แบงก์ชาติเผยเศรษฐกิจเดือน ต.ค.แผ่ว มุมมองนักลงทุนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจอีก 3 เดือนข้างหน้าตกเหลือ 53 แต่การลงทุนปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ชี้รายได้เกษตร ท่องเที่ยวและส่งออกเอื้อต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
นายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยหลายตัวแผ่วลงในช่วงเดือนต.ค. ซึ่งเป็นเดือนแรกของไตรมาส 4 ซึ่งเกิดจากผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นกลุ่มใหญ่ลดลงมากจากเดือนก่อน และการใช้จ่ายภาครัฐลดลงมากเช่นกัน ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจเดือนนี้ลดลง แต่รายได้ภาคเกษตร การจ้างงาน และการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นเป็นปัจจัยเอื้อให้เศรษฐกิจไทยข้างหน้าปรับตัวดีขึ้น
ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมเดือนต.ค.ชะลอตัว 1.9%.ในเดือนก่อนหน้าตามการผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกที่หดตัว 2.5% จากเดือนก.ย.ขยายตัว 4.9% โดยเฉพาะสินค้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการใช้กำลังการผลิตของภาคธุรกิจส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นผลจากการส่งออก และมองว่าทิศทางจะดีขึ้น
สำหรับแรงกระตุ้นของภาครัฐในเดือนนี้มีน้อยลงจากปัญหาความล่าช้าของการประกาศใช้พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีและการเบิกจ่ายงบลงทุนในโครงการต่างๆ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (SP2) ที่ยังคืบหน้าไม่มากนัก เพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเม็ดเงินเบิกจ่ายสะสมในเดือนต.ค.อยู่ที่ระดับ 1,365 ล้านบาท เทียบกับเดือนพ.ย.อยู่ที่ระดับ 1,760 ล้านบาท ทำให้เพิ่มขึ้นประมาณ 400 ล้านบาท เท่านั้น
ด้านการลงทุนปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้ากลับหดตัวลงอยู่ที่ระดับ 1% จากเดือนก่อน 2.6% และส่วนใหญ่ยังเป็นการลงทุนเพื่อทดแทนการเสื่อมสภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสำคัญ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในปัจจุบันปรับตัวดีอยู่ แต่ในอนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลงอยู่ที่ระดับ 53 จากระดับ 54.6 ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากปัญหาโครงการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องมาจากเดือนที่แล้วเป็นสำคัญ
ขณะที่การบริโภคแผ่วลงเล็กน้อยติดลบ 1.1% จากที่เร่งตัว อยู่ที่ 4.5% ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวเศรษฐกิจที่ค่อยๆ ดีขึ้น แต่เชื่อว่าภาพรวมทิศทางยังเป็นบวกอยู่ ด้านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคใกล้เคียงกับเดือนก่อน 75.4 ขณะที่ความเชื่อมั่นในอนาคต 6 เดือนข้างหน้ายังปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการบริโภคต่อไป ได้แก่ รายได้เกษตรกรปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านราคาและปริมาณ โดยดัชนีผลผลิตพืชผลสำคัญในเดือนนี้กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งในรอบ 8 เดือนตามผลผลิตข้าวและปาล์มน้ำมัน นอกจากนี้ การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ทำให้อัตราการว่างงานโดยรวมอยู่ที่ระดับ 1.2% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเริ่มกลับมาเป็นบวกจากหมวดพลังงานเป็นหลัก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเริ่มใกล้เคียงศูนย์
นายสุชาติกล่าวว่า ภาคการเงินในเดือนนี้เงินฝากยังสูงกว่าสินเชื่อค่อนข้างมาก โดยเงินฝากขยายตัว 6.7% และสินเชื่อขยายตัว 0.2% อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าจับตามอง เพราะขณะนี้อัตราการชะลอตัวของการปล่อยสินเชื่อเริ่มลดลง จึงมองว่าในอนาคตจะมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น และมองว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะในปัจจุบันสภาพคล่องในระบบมีจำนวนมาก
ขณะที่การส่งออกปรับตัวดีขึ้นสอดคล้องกับการนำเข้า โดยในเดือนนี้การส่งออกมีมูลค่า 14,616 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 2.6%จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในหมวดเกษตรและประมงตามอุปสงค์ต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 12,928 ล้านเหรียญ หดตัว 19% ใกล้เคียงกับเดือนก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น ยกเว้นการนำเข้าสินค้าทุนหดตัวเพิ่มขึ้น 11.4% สะท้อนการลงทุนที่ยังต่ำอยู่ ทำให้ดุลการค้าเดือนต.ค.เกินดุล 1,688 ล้านเหรียญ เมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนกลับมาเกินดุล 490 ล้านเหรียญตามรายได้ท่องเที่ยวที่ดีขึ้น ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2,178 ล้านเหรียญ
นายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยหลายตัวแผ่วลงในช่วงเดือนต.ค. ซึ่งเป็นเดือนแรกของไตรมาส 4 ซึ่งเกิดจากผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นกลุ่มใหญ่ลดลงมากจากเดือนก่อน และการใช้จ่ายภาครัฐลดลงมากเช่นกัน ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจเดือนนี้ลดลง แต่รายได้ภาคเกษตร การจ้างงาน และการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นเป็นปัจจัยเอื้อให้เศรษฐกิจไทยข้างหน้าปรับตัวดีขึ้น
ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมเดือนต.ค.ชะลอตัว 1.9%.ในเดือนก่อนหน้าตามการผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกที่หดตัว 2.5% จากเดือนก.ย.ขยายตัว 4.9% โดยเฉพาะสินค้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการใช้กำลังการผลิตของภาคธุรกิจส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นผลจากการส่งออก และมองว่าทิศทางจะดีขึ้น
สำหรับแรงกระตุ้นของภาครัฐในเดือนนี้มีน้อยลงจากปัญหาความล่าช้าของการประกาศใช้พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีและการเบิกจ่ายงบลงทุนในโครงการต่างๆ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (SP2) ที่ยังคืบหน้าไม่มากนัก เพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเม็ดเงินเบิกจ่ายสะสมในเดือนต.ค.อยู่ที่ระดับ 1,365 ล้านบาท เทียบกับเดือนพ.ย.อยู่ที่ระดับ 1,760 ล้านบาท ทำให้เพิ่มขึ้นประมาณ 400 ล้านบาท เท่านั้น
ด้านการลงทุนปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้ากลับหดตัวลงอยู่ที่ระดับ 1% จากเดือนก่อน 2.6% และส่วนใหญ่ยังเป็นการลงทุนเพื่อทดแทนการเสื่อมสภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสำคัญ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในปัจจุบันปรับตัวดีอยู่ แต่ในอนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลงอยู่ที่ระดับ 53 จากระดับ 54.6 ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากปัญหาโครงการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องมาจากเดือนที่แล้วเป็นสำคัญ
ขณะที่การบริโภคแผ่วลงเล็กน้อยติดลบ 1.1% จากที่เร่งตัว อยู่ที่ 4.5% ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวเศรษฐกิจที่ค่อยๆ ดีขึ้น แต่เชื่อว่าภาพรวมทิศทางยังเป็นบวกอยู่ ด้านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคใกล้เคียงกับเดือนก่อน 75.4 ขณะที่ความเชื่อมั่นในอนาคต 6 เดือนข้างหน้ายังปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการบริโภคต่อไป ได้แก่ รายได้เกษตรกรปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านราคาและปริมาณ โดยดัชนีผลผลิตพืชผลสำคัญในเดือนนี้กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งในรอบ 8 เดือนตามผลผลิตข้าวและปาล์มน้ำมัน นอกจากนี้ การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ทำให้อัตราการว่างงานโดยรวมอยู่ที่ระดับ 1.2% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเริ่มกลับมาเป็นบวกจากหมวดพลังงานเป็นหลัก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเริ่มใกล้เคียงศูนย์
นายสุชาติกล่าวว่า ภาคการเงินในเดือนนี้เงินฝากยังสูงกว่าสินเชื่อค่อนข้างมาก โดยเงินฝากขยายตัว 6.7% และสินเชื่อขยายตัว 0.2% อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าจับตามอง เพราะขณะนี้อัตราการชะลอตัวของการปล่อยสินเชื่อเริ่มลดลง จึงมองว่าในอนาคตจะมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น และมองว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะในปัจจุบันสภาพคล่องในระบบมีจำนวนมาก
ขณะที่การส่งออกปรับตัวดีขึ้นสอดคล้องกับการนำเข้า โดยในเดือนนี้การส่งออกมีมูลค่า 14,616 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 2.6%จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในหมวดเกษตรและประมงตามอุปสงค์ต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 12,928 ล้านเหรียญ หดตัว 19% ใกล้เคียงกับเดือนก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น ยกเว้นการนำเข้าสินค้าทุนหดตัวเพิ่มขึ้น 11.4% สะท้อนการลงทุนที่ยังต่ำอยู่ ทำให้ดุลการค้าเดือนต.ค.เกินดุล 1,688 ล้านเหรียญ เมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนกลับมาเกินดุล 490 ล้านเหรียญตามรายได้ท่องเที่ยวที่ดีขึ้น ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2,178 ล้านเหรียญ