ศูนย์ข้อมูลฯ เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการพุ่ง 57.8 สูงสุดนับตั้งแต่สำรวจมา ส่วนดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า 69.9 ส่วนผลสำรวจยอดโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 5 จังหวัด รอบ 11 เดือนแรกของปี 52 โต 3% รวม 1.38 แสนยูนิต คอนโดฯ ทะลุ 4.7 หมื่นหน่วย
นายขรรค์ ประจวบเหมา ประธานกรรมการดำเนินการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ไตรมาส 4 ปี 52 มีผู้ประกอบการตอบแบบสอบถามจำนวน 157 บริษัท ซึ่งผลการสำรวจ พบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาสปัจจุบันสูงถึง57.8 สูงที่สุดเท่าที่ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้เคยจัดทำ โดยไตรมาสที่แล้วค่าดัชนี้อยู่ที่ 55.8 โดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีค่าความเชื่อมั่นในไตรมาสปัจจุบัน 65.4 ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนี 61.9 ส่วนบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียน มีค่าดัชนีความเชื่อมั่น 50.1 สูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ดัชนีมีค่าสูงกว่าค่ากลาง (ค่ากลางเท่ากับ 50) สะท้อนความเชื่อมั่นภาพรวมของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งอยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ดีขึ้นมาก
ทั้งนี้ การปรับตัวของดัชนีในไตรมาสนี้ โดยภาพรวม สะท้อนจากมุมมองด้านบวกจากทั้งผลประกอบการ ยอดขาย การจ้างงาน และการเปิดโครงการใหม่เพิ่มขึ้น ขณะที่ต้นทุนการประกอบการก็ปรับตัวดีขึ้นด้วย และด้วยอานิสงส์ของมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ใกล้จะหมดอายุลง ทำให้ผู้ประกอบการเร่งก่อสร้างและโอนกรรมสิทธิ์เป็นจำนวนมาก ประกอบกับผู้บริโภคได้รับแรงกระตุ้นจากรายการส่งเสริมการขายของโครงการต่างๆ ด้วย
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลฯ กล่าวว่า สำหรับดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) ประจำไตรมาส 4/52 มีค่าเท่ากับ 70.4 สูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่มีค่าเท่ากับ 69.9 โดยในส่วนของบริษัทจดทะเบียนมีค่าดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 76.5 และบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนมีค่าดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 64.4
ส่วนดัชนีราคาที่อยู่อาศัยประจำไตรมาส 4 ปี 52 ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 3 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ) พบว่าเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ระดับราคาที่ดิน ราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดิน และราคาทาวเฮาส์พร้อมที่ดิน ต่างเพิ่มขึ้น โดยดัชนีราคาที่ดิน ประจำไตรมาสที่ 4 ปี52 ดัชนีเท่ากับ 184.8 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.3% เมื่อเทียบกับ 178.9 ในไตรมาส 3/52ขณะที่ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดิน ประจำไตรมาสที่ 4 ปี 52 เท่ากับ 154.9 ปรับตัวขึ้น 3.1% เทียบกับ 150.2 ในไตรมาส 3/52 ดัชนีราคาทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดิน เท่ากับ 153.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเทียบกับ 151.0 ในไตรมาสก่อน
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาความเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาที่ยาวขึ้น คือปีต่อปี พบว่า ราคาที่ดินค่อนข้างคงที่ คือมีการปรับตัวขึ้นเพิ่มขึ้นเพียง0.6% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 51 ในขณะที่บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดินมีการปรับตัวลดลงจากช่วงเวลาเดี่ยวกันในปีก่อน 4% เนื่องจากราคาค่าก่อสร้างที่ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากฐานข้อมูลที่นำมาใช้คิดคำนวณดัชนีราคาที่อยู่อาศัยคือข้อมูลหลักประกันของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โปรโมชั่นต่างๆของธนาคารที่ออกมาในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา
**ยอดจดทะเบียน11เดือนปี52โต3%
นายสมัมากล่าวว่า ส่วนตัวเลขการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 5 จังหวัด ในรอบ 11 เดือนแรกของปีนี้ พบว่ามีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท ทั้งที่อยู่อาศัย ที่ดินเปล่า และอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย รวมกันประมาณ 189,300 หน่วย เพิ่มขึ้น3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาแบ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียม 138,500 หน่วย รองลงมาเป็นทาวน์เฮาส์ 44,600 หน่วย และบ้านเดี่ยวประมาณ 28,600 หน่วย อาคารพาณิชย์ 13,500 หน่วย และบ้านแฝดประมาณ 4,100 หน่วย ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยนั้น พบว่ามีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเปล่ามากถึง 43,800 แปลง โดยกรุงเทพฯ มีจำนวนแปลงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ของที่อยู่อาศัยมากที่สุด 60%ของที่อยู่อาศัยที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด
นายขรรค์ ประจวบเหมา ประธานกรรมการดำเนินการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ไตรมาส 4 ปี 52 มีผู้ประกอบการตอบแบบสอบถามจำนวน 157 บริษัท ซึ่งผลการสำรวจ พบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาสปัจจุบันสูงถึง57.8 สูงที่สุดเท่าที่ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้เคยจัดทำ โดยไตรมาสที่แล้วค่าดัชนี้อยู่ที่ 55.8 โดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีค่าความเชื่อมั่นในไตรมาสปัจจุบัน 65.4 ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนี 61.9 ส่วนบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียน มีค่าดัชนีความเชื่อมั่น 50.1 สูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ดัชนีมีค่าสูงกว่าค่ากลาง (ค่ากลางเท่ากับ 50) สะท้อนความเชื่อมั่นภาพรวมของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งอยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ดีขึ้นมาก
ทั้งนี้ การปรับตัวของดัชนีในไตรมาสนี้ โดยภาพรวม สะท้อนจากมุมมองด้านบวกจากทั้งผลประกอบการ ยอดขาย การจ้างงาน และการเปิดโครงการใหม่เพิ่มขึ้น ขณะที่ต้นทุนการประกอบการก็ปรับตัวดีขึ้นด้วย และด้วยอานิสงส์ของมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ใกล้จะหมดอายุลง ทำให้ผู้ประกอบการเร่งก่อสร้างและโอนกรรมสิทธิ์เป็นจำนวนมาก ประกอบกับผู้บริโภคได้รับแรงกระตุ้นจากรายการส่งเสริมการขายของโครงการต่างๆ ด้วย
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลฯ กล่าวว่า สำหรับดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) ประจำไตรมาส 4/52 มีค่าเท่ากับ 70.4 สูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่มีค่าเท่ากับ 69.9 โดยในส่วนของบริษัทจดทะเบียนมีค่าดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 76.5 และบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนมีค่าดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 64.4
ส่วนดัชนีราคาที่อยู่อาศัยประจำไตรมาส 4 ปี 52 ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 3 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ) พบว่าเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ระดับราคาที่ดิน ราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดิน และราคาทาวเฮาส์พร้อมที่ดิน ต่างเพิ่มขึ้น โดยดัชนีราคาที่ดิน ประจำไตรมาสที่ 4 ปี52 ดัชนีเท่ากับ 184.8 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.3% เมื่อเทียบกับ 178.9 ในไตรมาส 3/52ขณะที่ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดิน ประจำไตรมาสที่ 4 ปี 52 เท่ากับ 154.9 ปรับตัวขึ้น 3.1% เทียบกับ 150.2 ในไตรมาส 3/52 ดัชนีราคาทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดิน เท่ากับ 153.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเทียบกับ 151.0 ในไตรมาสก่อน
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาความเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาที่ยาวขึ้น คือปีต่อปี พบว่า ราคาที่ดินค่อนข้างคงที่ คือมีการปรับตัวขึ้นเพิ่มขึ้นเพียง0.6% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 51 ในขณะที่บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดินมีการปรับตัวลดลงจากช่วงเวลาเดี่ยวกันในปีก่อน 4% เนื่องจากราคาค่าก่อสร้างที่ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากฐานข้อมูลที่นำมาใช้คิดคำนวณดัชนีราคาที่อยู่อาศัยคือข้อมูลหลักประกันของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โปรโมชั่นต่างๆของธนาคารที่ออกมาในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา
**ยอดจดทะเบียน11เดือนปี52โต3%
นายสมัมากล่าวว่า ส่วนตัวเลขการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 5 จังหวัด ในรอบ 11 เดือนแรกของปีนี้ พบว่ามีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท ทั้งที่อยู่อาศัย ที่ดินเปล่า และอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย รวมกันประมาณ 189,300 หน่วย เพิ่มขึ้น3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาแบ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียม 138,500 หน่วย รองลงมาเป็นทาวน์เฮาส์ 44,600 หน่วย และบ้านเดี่ยวประมาณ 28,600 หน่วย อาคารพาณิชย์ 13,500 หน่วย และบ้านแฝดประมาณ 4,100 หน่วย ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยนั้น พบว่ามีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเปล่ามากถึง 43,800 แปลง โดยกรุงเทพฯ มีจำนวนแปลงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ของที่อยู่อาศัยมากที่สุด 60%ของที่อยู่อาศัยที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด