คลังดัน 6 แบงก์รัฐสานต่อปล่อยกู้รายย่อย-รากหญ้าปีนี้ ไม่ต่ำกว่าปีก่อน หลังพบสิ้นปี 52 ให้สินเชื่อ 1.15 ล้านล้านบาท 4.7 ล้านราย ช่วยดันจีดีพี 1%
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (เอสเอฟไอ) ในการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 2552 หลังจากมีการเพิ่มทุนให้ในช่วงที่ผ่านมาว่า สถาบันการเงินส่วนใหญ่
ปล่อยสินเชื่อได้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งการให้สินเชื่อปกติและการให้สินเชื่อเร่งด่วนหรือฟาสต์แทร็ก จึงมองว่าแบงก์รัฐทั้ง 6 แห่งควรดำเนินการการขยายสินเชื่อต่อเนื่องในปี 2553 รวมการให้สินเชื่อฟาสต์แทร็กด้วยเพื่อสนับสนุนเงินทุนให้ผู้ประกอบการและประชาชนรายย่อยต่อไป
สำหรับผลการปล่อยสินเชื่อของเอสเอฟไอ 6 แห่งอนุมัติสินเชื่อเป็นเงิน 1,150,820 ล้านบาท หรือคิดเป็น 120% ของเป้าหมายรวม 927,000 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายแล้วเป็นเงิน 1,033,812 ล้านบาท คิดเป็น 111.52% ของเป้าหมาย ซึ่งสามารถช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ 1%และมีผู้ได้ประโยชน์ถึง 4,738,267 ราย
ทั้งนี้ จากการดำเนินงานของ 6 สถาบันการเงินพบว่ามีเพียง 2 แห่งที่อนุมัติสินเชื่อต่ำกว่าเป้าหมาย คือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ที่อนุมัติสินเชื่อต่ำกว่าเป้าหมายอยู่ที่ 3 หมื่นล้านบาทหรือคิดเป็น 70%ของเป้าหมาย 4.35 หมื่นล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 2.1 หมื่นล้านบาทหรือ 50% จำนวน 1.4 หมื่นราย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ที่อนุมัติสินเชื่อได้รวม 4.36 แสนล้านบาทหรือ 92%ของเป้าหมาย 4.7 แสนล้านบาท แต่เบิกจ่ายออกไปแล้วทั้งจำนวนลูกค้ากว่า 3.39 แสนราย
ขณะที่ธนาคารออมสินอนุมัติสินเชื่อเกินเป้าหมายสูงสุด 181% หรืออยู่ที่ 4.39 แสนล้านบาท จากเป้าหมาย 2.42 แสนล้านบาท และมีการเบิกจ่ายไปแล้วทั้งจำนวนมีลูกค้ากว่า 1.1 ล้านราย รองลงมาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยหรือไอแบงก์ 140% หรือ อยู่ที่ 4.7 หมื่นล้านบาทจากเป้าหมาย 3.37 หมื่นล้านบาท และเบิกจ่ายไปแล้ว 2.8 หมื่นล้านบาท ลูกค้า 6 พันราย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) อนุมัติได้ 119% หรือ 4.43 หมื่นล้านบาท จากเป้าหมาย 3.72 หมื่นล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 2.2 หมื่นล้านบาท จำนวน 220 ราย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ อนุมัติได้ 1.17 แสนล้านบาท หรือ 117%ของเป้าหมาย 1 แสนล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 8.7 หมื่นล้านบาทจำนวน 1.62 ราย
ส่วนการอนุมัติสินเชื่อฟาสต์แทร็ก ที่รวม 6 สถาบันวงเงิน 6.4 หมื่นล้านบาทนั้นพบว่ามีการอนุมัติรวมกันอยู่ที่ 8.84 หมื่นล้านบาทจำนวน 6.26 แสนราย สูงกว่าเป้าหมาย 138.22% และมีการเบิกจ่ายแล้ว 6 หมื่นล้านบาท หรือ 95% จำนวนลูกค้า กว่า 6 แสนราย
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (เอสเอฟไอ) ในการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 2552 หลังจากมีการเพิ่มทุนให้ในช่วงที่ผ่านมาว่า สถาบันการเงินส่วนใหญ่
ปล่อยสินเชื่อได้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งการให้สินเชื่อปกติและการให้สินเชื่อเร่งด่วนหรือฟาสต์แทร็ก จึงมองว่าแบงก์รัฐทั้ง 6 แห่งควรดำเนินการการขยายสินเชื่อต่อเนื่องในปี 2553 รวมการให้สินเชื่อฟาสต์แทร็กด้วยเพื่อสนับสนุนเงินทุนให้ผู้ประกอบการและประชาชนรายย่อยต่อไป
สำหรับผลการปล่อยสินเชื่อของเอสเอฟไอ 6 แห่งอนุมัติสินเชื่อเป็นเงิน 1,150,820 ล้านบาท หรือคิดเป็น 120% ของเป้าหมายรวม 927,000 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายแล้วเป็นเงิน 1,033,812 ล้านบาท คิดเป็น 111.52% ของเป้าหมาย ซึ่งสามารถช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ 1%และมีผู้ได้ประโยชน์ถึง 4,738,267 ราย
ทั้งนี้ จากการดำเนินงานของ 6 สถาบันการเงินพบว่ามีเพียง 2 แห่งที่อนุมัติสินเชื่อต่ำกว่าเป้าหมาย คือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ที่อนุมัติสินเชื่อต่ำกว่าเป้าหมายอยู่ที่ 3 หมื่นล้านบาทหรือคิดเป็น 70%ของเป้าหมาย 4.35 หมื่นล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 2.1 หมื่นล้านบาทหรือ 50% จำนวน 1.4 หมื่นราย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ที่อนุมัติสินเชื่อได้รวม 4.36 แสนล้านบาทหรือ 92%ของเป้าหมาย 4.7 แสนล้านบาท แต่เบิกจ่ายออกไปแล้วทั้งจำนวนลูกค้ากว่า 3.39 แสนราย
ขณะที่ธนาคารออมสินอนุมัติสินเชื่อเกินเป้าหมายสูงสุด 181% หรืออยู่ที่ 4.39 แสนล้านบาท จากเป้าหมาย 2.42 แสนล้านบาท และมีการเบิกจ่ายไปแล้วทั้งจำนวนมีลูกค้ากว่า 1.1 ล้านราย รองลงมาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยหรือไอแบงก์ 140% หรือ อยู่ที่ 4.7 หมื่นล้านบาทจากเป้าหมาย 3.37 หมื่นล้านบาท และเบิกจ่ายไปแล้ว 2.8 หมื่นล้านบาท ลูกค้า 6 พันราย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) อนุมัติได้ 119% หรือ 4.43 หมื่นล้านบาท จากเป้าหมาย 3.72 หมื่นล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 2.2 หมื่นล้านบาท จำนวน 220 ราย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ อนุมัติได้ 1.17 แสนล้านบาท หรือ 117%ของเป้าหมาย 1 แสนล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 8.7 หมื่นล้านบาทจำนวน 1.62 ราย
ส่วนการอนุมัติสินเชื่อฟาสต์แทร็ก ที่รวม 6 สถาบันวงเงิน 6.4 หมื่นล้านบาทนั้นพบว่ามีการอนุมัติรวมกันอยู่ที่ 8.84 หมื่นล้านบาทจำนวน 6.26 แสนราย สูงกว่าเป้าหมาย 138.22% และมีการเบิกจ่ายแล้ว 6 หมื่นล้านบาท หรือ 95% จำนวนลูกค้า กว่า 6 แสนราย