กลุ่มปูนใหญ่เผยปี 52 ฟันกำไรกว่า 2.4 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้นสูงถึง 45% โดยเป็นผลจากกำลังการผลิตเพิ่ม-ลดต้นทุน สวนทางยอดขายที่หดตัวลง 19% คาดแนวโน้มปี 53 กำไรโตได้อีก 5-10% ระบุ ยอดขายซิเมนต์-กระดาษ-วัสดุก่อสร้าง-ปิโตรฯ เติบโตดี
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC เปิดเผยว่า ผลประกอบการก่อนตรวจสอบประจำปี 2552 ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธื 24,346 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 45% จากปีก่อน โดยธุรกิจเคมีภัณฑ์ กระดาษ และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง มีผลประกอบการที่ดีขึ้นจากปีที่แล้วอย่างมาก
"แม้ว่ายอดขายของทั้งกลุ่มจะลดลง 19% จากปีก่อน เป็นผลมาจากการขายผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ และกระดาษ ในตลาดโลกลดลง โดยในปี 2552 มียอดขายสุทธิทั้งสิ้น 238,664 ล้านบาท"
สำหรับผลประกอบการในไตรมาส 4 ปี 2552 บริษัทและบริษัทย่อย พลิกจากการขาดทุนสิทธิ 3,480 ล้านบาทในไตรมาส 4 ของปีก่อน มาเป็นกำไรสุทธิ 5,333 ล้านบาท ขณะที่มียอดขายสุทธิ 62,030 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนแนวโน้มปี 2553 คาดว่า กำไรจะสูงขึ้นจากปีก่อนที่มีกำไร 2.44 หมื่นล้านบาท เนื่องจากธุรกิจทั้งปูนซิเมนต์ กระดาษ และวัสดุก่อสร้าง จะเติบโตราว 5-10% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีที่เคยมีความกังวลว่าอาจจะเข้าสู่ช่วงขาลง แต่ก็คาดว่ายอดขายก็ยังน่าจะเติบโตได้ถึง 10% หลังจากเห็นแนวโน้มราคาปิโตรเคมียังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี นอกจากนั้น บริษัทได้มีการลดต้นทุนการผลิต และต้นทุนด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง
กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือ SCC กล่าวว่า กำลังการผลิตปิโตรเคมีในตลาดโลกที่เคยคาดว่าจะเพิ่มเข้ามาอีก 11-12 ล้านตัน แต่ปรากฎว่าขณะนี้มีเข้ามาเพียง 6 ล้านตัน เนื่องจากผู้ผลิตยังมีปัญหาด้านการก่อสร้าง ทำให้กำลังการผลิตใหม่ล่าช้ากว่าแผน ประกอบกับมีผู้ผลิตในยุโรป และอเมริกา ที่ประสบปัญหาและปิดกิจการไป ทำให้กำลังการผลิตปิโตรเคมีหายไป 5 ล้านตัน
ดังนั้น จึงเชื่อว่าปีนี้ราคาปิโตรเคมียังคงรักษาระดับราคาและมาร์จิ้นที่ดี โดยในช่วงต้นปี 53 มาร์จิ้นปิโตรเคมียังสูงกว่าช่วงไตรมาส 4 ปี 2552 ที่มีมาร์จิ้นอยู่ที่ 530 ดอลลาร์ต่อตัน ปัจจุบัน มาร์จิ้นที่ 580 ดอลลาร์ต่อตัน เป็นระดับที่ดีมาก
สำหรับธุรกิจปูนซิเมนต์ กระดาษ และวัสดุก่อสร้าง เชื่อว่าจะเติบโตในระดับ 5-10% เช่นเดียวกัน เนื่องจากในธุรกิจกระดาษมีกำลังการผลิตใหม่เข้ามาจากโรงกระดาษขอนแก่นและเวียดนาม ส่วนซิเมนต์คาดว่าจะมีการปรับราคาที่ดีขึ้นในช่วงไตรมาส 1 ปี 2553 ซึ่งเป็นฤดูกาลขายที่ดีอยู่แล้ว และปีนี้หากมีความชัดเจนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสีน้ำเงิน เชื่อว่าจะมีการใช้ซิเมนต์ที่สูงขึ้นอีกมาก
นายกานต์ กล่าวว่า ในปีนี้บริษัทตั้งงบลงทุน 20,000 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน โดยเงินลงทุน 50% หรือประมาณ 10,000 ล้านบาท ใช้ลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมี ส่วนอีก 5-6 พันล้านบาทใช้ในการปรับปรุงเครื่องจักร และ 3-4 พันล้านบาท ใช้ลงทุนเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงาน
ส่วนโครงการลงทุนในมาบตาพุดที่ศาลปกครองยกคำร้องอุทธรณ์ 30 โครงการ เป็นโครงการของเครือปูนซีเมนต์ไทย ที่ดำเนินการร่วมกับพันธมิตร 11 โครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่าจะใช้เวลาแก้ปัญหา 8-12 เดือน โดยมี 4-5 โครงการที่จะรับรู้รายได้ในช่วงปลายปี 53 และในปี 2554 แต่ทางบริษัทยังไม่มีการประเมินตัวเลขรายได้จากโครงการดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เครือซิเมนต์ไทยยังคงลงทุนต่อเนื่อง เพื่อต้องการเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน โดยอยู่ระหว่างการศึกษา M&A โดยการเข้าร่วมทุนทั้งด้านปิโตรเคมี กระดาษ วัสดุก่อสร้าง ซึ่งแต่ละโครงการจะใช้เงินลงทุนหลักพันล้านบาท โดยในไตรมาส 1 ปี 2553 น่าจะมีความชัดเจนอย่างน้อย 1 โครงการ จากช่วงปลายปี 2552 ที่สามารถสรุปโครงการ M&A ได้แล้ว 1 แห่ง เป็นโรงงานผลิตกล่องกระดาษในประเทศเวียดนาม
