ดีดี การบินไทย เผยบรรลุเป้าหมายในการลดค่าใช้จ่ายส่วนที่ไม่เกี่ยวกับค่าน้ำมันเชื้อเพลิงการบิน 3 ไตรมาสแรก สามารถลดค่าใช้จ่ายได้หมื่นล้าน ยันไม่กระทบต่อมาตรฐานความปลอดภัย-คุณภาพบริการ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทได้ดำเนินนโยบายลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับค่าน้ำมันเชื้อเพลิงการบิน พบว่า มีแนวโน้มจะสามารถบรรลุเป้าหมายในการลดค่าใช้จ่ายที่ต้องลด คือ ร้อยละ 15 ของค่าใช้จ่ายจริงของปี 2551 เป็นจำนวนเงินประมาณ 11,840 ล้านบาท ซึ่งความสำเร็จของการลดค่าใช้จ่ายรวม 3 ไตรมาส (มกราคม-กันยายน 2552) เฉลี่ยต่อเดือนและเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ 11,840 ล้านบาท เท่ากับว่าค่าใช้จ่ายลดไปแล้ว 10,300 ล้าน โดยยืนยันว่าการลดค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่มีผลกระทบใดต่อมาตรฐานความปลอดภัย หรือการลดคุณภาพของการบริการ
นายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า การลดค่าใช้จ่ายหลักในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.ย.52) มาจากการปรับลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ค่าใช้จ่ายของนักบินและลูกเรือ ค่าใช้จ่ายการตลาด การขายและโฆษณา ค่าเช่าเครื่องบิน เครื่องยนต์ และอะไหล่ โดยค่าใช้จ่ายบุคลากรลดลงร้อยละ 12.5 จากปี 2551 ค่าล่วงเวลารวมทุกฝ่ายลดลง ร้อยละ 47.7 จากปี 2551 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับนักบินและลูกเรือลดลงร้อยละ 26 จากปี 2551 ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารการจัดการลดลงร้อยละ 19.0 จากปี 2551 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายและโฆษณาลดลงร้อยละ 19.3 จากปี 2551 ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการบินลดลงร้อยละ 67 จากปี 2551 ค่าบริการการบิน (ไม่รวมน้ำมันเชื้อเพลิง) ลดลงร้อยละ 15.6 จากปี 2551 ค่าซ่อมแซมและซ่อมบำรุงอากาศยานลดลงร้อยละ 21.5 จากปี 2551 ค่าเช่าเครื่องบินและอะไหล่เครื่องบินลดลงร้อยละ 63.9 จากปี 2551
นอกจากนี้ แต่ละหน่วยงานยังมีแนวทางปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น ฝ่ายบริการลูกค้าภาคพื้น คาดว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ 20.8 ล้านบาท จากการจัดทำโครงการลดค่าใช้จ่ายค่าล่วงเวลา และค่าทำงานกะดึก การปรับลดการลงทุนของสถานีต่างจังหวัดและต่างประเทศ การเจรจาขอลดค่าใช้จ่ายค่าโรงแรมและอาหารกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เครื่องบินไม่สามารถออกเดินทางได้ เป็นต้น
ส่วนฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ คาดว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ 39.8 ล้านบาท จากการปรับลดการใช้วัสดุในการปฏิบัติการที่ท่าอากาศยานให้เหมาะสม เช่น การใช้แผ่นพลาสติกคลุมสินค้า การปรับเปลี่ยนการทำงานล่วงเวลา การลดค่าใช้จ่ายด้านการส่งเสริมการขาย รวมถึงการย้ายสำนักงานที่ต้องเช่าการท่าอากาศยาน และเจรจาขอลดค่าเช่าใช้พื้นที่ต่างๆ อีกด้วย ด้านสายปฏิบัติการได้เจรจาต่อรองราคาโรงแรมที่พักของลูกเรือ โดยระหว่างเดือนมีนาคม–กันยายน 2552 ลดลงร้อยละ 37.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 ฝ่ายครัวการบิน ยังให้มีการเปิดประมูลการให้บริการอาหารในสถานีต่างประเทศ 8 สถานีที่ใกล้จะหมดสัญญาเพื่อให้เกิดการแข่งขัน ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 15.32 ล้านบาท ในปีนี้
