กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก สภาอุตฯ ประกาศแผนตอบโต้สินค้ากระเบื้องจีนดั๊มราคาจนผู้ประกอบการไทยสู้ไม่ไหว หลังพบยอดนำเข้าทะลุ 16 ล้าน ตร.ม. ระบุกกว่าครึ่งไร้มาตรฐาน ล่าสุดพาณิชย์รับลูกพิจารณาเพิ่มกำแพงภาษีคาด 60 วันรู้ผล ส่วน 3 ค่ายยักษ์ใหญ่ค้านตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าจีน หวั่นราคานำกระเบื้องจากจีนสูงเพิ่มเกือบ100%
นายโชคชัย เลิศเธียรดำรง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มการนำเข้ากระเบื้องเซรามิกจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี โดยพิจารณาจากสถิติพบว่า ไทยเริ่มนำเข้ากระเบื้องจากประเทศจีนตั้งแต่ปี 2544 ซึ่งในปีนี้มีการนำเข้าประมาณ 1 แสนตารางเมตร(ตร.ม.) แต่หลังจากมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทั้งปัจจุบันตัวเลข ณ ตุลาคม 2552 มีการนำเข้าสูงถึง 16.2 ล้านตร.ม. คิดเป็นมูลค่า 3,000 ล้านบาท คิดเป็น 75% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดที่ 4,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนประเทศรองลงมาคือ อินโดนีเชีย มีการนำเข้าเพียง 9% เท่านั้น
ทั้งนี้ เชื่อว่าหากไม่มีมาตรการป้องกันใดๆออกมา คาดว่าจะมีตัวเลขการนำเข้าสูงขึ้นเกินกว่า 20 ล้านตร.ม. จากความต้องการกระเบื้องในประเทศอยู่ที่ 111.1 ล้านตร.ม. ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากกำแพงภาษีของไทยลดลงจาก 12% ในปี 2550 มาอยู่ที่ 5% ในปีนี้ และปีหน้าจะเหลือ 0%
“แม้ว่าเราจะไม่มีตัวเลขที่แน่นอนว่า สินค้าจีนที่นำเข้ามาเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานในสัดส่วนเท่าไร แต่จากการวิจัยเบื้องต้น กระเบื้องนำเข้าจากจีนมากกว่าครึ่งไม่ได้มาตรฐาน ยกเว้นกระเบื้องที่ผู้ประกอบการของไทยเข้าไปลงทุนผลิตในจีนหรือนำเข้ามา เพราะกลุ่มนี้ต้องได้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก.จึงจะสามารถนำเข้ามาจำหน่ายได้”
สำหรับมาตรการที่ใช้ปกป้องการนำเข้าสินค้ากระเบื้องไม่ได้คุณภาพจากประเทศจีนนั้น ทางกระทรวงพาณิชย์ อยู่ระหว่างพิจารณาใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด หรือ Anti Dumping เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น และการนำเข้าสินค้าในราคาที่ไม่เป็นธรรม โดยการทุ่มตลาด ซึ่งได้มีการตราพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในมิให้เกิดความเสียหายจากการกระทำดังกล่าว
มาตรการฉุกเฉินที่จะมุ่งลดผลกระทบจากการทะลักเข้ามาของสินค้า ที่มีการเปิดตลาดตามข้อตกลงผูกพัน มาตรการดังกล่าวมุ่งดูแลผู้ผลิตภายในประเทศ เพื่อให้ผู้ผลิตภายในประเทศมีระยะเวลาในการปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ และมาตรการปกป้องทั่วไปครั้งละไม่เกิน 4 ปี
นายโชคชัย กล่าวต่อว่า สำหรับขั้นตอนการไต่สวน กระทรวงพาณิชย์เตรียมส่งแบบสอบถามขั้นต้นให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ผลิตในประเทศ ผู้ผลิตจากประเทศจีน และผู้นำเข้าภายในเดือนมกราคม 2553 และให้ส่งกลับภายใน 37 วัน สามารถขยายได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 15 วัน รวมเป็นไม่เกิน 67 วัน หลังจากกระทรวงฯ ได้รับแบบสอบถาม ทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เจ้าหน้าที่ กระทรวงฯ จะตรวจสอบโรงงานผู้ผลิตทั้งในประเทศ และประเทศจีน และทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้ไปตรวจสอบ ผู้ผลิต และทำการสรุป เพื่อนำส่งคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เพื่อพิจารณาและออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดชั่วคราวภายใน 200 วัน รวมใช้เวลาประมาณ 8-10 เดือน หลังจากใช้มาตรการชั่วคราว คณะกรรมการจะพิจารณาออกมาตรการถาวร 5 ปี ก่อนที่จะครบกำหนดมาตรการชั่วคราว 200 วัน
นอกจากนี้ กลุ่มเซรามิก สภาอุตฯ ยังได้นำเสนอมาตรการการผลิตกระเบื้อง ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลก เช่น มีการกำหนดอัตราการซึมน้ำ อัตราการรองรับน้ำหนัก เป็นต้น เป็นมาตรฐานที่กระเบื้องควรมีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณา เพื่อออกเป็นมาตรฐานสมอ.และมาตรฐานมอก. ซึ่งในเบื้องต้นจะเป็นสมอ.และมอก.ในแบบที่ไม่ได้บังคับ แต่ในอนาคตคาดว่าจะต้องออกให้เป็นมาตรฐานบังคับ
แหล่งข่าวจากกลุ่มเซรามิกฯ เปิดเผยว่า มาตรการที่คาดว่ากระทรวงพาณิชย์นำมาใช้คือ การตั้งกำแพงภาษีให้สูงขึ้น เพื่อให้การแข่งขั้นเกิดความเป็นธรรมต่อผู้ประกอบการไทยและผู้นำเข้า เพราะสาเหตุที่จีนขายกระเบื้องถูกมาก เพราะเป็นกระเบื้องที่ไม่ได้มาตรฐานของจีน ซึ่งต้องทุบทิ้งแต่กลับนำมาขายในไทย ทำให้ขายได้ถูกมาก
อย่างไรก็ตาม ทางการไทยกลับไม่ได้มีการตรวจสอบมาตรฐานกระเบื้องที่นำเข้ามาจำหน่าย โดยสำนักงานมาตรฐานอุตหกรรมไทย (สมอ.) ให้เหตุผลว่าผิดกฎหมาย ซึ่งหากไทยมีการตรวจสอบมาตรฐานกระเบื้องนำเข้า ก็เชื่อว่าจะมีราคาขายใกล้เคียงกับสินค้าของไทย ในขณะที่ผู้ประกอบการไทยต้องผลิตตามมาตรฐาน อุตสาหกรรม (มอก.) และจะทำให้การแข่งขันทัดเทียมกัน สุดท้ายก็ไม่ต้องใช้มาตรการ Anti Dumping
**3 ค่ายใหญ่ค้านตั้งกำแพงภาษีสินค้าจีน
ด้านนางมาลี ทยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายโครงการ บริษัท แกรนด์โฮมมาร์ท จำกัด กล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ผู้นำเข้ากระเบื้อง 8 ราย อาทิ โฮมโปร บุญถาวร แกรนด์โฮมมาร์ทได้มีการเข้าร่วมหารือกัน เพื่อยื่นหนังสือถึงกรมการค้าต่างประเทศ คัดค้านการตั้งกำแพงภาษีนำเข้ากระเบื้องเซรามิคจากจีน และในวันที่ 23 ธ.ค.52 ผู้ผลิตสินค้าจากจีนจะยื่นหนังสือถึงกรมการค้าต่างประเทศเพื่อคัดค้านเช่นกัน ปัจจุบันภาษีนำเข้าอยู่ที่ 5% หากมีการตั้งกำแพงภาษีเกรงว่าภาษีนำเข้าจะถูกปรับขึ้นเป็น 97.5% เท่ากับส่วนต่างราคาสินค้า
ทั้งนี้ นายเอี่ยมหลี โฆษิตเจริญกุล ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์สุขภัณฑ์ จำกัด กล่าวว่า การคุ้มครองผู้ผลิตกระเบื้องในประเทศที่ถูกต้องคือภาครัฐต้องช่วยเรื่องต้นทุนมากกว่า ทั้งนี้สินค้าจากประเทศจีนใช่ว่าจะคุณภาพไม่ได้มาตรฐานเหมือนกันหมด เพราะสินค้าจีนมีหลายเกรด ส่วนเกรดที่มีคุณภาพดีก็มี โดยปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากผู้นำเข้าสินค้าจากจีนคือ การที่ไปทำสัญญาซื้อขายกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ไปแล้วจะเกิดความเสียหายตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระเบื้องขนาด 60 x 60 เซนติเมตรที่นิยมใช้ในงานปูพื้นและต้องนำเข้าจากจีนเพราะมีผู้ผลิตในประเทศผลิตเพียง 2 ราย.
