได้อีก
นายกรณ์ กล่าวว่า ภาครัฐตระหนักถึงปัญหาเงินเฟ้อและเริ่มมีความระมัดระวัง มากขึ้น โดยจะเห็นได้จากการจัดทำกรอบงบประมาณ ปี 55 ที่ขาดดุลลดลงเหลือเพียง 3.5 แสนล้านบาทจากปี 54 ที่ขาดดุล 4.2 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ จากการใช้งบประมาณของภาครัฐมีน้อยลง ขณะเดียวกัน ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 54 ยังถือว่า มีเสถียรภาพในระดับที่ดี เห็นได้จากหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และล่าสุด อยู่ระดับกว่า 41% และอัตราแลกเปลี่ยนในปีนี้ มีความสมดุลมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยอยู่ในระดับกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ความกังวลเรื่องเงินบาทแข็งค่าลดลงไป
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ปัญหาที่กดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญในปีนี้ คือ อัตราเงินเฟ้อ จากราคาสินค้าที่แพงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่ของทุกประเทศทั่วโลกรวมถึงไทยด้วย แต่อัตราเงินเฟ้อของไทยยังอยู่ในกรอบข้อตกลงระหว่างกระทรวงการคลังกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ระดับ 0.5-3.0% แต่การที่ราคาสินค้า ค่าครองชีพและต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบที่สูงขึ้น ถือเป็นปัญหาท้าทายของรัฐบาล ที่จะสะท้อนถึงความสามารถในการดูแลปัญหาเงินเฟ้อโดยไม่กระทบเศรษฐกิจระยะยาว
สำหรับเครื่องมือที่จะใช้ดูแลไม่ให้เงินเฟ้อเป็นปัญหาต่อเศรษฐกิจ คือ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งหากจำเป็นก็ต้องปรับเพิ่มขึ้น แต่ก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการด้วย เพราะคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกระทบต่อต้นทุนทางการเงินรวมถึงการใช้จ่ายของประชาชน ดังนั้น ทุกคนก็ต้องเตรียมตัวรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะตามมา แต่เชื่อว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่จะยังอยู่ในขาขึ้นต่อไปนั้น จะไม่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการมากนัก เนื่องจากหนี้สินต่อทุนของผู้ประกอบการไทยโดยรวม ยังต่ำกว่าผู้ประกอบการของต่างประเทศ
“ในความเป็นจริงแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหาใกล้ตัวเหมือนกันราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นซึ่งมีผลต่อค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการจะมองว่าเงินเฟ้อทำให้ภาระต้นทุนสูงขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อจึงเป็นความท้าทายของรัฐบาล ที่จะดูแลไม่ให้เป็นปัญหาเรื้อรัง ดังนั้นปัญหาราคาสินค้าแพง จึงเป็นปัญหาอันดับแรกๆ ที่ประชาชนนึกถึง และท้าทายรัฐบาลด้วย” นายกรณ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ข้อดีของไทยหากเทียบกับประเทศอื่นๆ คือ ภาคเอกชนยังมีระดับหนี้สินต่อทุนต่ำมาก เมื่อเทียบกับในอดีต ทำให้เงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นเหมือนกันในช่วงนี้น่าจะกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยน้อยกว่าของประเทศอื่นๆ เพราะต้นทุนผู้ประกอบการในต่างประเทศสูงกว่ามาก ดังนั้น แม้ว่าภาระดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น แต่ผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยคงมีไม่มาก ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยก็ยังอยู่ในระดับต่ำและสามารถปรับเพิ่มขึ้นได้อีก
นายกรณ์ กล่าวว่า ภาครัฐตระหนักถึงปัญหาเงินเฟ้อและเริ่มมีความระมัดระวัง มากขึ้น โดยจะเห็นได้จากการจัดทำกรอบงบประมาณ ปี 55 ที่ขาดดุลลดลงเหลือเพียง 3.5 แสนล้านบาทจากปี 54 ที่ขาดดุล 4.2 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ จากการใช้งบประมาณของภาครัฐมีน้อยลง ขณะเดียวกัน ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 54 ยังถือว่า มีเสถียรภาพในระดับที่ดี เห็นได้จากหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และล่าสุด อยู่ระดับกว่า 41% และอัตราแลกเปลี่ยนในปีนี้ มีความสมดุลมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยอยู่ในระดับกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ความกังวลเรื่องเงินบาทแข็งค่าลดลงไป