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทได้ดำเนินนโยบายลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับค่าน้ำมันเชื้อเพลิงการบิน พบว่า มีแนวโน้มจะสามารถบรรลุเป้าหมายในการลดค่าใช้จ่ายที่ต้องลด คือ ร้อยละ 15 ของค่าใช้จ่ายจริงของปี 2551 เป็นจำนวนเงินประมาณ 11,840 ล้านบาท ซึ่งความสำเร็จของการลดค่าใช้จ่ายรวม 3 ไตรมาส (มกราคม-กันยายน 2552) เฉลี่ยต่อเดือนและเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ 11,840 ล้านบาท เท่ากับว่าค่าใช้จ่ายลดไปแล้ว 10,300 ล้าน โดยยืนยันว่าการลดค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่มีผลกระทบใดต่อมาตรฐานความปลอดภัย หรือการลดคุณภาพของการบริการ
นายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า การลดค่าใช้จ่ายหลักในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.ย.52) มาจากการปรับลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ค่าใช้จ่ายของนักบินและลูกเรือ ค่าใช้จ่ายการตลาด การขายและโฆษณา ค่าเช่าเครื่องบิน เครื่องยนต์ และอะไหล่ โดยค่าใช้จ่ายบุคลากรลดลงร้อยละ 12.5 จากปี 2551 ค่าล่วงเวลารวมทุกฝ่ายลดลง ร้อยละ 47.7 จากปี 2551 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับนักบินและลูกเรือลดลงร้อยละ 26 จากปี 2551 ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารการจัดการลดลงร้อยละ 19.0 จากปี 2551 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายและโฆษณาลดลงร้อยละ 19.3 จากปี 2551 ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการบินลดลงร้อยละ 67 จากปี 2551 ค่าบริการการบิน (ไม่รวมน้ำมันเชื้อเพลิง) ลดลงร้อยละ 15.6 จากปี 2551 ค่าซ่อมแซมและซ่อมบำรุงอากาศยานลดลงร้อยละ 21.5 จากปี 2551 ค่าเช่าเครื่องบินและอะไหล่เครื่องบินลดลงร้อยละ 63.9 จากปี 2551
นอกจากนี้ แต่ละหน่วยงานยังมีแนวทางปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น ฝ่ายบริการลูกค้าภาคพื้น คาดว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ 20.8 ล้านบาท จากการจัดทำโครงการลดค่าใช้จ่ายค่าล่วงเวลา และค่าทำงานกะดึก การปรับลดการลงทุนของสถานีต่างจังหวัดและต่างประเทศ การเจรจาขอลดค่าใช้จ่ายค่าโรงแรมและอาหารกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เครื่องบินไม่สามารถออกเดินทางได้ เป็นต้น
ส่วนฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ คาดว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ 39.8 ล้านบาท จากการปรับลดการใช้วัสดุในการปฏิบัติการที่ท่าอากาศยานให้เหมาะสม เช่น การใช้แผ่นพลาสติกคลุมสินค้า การปรับเปลี่ยนการทำงานล่วงเวลา การลดค่าใช้จ่ายด้านการส่งเสริมการขาย รวมถึงการย้ายสำนักงานที่ต้องเช่าการท่าอากาศยาน และเจรจาขอลดค่าเช่าใช้พื้นที่ต่างๆ อีกด้วย ด้านสายปฏิบัติการได้เจรจาต่อรองราคาโรงแรมที่พักของลูกเรือ โดยระหว่างเดือนมีนาคม–กันยายน 2552 ลดลงร้อยละ 37.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 ฝ่ายครัวการบิน ยังให้มีการเปิดประมูลการให้บริการอาหารในสถานีต่างประเทศ 8 สถานีที่ใกล้จะหมดสัญญาเพื่อให้เกิดการแข่งขัน ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 15.32 ล้านบาท ในปีนี้