แบงก์กรุงไทยตั้งเป้าสินเชื่อรายย่อย ปี 53 โตไม่น้อยกว่า ปี 52 มีลุ้นทะลุแสนล้านบาทหลังเศรษฐกิจฟื้น เน้นสินเชื่อบุคคลพร้อมรุกปั๊มรายได้ค่าฟีปีนี้เพิ่ม 30 % ตั้งเป้าขยายฐานลูกค้าใช้บริการชำระเงินผ่านธนาคาร 1 พันแห่ง
นายอนุชิต อนุชิตานุกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารสายงาน สายงานบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาดธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) เปิดเผยว่า สำหรับสินเชื่อรายย่อยของธนาคารในปี 2553 นี้ได้ตั้งเป้าหมายเติบโตไว้ไม่น้อยกว่าปี 2552 โดยจะเน้นไปที่สินเชื่อบุคคล และสินเชื่อที่อยู่อาศัย เนื่องจากมองว่าตลาดยังสามารถเติบโตได้อีกมาก อีกทั้งประชาชนเริ่มกลับมามีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดีปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ประเด็นทางการเมืองที่ไม่ควรเกิดความรุนแรงอันจะมีผลต่อความเชื่อมั่นได้ ซึ่งสินเชื่อบุคคลของธนาคารประกอบด้วย สินเชื่อสวัสดิการ และสินเชื่อธนวัฎ โดยปัจจุบันมีฐานสินเชื่อคงค้างประมาณ 5 หมื่นล้านบาท
"ในปีที่แล้วธนาคารมียอดการปล่อยสินเชื่อใหม่ 8-9 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นยอดสินเชื่อเพิ่มขึ้นสุทธิ 3.5หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ฐานสินเชื่อรายย่อยสิ้นปีที่แล้วอยู่ที่ 2.7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมา 27 % ของสินเชื่อรวม ซึ่งในสิ้นปีนี้สินเชื่อรายย่อยน่าจะได้เป็นแสนล้านบาท ก็พยายามอยู่ แต่ในใจแล้วส่วนตัวตั้งไว้ว่าสินเชื่อสุทธิอยากให้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 เท่า ซึ่งจะเป็นการโตอย่างก้าวกระโดด ทั้งนี้ ธนาคารมองว่าการแข่งขันปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในปีนี้ จะรุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมาแน่นอน และต้องเหนื่อยมากขึ้นซึ่งจะเห็นได้จากช่วงต้นปีนี้ที่ทุกธนาคารเริ่มทำการตลาดแล้ว"นายอนุชิต กล่าว
ขณะเดียวกันธนาคารก็ตั้งเป้าหมายเติบโตรายได้ค่าธรรมเนียมรวมในปีนี้ไว้ที่ 30% จากสิ้นปีแล้วที่ธนาคารสามารถสร้างรายได้ค่าธรรมเนียมเติบโตมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท และมีสัดส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมในปัจจุบันยังไม่ถึง 20% ของรายได้รวม ซึ่งในสิ้นปีนี้ธนาคารจะพยายามที่จะเพิ่มสัดส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมให้ถึง 20% ของรายได้รวม โดยธนาคารเตรียมที่จะเพิ่มจำนวนตู้ ATM และ ADM รวมกันอีก 1,300 ตู้ และประเมินว่าในสิ้นปีนี้ธนาคารจะมีตู้ ATM ของธนาคารประมาณ 8,000 ตู้ โดยจะเน้นการเพิ่มในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นหลัก
"ในปีนี้ที่เราต้องเพิ่มจำนวนตู้ ATM เยอะขึ้น เพราะจำนวนบัตรเรามีมาก ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานของลูกค้า โดยรวมบัตรทุกประเภทของธนาคารในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 11 ล้านบัตร แต่ยอดบัตรใหม่ปีนี้อาจจะลดลงเล็กน้อยแต่คงไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านบัตร เพราะปีก่อนมีบัตรพิเศษออกมาเยอะ” นายอนุชิต กล่าว
ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้าหมายว่าจะรุกตลาดการให้บริการรับชำระเงิน หรือ Bill Payment อย่างต่อเนื่องโดยตั้งเป้าจะเพิ่มฐานลูกค้าอีก 1,000 บริษัท และไตรมาส 1 ปีนี้จะเพิ่มไม่ต่ำกว่า 250 บริษัท และตั้งเป้ายอดทำรายการและรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น 30% คิดเป็นยอดทำรายการจะเพิ่มขึ้นอีก 6-7 ล้านรายการ และมีรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มเป็น 300 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 27 ล้านรายการ มีรายได้ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 200 ล้านบาท โดยล่าสุดธนาคารได้ร่วมกับ บริษัทฮอนด้าลีสซิ่ง จำกัด รับชำระค่าเช่าซื้อ และผ่อนชำระรถยนต์ ผ่าน 4 ช่องทางบริการ ได้แก่ ทางเอทีเอ็ม เอดีเอ็ม ระบบ Internet Banking และระบบ Mobile Banking ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด นอกจากนี้ยังสามารถใช้บริการที่เคาน์เตอร์สาขาของธนาคารกว่า 870 แห่งทั่วประเทศ