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC เปิดเผยว่า ผลประกอบการก่อนตรวจสอบประจำปี 2552 ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธื 24,346 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 45% จากปีก่อน โดยธุรกิจเคมีภัณฑ์ กระดาษ และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง มีผลประกอบการที่ดีขึ้นจากปีที่แล้วอย่างมาก
"แม้ว่ายอดขายของทั้งกลุ่มจะลดลง 19% จากปีก่อน เป็นผลมาจากการขายผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ และกระดาษ ในตลาดโลกลดลง โดยในปี 2552 มียอดขายสุทธิทั้งสิ้น 238,664 ล้านบาท"
สำหรับผลประกอบการในไตรมาส 4 ปี 2552 บริษัทและบริษัทย่อย พลิกจากการขาดทุนสิทธิ 3,480 ล้านบาทในไตรมาส 4 ของปีก่อน มาเป็นกำไรสุทธิ 5,333 ล้านบาท ขณะที่มียอดขายสุทธิ 62,030 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนแนวโน้มปี 2553 คาดว่า กำไรจะสูงขึ้นจากปีก่อนที่มีกำไร 2.44 หมื่นล้านบาท เนื่องจากธุรกิจทั้งปูนซิเมนต์ กระดาษ และวัสดุก่อสร้าง จะเติบโตราว 5-10% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีที่เคยมีความกังวลว่าอาจจะเข้าสู่ช่วงขาลง แต่ก็คาดว่ายอดขายก็ยังน่าจะเติบโตได้ถึง 10% หลังจากเห็นแนวโน้มราคาปิโตรเคมียังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี นอกจากนั้น บริษัทได้มีการลดต้นทุนการผลิต และต้นทุนด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง
กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือ SCC กล่าวว่า กำลังการผลิตปิโตรเคมีในตลาดโลกที่เคยคาดว่าจะเพิ่มเข้ามาอีก 11-12 ล้านตัน แต่ปรากฎว่าขณะนี้มีเข้ามาเพียง 6 ล้านตัน เนื่องจากผู้ผลิตยังมีปัญหาด้านการก่อสร้าง ทำให้กำลังการผลิตใหม่ล่าช้ากว่าแผน ประกอบกับมีผู้ผลิตในยุโรป และอเมริกา ที่ประสบปัญหาและปิดกิจการไป ทำให้กำลังการผลิตปิโตรเคมีหายไป 5 ล้านตัน
ดังนั้น จึงเชื่อว่าปีนี้ราคาปิโตรเคมียังคงรักษาระดับราคาและมาร์จิ้นที่ดี โดยในช่วงต้นปี 53 มาร์จิ้นปิโตรเคมียังสูงกว่าช่วงไตรมาส 4 ปี 2552 ที่มีมาร์จิ้นอยู่ที่ 530 ดอลลาร์ต่อตัน ปัจจุบัน มาร์จิ้นที่ 580 ดอลลาร์ต่อตัน เป็นระดับที่ดีมาก
สำหรับธุรกิจปูนซิเมนต์ กระดาษ และวัสดุก่อสร้าง เชื่อว่าจะเติบโตในระดับ 5-10% เช่นเดียวกัน เนื่องจากในธุรกิจกระดาษมีกำลังการผลิตใหม่เข้ามาจากโรงกระดาษขอนแก่นและเวียดนาม ส่วนซิเมนต์คาดว่าจะมีการปรับราคาที่ดีขึ้นในช่วงไตรมาส 1 ปี 2553 ซึ่งเป็นฤดูกาลขายที่ดีอยู่แล้ว และปีนี้หากมีความชัดเจนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสีน้ำเงิน เชื่อว่าจะมีการใช้ซิเมนต์ที่สูงขึ้นอีกมาก
นายกานต์ กล่าวว่า ในปีนี้บริษัทตั้งงบลงทุน 20,000 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน โดยเงินลงทุน 50% หรือประมาณ 10,000 ล้านบาท ใช้ลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมี ส่วนอีก 5-6 พันล้านบาทใช้ในการปรับปรุงเครื่องจักร และ 3-4 พันล้านบาท ใช้ลงทุนเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงาน
ส่วนโครงการลงทุนในมาบตาพุดที่ศาลปกครองยกคำร้องอุทธรณ์ 30 โครงการ เป็นโครงการของเครือปูนซีเมนต์ไทย ที่ดำเนินการร่วมกับพันธมิตร 11 โครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่าจะใช้เวลาแก้ปัญหา 8-12 เดือน โดยมี 4-5 โครงการที่จะรับรู้รายได้ในช่วงปลายปี 53 และในปี 2554 แต่ทางบริษัทยังไม่มีการประเมินตัวเลขรายได้จากโครงการดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เครือซิเมนต์ไทยยังคงลงทุนต่อเนื่อง เพื่อต้องการเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน โดยอยู่ระหว่างการศึกษา M&A โดยการเข้าร่วมทุนทั้งด้านปิโตรเคมี กระดาษ วัสดุก่อสร้าง ซึ่งแต่ละโครงการจะใช้เงินลงทุนหลักพันล้านบาท โดยในไตรมาส 1 ปี 2553 น่าจะมีความชัดเจนอย่างน้อย 1 โครงการ จากช่วงปลายปี 2552 ที่สามารถสรุปโครงการ M&A ได้แล้ว 1 แห่ง เป็นโรงงานผลิตกล่องกระดาษในประเทศเวียดนาม