ธนาคารพาณิชย์เตรียมสำรองเงินสดเพื่อรองรับการใช้จ่ายสำหรับประชาชนในช่วงหยุดยาวของเทศกาลปีใหม่ ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ถึง 3 มกราคม 2553 ทั้งในส่วนของเครื่องเอทีเอ็มและสาขาทั่วประเทศ โดยมีธนาคารพาณิชย์จำนวน 3 แห่ง ที่สำรองเงินเป็นจำนวนเงินสูงสุดแห่งละ 40,000 ล้านบาท
ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) ซึ่งเป็นการสำรองเงินสดเป็นระยะเวลา 7 วันตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2552 – 3 มกราคม 2553 และเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาถึง 15% ที่มีการสำรองประมาณ 34,000 ล้านบาท ต่อมาเป็นธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) ได้สำรองเงินสดระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ถึง 3 มกราคม 2553 โดยผ่านช่องทางบริการเครื่องเอทีเอ็มที่มีกว่า 6,000 จุดทั่วประเทศ นอกจากนี้ลูกค้าสามารถใช้บริการของทางธนาคารผ่านสาขาไมโคร กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ภายในห้างสรรพสินค้า และจุดชุมชน ซึ่งเปิดให้บริการปกติในช่วงดังกล่าว และสาขาธนาคารได้เปิดทำการปกติตั้งแต่วันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2553 เป็นต้นไป
ด้านธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) แบ่งเป็นการสำรองที่เครื่องเอทีเอ็ม 30,000 ล้านบาท และตามสาขาทั่วประเทศทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภูมิภาคจำนวน 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการสำรองปริมาณเงินสดที่เท่ากับสิ้นปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเพียงพอกับความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ ในปัจจุบันธนาคารไทยพาณิชย์มีจำนวนเครื่องเอทีเอ็มทั่วประเทศ 6,902 เครื่อง และมีสาขา 978 สาขา
ต่อมาเป็นธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) ได้สำรองเงินสดเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินของลูกค้าและประชาชนผ่านเครื่องกรุงศรี เอทีเอ็มและสาขาของธนาคารทั่วประเทศ ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ รวม 20,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินสดสำรองสำหรับบริการผ่านเครื่อง กรุงศรี เอทีเอ็ม 15,000 ล้านบาท และผ่านสาขาของธนาคาร 5,000 ล้านบาท โดยรวมเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 2,000 ล้านบาท ตามจำนวนสาขาและเครื่องเอทีเอ็มที่เพิ่มขึ้น
ในขณะที่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) ได้สำรองเงินสดของทั่วประเทศรวมเป็นจำนวนเงิน 18,040 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นสาขาในเขตกรุงแทพฯ และปริมณฑล 9,500 ล้านบาท สาขาในส่วนภูมิภาค 40 ล้านบาท และนอกสถานที่ภูมิภาคอีก 8,500 ล้านบาท โดยมีเครื่องเอทีเอ็มทั้งสิ้นจำนวน 6,902 เครื่อง ทั้งนี้ สำหรับยอดเงินสำรองดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นประมาณ 2% จากยอดเงินสำรองเอทีเอ็มช่วงเทศกาลปีใหม่ในปี 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งมีการสำรองเงินสดรวม 17,680 ล้านบาท
สำหรับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) ได้สำรองเงินสดสำหรับลูกค้าที่ใช้บริการเครื่องเอทีเอ็มเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาท ซึ่งมองว่าลูกค้าของธนาคารส่วนใหญ่ไม่ค่อยเบิกเงินสดกันมากนักแต่จะใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตแทน เพราะมีความปลอดภัยมากกว่า
ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) (SCIB) แจ้งว่าธนาคารได้สำรองเงินสดสำหรับลูกค้าที่ใช้บริการเครื่องเอทีเอ็มซึ่งมีทั้งสิ้นกว่า 1,700 เครื่องทั่วประเทศเป็นจำนวน 3,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการสำรองเงินเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เชื่อว่าจะเพียงพอกับความต้องการของประชาชน เพราะเป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 วัน โดยคาดการณ์ว่าบรรยากาศการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวภายในประเทศของประชาชน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) ซึ่งเป็นการสำรองเงินสดเป็นระยะเวลา 7 วันตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2552 – 3 มกราคม 2553 และเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาถึง 15% ที่มีการสำรองประมาณ 34,000 ล้านบาท ต่อมาเป็นธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) ได้สำรองเงินสดระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ถึง 3 มกราคม 2553 โดยผ่านช่องทางบริการเครื่องเอทีเอ็มที่มีกว่า 6,000 จุดทั่วประเทศ นอกจากนี้ลูกค้าสามารถใช้บริการของทางธนาคารผ่านสาขาไมโคร กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ภายในห้างสรรพสินค้า และจุดชุมชน ซึ่งเปิดให้บริการปกติในช่วงดังกล่าว และสาขาธนาคารได้เปิดทำการปกติตั้งแต่วันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2553 เป็นต้นไป
ด้านธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) แบ่งเป็นการสำรองที่เครื่องเอทีเอ็ม 30,000 ล้านบาท และตามสาขาทั่วประเทศทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภูมิภาคจำนวน 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการสำรองปริมาณเงินสดที่เท่ากับสิ้นปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเพียงพอกับความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ ในปัจจุบันธนาคารไทยพาณิชย์มีจำนวนเครื่องเอทีเอ็มทั่วประเทศ 6,902 เครื่อง และมีสาขา 978 สาขา
ต่อมาเป็นธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) ได้สำรองเงินสดเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินของลูกค้าและประชาชนผ่านเครื่องกรุงศรี เอทีเอ็มและสาขาของธนาคารทั่วประเทศ ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ รวม 20,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินสดสำรองสำหรับบริการผ่านเครื่อง กรุงศรี เอทีเอ็ม 15,000 ล้านบาท และผ่านสาขาของธนาคาร 5,000 ล้านบาท โดยรวมเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 2,000 ล้านบาท ตามจำนวนสาขาและเครื่องเอทีเอ็มที่เพิ่มขึ้น
ในขณะที่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) ได้สำรองเงินสดของทั่วประเทศรวมเป็นจำนวนเงิน 18,040 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นสาขาในเขตกรุงแทพฯ และปริมณฑล 9,500 ล้านบาท สาขาในส่วนภูมิภาค 40 ล้านบาท และนอกสถานที่ภูมิภาคอีก 8,500 ล้านบาท โดยมีเครื่องเอทีเอ็มทั้งสิ้นจำนวน 6,902 เครื่อง ทั้งนี้ สำหรับยอดเงินสำรองดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นประมาณ 2% จากยอดเงินสำรองเอทีเอ็มช่วงเทศกาลปีใหม่ในปี 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งมีการสำรองเงินสดรวม 17,680 ล้านบาท
สำหรับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) ได้สำรองเงินสดสำหรับลูกค้าที่ใช้บริการเครื่องเอทีเอ็มเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาท ซึ่งมองว่าลูกค้าของธนาคารส่วนใหญ่ไม่ค่อยเบิกเงินสดกันมากนักแต่จะใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตแทน เพราะมีความปลอดภัยมากกว่า
ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) (SCIB) แจ้งว่าธนาคารได้สำรองเงินสดสำหรับลูกค้าที่ใช้บริการเครื่องเอทีเอ็มซึ่งมีทั้งสิ้นกว่า 1,700 เครื่องทั่วประเทศเป็นจำนวน 3,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการสำรองเงินเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เชื่อว่าจะเพียงพอกับความต้องการของประชาชน เพราะเป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 วัน โดยคาดการณ์ว่าบรรยากาศการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวภายในประเทศของประชาชน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง