xs
xsm
sm
md
lg

หนุนรับเหมาลดต้นทุน รับมือแข่งประมูลงานไทยเข้มแข็ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ม.หอการค้าไทยชี้ปี 53 ปีทองอุตสาหกรรมก่อสร้าง เหตุจากงบไทยเข้มแข็งหนุนก่อสร้างทั่วประเทศ -เมกะโปรเจคต์ แนะผู้รับเหมา ผู้ค้าวัสดุลดต้นทุนโลจิสติกส์ โดยเฉพาะค่าขนส่งเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ประมูลงาน พร้อมเผยต้นทุนโลจีสติกส์อุตสหากรรรมก่อสร้างไทยสูง 18.6% ของยอดขายขณะที่อเมริกาอยู่ที่ 10%

อุตสาหกรรมก่อสร้างถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ หากผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน สร้างผลกำไรได้มากขึ้นก็จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะการลดต้นทุนที่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า นั้นคือ ต้นทุนโลจิสติกส์อันประกอบด้วย ตุ้นทุนการขนส่ง, ต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลัง, ต้นทุนคลังสินค้า และต้นทุนการบริหารจัดการ

นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักโลจิสติกส์และการเหมืองแร่ กล่าวว่า สัดส่วนอุตสาหกรรมก่อสร้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูก่อนปี 2540 มีค่าสูงถึงร้อยละ 6.5 มีเม็ดเงินลงทุน 9 แสนล้านบาท และมีการจ้างแรงงานประมาณ 4 ล้านคน และเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นไข้รอบ 2 มูลค่าอุตสหากรรมก่อสร้างมีสัดส่วนลดลงเหลือเพียงร้อยละ 3.0 ของ GDP มีเม็ดเงินลงทุน 7.5 แสนล้านบาท และการจ้างแรงงานลดลงเหลือ 2.5 ล้านคน

อย่างไรก็ตามการจัดทำดัชนีต้นทุนโลจิสติกส์ของอุตสหากรรมก่อสร้าง เพื่อเป็นเครื่องมืองบ่งชี้ทิศทางและคาดการณ์แนวโน้มของต้นทุนโลจิสติกส์ตามภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งกำหนดแนวทางในการลดต้นทุนโลจิสตกส์ตามภาวะเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้รับเหมา ผู้ค้าวัสดุ โดยเฉพาะรายกลาง-รายย่อย ได้นำไปเป็นแนวทางในการลดต้นทุน

ทั้งนี้จากการเก็บรวมรวมข้อมูลของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยพบว่า ในปี 2552 หินอุตสาหกรรมมีต้นทุนโลจิสติกส์ คิดเป็นสัดส่วนต่อยอดขายร้อยละ 20.72, หินประดับมีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ร้อยละ 19.19, ส่วนทรายอุตสาหกรรมมีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อยอดขายร้อยละ 16.73 และอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อยอดขายคิดเป็นร้อยละ 13.96 โดยต้นทุนการขนส่งจะมีสัดส่วนสูงที่สุดคือร้อยละ 50-75 ของต้นทุนโลจิสติกส์รวม

นอกจากนี้ยังพบว่าการลดต้นทุนโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมก่อสร้างจะมีประสิทธิภาพ ต้องวางแผนตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ โดยความร่วมมือระหว่างลุกค้า ผู้ออกแบบและผู้รับเหมาต้องมีการนำระบบ Just-in-Time และระบบสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินการ ซึ่งผู้ประกอบการควรมีการจัดตั้งศูนย์โลจิสติกาเพื่อทำหน้าที่รวบรวมวัสดุก่อสร้างจากผู้ผลิตและซัพพลายเออร์ไปยังไซต์งานที่กำหนด

ดร.พงษ์ธนา วนิชย์กอบจินดา ผู้อำนวยการหลักสูตร CEO MBA โลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ปี 53 จะเป็นปีที่ดีของอุตหสากรรมก่อสร้าง เนื่องมาจากโครงการเมกะโปรเจกต์ที่จะเริ่มก่อสร้างในปีนี้ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า รวมไปถึงโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลที่เน้นดครงการก่อสร้างต่างๆ อาทิ ถนนปลอดฝุ่น งานก่อสร้างต่างๆ และคาดว่าจะเริ่มมีการเบิกจ่ายเงินเข้าสู่ระบบในปีนี้อีกหลายแสนล้านบาท อนกจากนี้ยังมีโครงการอาคารคารชุดของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่จะก่อสร้างในปีนี้อีกจำนวนมาก ดังนั้นผู้รับเหมาจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับงานที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการลดต้นทุน การบริหารจัดการภายใน การจัดการเรื่องซัพพลายเซน เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้

“การแข่งขันในอุตสาหกรรมก่อสร้างจะต้องพิจารณาถึงต้นทุนเป็นอันดับแรก ถ้าเราไม่สามารถลดต้นทุนภายในได้ การแข่งขันก็จะทำได้อยาก ต้นทุนราคาสินค้าเชื่อว่าทุกคนคงไม่ต่างกันมาก ดังนั้นสิ่งที่ลดได้ คือต้องลดต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า นั้นก็คือต้นทุนโลจิสติกส์ เช่น ขนของให้เต็มคันลด หากไซน์งานอยู่ในเส้นทางเดียวกันก็ขนของไปในเที่ยวเดียวกันได้ การกำหนดระยะเวลาให้วัสดุอย่างชัดเจนเพื่อลดพื้นที่การจัดเก็บในคลังสินค้า เป็นต้น”

ทั้งนี้ต้นทุนโลจิสติกส์ของอุตสหากรรมก่อสร้างไทยถือว่าอยู่ในระดับสูงคือประมาณ 18.6% ของยอดขายเมื่อเทียบกับประเทศที่เจริญแล้ว เช่น อเมริกา จีนมีต้นทุนโลจิสติกส์เพียง 10% นอกจากนี้ยังพบอีกว่าต้นทุนโลจิสติกส์ของธุรกิจ SME ไทยยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยบางรายสูงถึง 30% ขณะที่กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ มีต้นทุนกว่า 10% เท่านั้น ดังนั้นอุตสาหกรรมไทยยังสามารถลดต้นทุนลงได้อีกมาก
กำลังโหลดความคิดเห็น