นายอนุชิต อนุชิตานุกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารสายงาน สายงานบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาดธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) เปิดเผยว่า สำหรับสินเชื่อรายย่อยของธนาคารในปี 2553 นี้ได้ตั้งเป้าหมายเติบโตไว้ไม่น้อยกว่าปี 2552 โดยจะเน้นไปที่สินเชื่อบุคคล และสินเชื่อที่อยู่อาศัย เนื่องจากมองว่าตลาดยังสามารถเติบโตได้อีกมาก อีกทั้งประชาชนเริ่มกลับมามีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดีปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ประเด็นทางการเมืองที่ไม่ควรเกิดความรุนแรงอันจะมีผลต่อความเชื่อมั่นได้ ซึ่งสินเชื่อบุคคลของธนาคารประกอบด้วย สินเชื่อสวัสดิการ และสินเชื่อธนวัฎ โดยปัจจุบันมีฐานสินเชื่อคงค้างประมาณ 5 หมื่นล้านบาท
"ในปีที่แล้วธนาคารมียอดการปล่อยสินเชื่อใหม่ 8-9 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นยอดสินเชื่อเพิ่มขึ้นสุทธิ 3.5หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ฐานสินเชื่อรายย่อยสิ้นปีที่แล้วอยู่ที่ 2.7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมา 27 % ของสินเชื่อรวม ซึ่งในสิ้นปีนี้สินเชื่อรายย่อยน่าจะได้เป็นแสนล้านบาท ก็พยายามอยู่ แต่ในใจแล้วส่วนตัวตั้งไว้ว่าสินเชื่อสุทธิอยากให้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 เท่า ซึ่งจะเป็นการโตอย่างก้าวกระโดด ทั้งนี้ ธนาคารมองว่าการแข่งขันปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในปีนี้ จะรุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมาแน่นอน และต้องเหนื่อยมากขึ้นซึ่งจะเห็นได้จากช่วงต้นปีนี้ที่ทุกธนาคารเริ่มทำการตลาดแล้ว"นายอนุชิต กล่าว
ขณะเดียวกันธนาคารก็ตั้งเป้าหมายเติบโตรายได้ค่าธรรมเนียมรวมในปีนี้ไว้ที่ 30% จากสิ้นปีแล้วที่ธนาคารสามารถสร้างรายได้ค่าธรรมเนียมเติบโตมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท และมีสัดส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมในปัจจุบันยังไม่ถึง 20% ของรายได้รวม ซึ่งในสิ้นปีนี้ธนาคารจะพยายามที่จะเพิ่มสัดส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมให้ถึง 20% ของรายได้รวม โดยธนาคารเตรียมที่จะเพิ่มจำนวนตู้ ATM และ ADM รวมกันอีก 1,300 ตู้ และประเมินว่าในสิ้นปีนี้ธนาคารจะมีตู้ ATM ของธนาคารประมาณ 8,000 ตู้ โดยจะเน้นการเพิ่มในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นหลัก
"ในปีนี้ที่เราต้องเพิ่มจำนวนตู้ ATM เยอะขึ้น เพราะจำนวนบัตรเรามีมาก ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานของลูกค้า โดยรวมบัตรทุกประเภทของธนาคารในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 11 ล้านบัตร แต่ยอดบัตรใหม่ปีนี้อาจจะลดลงเล็กน้อยแต่คงไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านบัตร เพราะปีก่อนมีบัตรพิเศษออกมาเยอะ” นายอนุชิต กล่าว
ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้าหมายว่าจะรุกตลาดการให้บริการรับชำระเงิน หรือ Bill Payment อย่างต่อเนื่องโดยตั้งเป้าจะเพิ่มฐานลูกค้าอีก 1,000 บริษัท และไตรมาส 1 ปีนี้จะเพิ่มไม่ต่ำกว่า 250 บริษัท และตั้งเป้ายอดทำรายการและรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น 30% คิดเป็นยอดทำรายการจะเพิ่มขึ้นอีก 6-7 ล้านรายการ และมีรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มเป็น 300 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 27 ล้านรายการ มีรายได้ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 200 ล้านบาท โดยล่าสุดธนาคารได้ร่วมกับ บริษัทฮอนด้าลีสซิ่ง จำกัด รับชำระค่าเช่าซื้อ และผ่อนชำระรถยนต์ ผ่าน 4 ช่องทางบริการ ได้แก่ ทางเอทีเอ็ม เอดีเอ็ม ระบบ Internet Banking และระบบ Mobile Banking ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด นอกจากนี้ยังสามารถใช้บริการที่เคาน์เตอร์สาขาของธนาคารกว่า 870 แห่งทั่วประเทศ