นายโชคชัย เลิศเธียรดำรง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มการนำเข้ากระเบื้องเซรามิกจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี โดยพิจารณาจากสถิติพบว่า ไทยเริ่มนำเข้ากระเบื้องจากประเทศจีนตั้งแต่ปี 2544 ซึ่งในปีนี้มีการนำเข้าประมาณ 1 แสนตารางเมตร(ตร.ม.) แต่หลังจากมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทั้งปัจจุบันตัวเลข ณ ตุลาคม 2552 มีการนำเข้าสูงถึง 16.2 ล้านตร.ม. คิดเป็นมูลค่า 3,000 ล้านบาท คิดเป็น 75% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดที่ 4,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนประเทศรองลงมาคือ อินโดนีเชีย มีการนำเข้าเพียง 9% เท่านั้น
ทั้งนี้ เชื่อว่าหากไม่มีมาตรการป้องกันใดๆออกมา คาดว่าจะมีตัวเลขการนำเข้าสูงขึ้นเกินกว่า 20 ล้านตร.ม. จากความต้องการกระเบื้องในประเทศอยู่ที่ 111.1 ล้านตร.ม. ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากกำแพงภาษีของไทยลดลงจาก 12% ในปี 2550 มาอยู่ที่ 5% ในปีนี้ และปีหน้าจะเหลือ 0%
“แม้ว่าเราจะไม่มีตัวเลขที่แน่นอนว่า สินค้าจีนที่นำเข้ามาเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานในสัดส่วนเท่าไร แต่จากการวิจัยเบื้องต้น กระเบื้องนำเข้าจากจีนมากกว่าครึ่งไม่ได้มาตรฐาน ยกเว้นกระเบื้องที่ผู้ประกอบการของไทยเข้าไปลงทุนผลิตในจีนหรือนำเข้ามา เพราะกลุ่มนี้ต้องได้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก.จึงจะสามารถนำเข้ามาจำหน่ายได้”
สำหรับมาตรการที่ใช้ปกป้องการนำเข้าสินค้ากระเบื้องไม่ได้คุณภาพจากประเทศจีนนั้น ทางกระทรวงพาณิชย์ อยู่ระหว่างพิจารณาใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด หรือ Anti Dumping เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น และการนำเข้าสินค้าในราคาที่ไม่เป็นธรรม โดยการทุ่มตลาด ซึ่งได้มีการตราพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในมิให้เกิดความเสียหายจากการกระทำดังกล่าว
มาตรการฉุกเฉินที่จะมุ่งลดผลกระทบจากการทะลักเข้ามาของสินค้า ที่มีการเปิดตลาดตามข้อตกลงผูกพัน มาตรการดังกล่าวมุ่งดูแลผู้ผลิตภายในประเทศ เพื่อให้ผู้ผลิตภายในประเทศมีระยะเวลาในการปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ และมาตรการปกป้องทั่วไปครั้งละไม่เกิน 4 ปี
นายโชคชัย กล่าวต่อว่า สำหรับขั้นตอนการไต่สวน กระทรวงพาณิชย์เตรียมส่งแบบสอบถามขั้นต้นให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ผลิตในประเทศ ผู้ผลิตจากประเทศจีน และผู้นำเข้าภายในเดือนมกราคม 2553 และให้ส่งกลับภายใน 37 วัน สามารถขยายได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 15 วัน รวมเป็นไม่เกิน 67 วัน หลังจากกระทรวงฯ ได้รับแบบสอบถาม ทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เจ้าหน้าที่ กระทรวงฯ จะตรวจสอบโรงงานผู้ผลิตทั้งในประเทศ และประเทศจีน และทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้ไปตรวจสอบ ผู้ผลิต และทำการสรุป เพื่อนำส่งคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เพื่อพิจารณาและออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดชั่วคราวภายใน 200 วัน รวมใช้เวลาประมาณ 8-10 เดือน หลังจากใช้มาตรการชั่วคราว คณะกรรมการจะพิจารณาออกมาตรการถาวร 5 ปี ก่อนที่จะครบกำหนดมาตรการชั่วคราว 200 วัน
นอกจากนี้ กลุ่มเซรามิก สภาอุตฯ ยังได้นำเสนอมาตรการการผลิตกระเบื้อง ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลก เช่น มีการกำหนดอัตราการซึมน้ำ อัตราการรองรับน้ำหนัก เป็นต้น เป็นมาตรฐานที่กระเบื้องควรมีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณา เพื่อออกเป็นมาตรฐานสมอ.และมาตรฐานมอก. ซึ่งในเบื้องต้นจะเป็นสมอ.และมอก.ในแบบที่ไม่ได้บังคับ แต่ในอนาคตคาดว่าจะต้องออกให้เป็นมาตรฐานบังคับ
แหล่งข่าวจากกลุ่มเซรามิกฯ เปิดเผยว่า มาตรการที่คาดว่ากระทรวงพาณิชย์นำมาใช้คือ การตั้งกำแพงภาษีให้สูงขึ้น เพื่อให้การแข่งขั้นเกิดความเป็นธรรมต่อผู้ประกอบการไทยและผู้นำเข้า เพราะสาเหตุที่จีนขายกระเบื้องถูกมาก เพราะเป็นกระเบื้องที่ไม่ได้มาตรฐานของจีน ซึ่งต้องทุบทิ้งแต่กลับนำมาขายในไทย ทำให้ขายได้ถูกมาก
อย่างไรก็ตาม ทางการไทยกลับไม่ได้มีการตรวจสอบมาตรฐานกระเบื้องที่นำเข้ามาจำหน่าย โดยสำนักงานมาตรฐานอุตหกรรมไทย (สมอ.) ให้เหตุผลว่าผิดกฎหมาย ซึ่งหากไทยมีการตรวจสอบมาตรฐานกระเบื้องนำเข้า ก็เชื่อว่าจะมีราคาขายใกล้เคียงกับสินค้าของไทย ในขณะที่ผู้ประกอบการไทยต้องผลิตตามมาตรฐาน อุตสาหกรรม (มอก.) และจะทำให้การแข่งขันทัดเทียมกัน สุดท้ายก็ไม่ต้องใช้มาตรการ Anti Dumping
**3 ค่ายใหญ่ค้านตั้งกำแพงภาษีสินค้าจีน
ด้านนางมาลี ทยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายโครงการ บริษัท แกรนด์โฮมมาร์ท จำกัด กล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ผู้นำเข้ากระเบื้อง 8 ราย อาทิ โฮมโปร บุญถาวร แกรนด์โฮมมาร์ทได้มีการเข้าร่วมหารือกัน เพื่อยื่นหนังสือถึงกรมการค้าต่างประเทศ คัดค้านการตั้งกำแพงภาษีนำเข้ากระเบื้องเซรามิคจากจีน และในวันที่ 23 ธ.ค.52 ผู้ผลิตสินค้าจากจีนจะยื่นหนังสือถึงกรมการค้าต่างประเทศเพื่อคัดค้านเช่นกัน ปัจจุบันภาษีนำเข้าอยู่ที่ 5% หากมีการตั้งกำแพงภาษีเกรงว่าภาษีนำเข้าจะถูกปรับขึ้นเป็น 97.5% เท่ากับส่วนต่างราคาสินค้า
ทั้งนี้ นายเอี่ยมหลี โฆษิตเจริญกุล ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์สุขภัณฑ์ จำกัด กล่าวว่า การคุ้มครองผู้ผลิตกระเบื้องในประเทศที่ถูกต้องคือภาครัฐต้องช่วยเรื่องต้นทุนมากกว่า ทั้งนี้สินค้าจากประเทศจีนใช่ว่าจะคุณภาพไม่ได้มาตรฐานเหมือนกันหมด เพราะสินค้าจีนมีหลายเกรด ส่วนเกรดที่มีคุณภาพดีก็มี โดยปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากผู้นำเข้าสินค้าจากจีนคือ การที่ไปทำสัญญาซื้อขายกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ไปแล้วจะเกิดความเสียหายตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระเบื้องขนาด 60 x 60 เซนติเมตรที่นิยมใช้ในงานปูพื้นและต้องนำเข้าจากจีนเพราะมีผู้ผลิตในประเทศผลิตเพียง 2 ราย.