อรรคพล ขายฝัน เอกชน ดันไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กโป ปี 2563 หรืออีก 11 ปีข้างหน้า ชูแผนปฎิบัติงาน 3 ปี ชูโมเดลสร้างเมืองใหม่ต้อนรับการจัดงาน ด้วยเป้าหมายมีต่างชาติเข้าร่วมงานกว่า 70 ล้านคน
วานนี้ (9 พ.ย.52) ภายหลังการหารือร่วมกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมไมซ์ 22 องค์กร นายอรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน. กล่าวว่า จากการนำเสนอแผนปฎิบัติการ 3 ปีที่สสปน.อยู่ระหว่างการจัดทำเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ประกาศให้อุตสาหกรรมไมซ์เป็นวาระแห่งชาติ เอกชนที่มารับฟังต่างเห็นด้วยในแนวทางของสสปน.
แต่ได้เสนอว่า การจัดทำวาระแห่งชาติ ควรเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำ อย่างเหมือนกับวาระแห่งชาติอื่นๆที่ผ่านมา จะมีเพียงฝ่ายรัฐเท่านั้นเป็นผู้จัดทำและก็ไม่มีผลเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร
ขณะเดียวกันภาคเอกชนก็พร้อมที่จะร่วมมือกับภาครัฐในการดึงงานขนาดใหญ่เข้ามาจัดในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม สสปน.รับปากที่จะฟังทุกความคิดเห็นจากภาคเอกชนประกอบการทำงาน โดยจะนัดพบภาคเอกชนทุกๆ 3 เดือน
ทั้งนี้จากการหารือภาคเอกชน ได้เสนอว่า สสปน.มีเป้าหมาย จะดึงเมกะอีเวนต์เข้ามาจัดในประเทศไทยให้ได้ โดยเฉพาะการเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป แต่ทั้งนี้ต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน โดยในวันที่ 20 พ.ย.นี้ ในการแถลงข่าวเปิดงานไทยพาวิลเลี่ยน ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ สสปน.จะใช้โอกาสนี้หารือกับกระทรวงพัฒนาฯถึงความเป็นไปได้ของการออกไปประมูลการจัดงาน เวิลด์เอ็กซ์โป ปี พ.ศ.2563 ซึ่งจะเริ่มเปิดประมูลหาประเทศผู้จัดงานกันในปี 2554- 2555 โดยจะดูว่า ไทยต้องเตรียมตัวอย่างไรและมีหน่วยงานใดบ้างที่ต้องร่วมงานกัน โดยสสปน.จะเป็นผู้ประสานงานกับทุกหน่วยงานและภาคเอกชน
เบื้องต้นที่คิดไว้ จะต้องศึกษาถึงผลดีผลเสียของประเทศไทยที่จะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป ซึ่งคาดว่าจะมีผลดีมากกว่าผลเสียแน่นอน โดยสสปน.จะนำเสนอเมืองต่างๆที่เคยเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้มาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น สเปน ล่าสุดคือจีน ซึ่งจะจัดในปีหน้า นำเสนอให้ภาครัฐทุกหน่วยงานได้รับทราบ ทั้งก่อนและหลังการจัดงาน
เพื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาเมืองอย่างชัดเจน
“เท่าที่คิดไว้ ต้องมีการสร้างเมืองใหม่เพื่อมารองรับการจัดงาน เพราะงานนี้จะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 70 ล้านคน ในระยะเวลาจัดงานรวม 6 เดือน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลไทยเคยมีแนวคิดการสร้างเมืองใหม่อยู่แล้ว แต่ก็ไม่สำเร็จเสียที่ เพราะเราไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน แต่งานนี้จะเป็นการจุดประกายเป้าหมายการสร้างเมืองใหม่ โดยมีผลตอบแทนที่คุ้มค่ารออยู่ข้างหน้า ซึ่งการลงทุนจะมีทั้งจากรัฐและเอกชน ซึ่งเราต้องประเมินตัวเองและเตรียมให้พร้อมเพื่อไปประมูลงานถ้าไม่พร้อมก็อย่าไปให้เสียชื่อประเทศไทย ที่สำคัญคือรัฐต้องกล้าตัดสินใจ” นายอรรคพล กล่าว
วานนี้ (9 พ.ย.52) ภายหลังการหารือร่วมกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมไมซ์ 22 องค์กร นายอรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน. กล่าวว่า จากการนำเสนอแผนปฎิบัติการ 3 ปีที่สสปน.อยู่ระหว่างการจัดทำเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ประกาศให้อุตสาหกรรมไมซ์เป็นวาระแห่งชาติ เอกชนที่มารับฟังต่างเห็นด้วยในแนวทางของสสปน.
แต่ได้เสนอว่า การจัดทำวาระแห่งชาติ ควรเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำ อย่างเหมือนกับวาระแห่งชาติอื่นๆที่ผ่านมา จะมีเพียงฝ่ายรัฐเท่านั้นเป็นผู้จัดทำและก็ไม่มีผลเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร
ขณะเดียวกันภาคเอกชนก็พร้อมที่จะร่วมมือกับภาครัฐในการดึงงานขนาดใหญ่เข้ามาจัดในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม สสปน.รับปากที่จะฟังทุกความคิดเห็นจากภาคเอกชนประกอบการทำงาน โดยจะนัดพบภาคเอกชนทุกๆ 3 เดือน
ทั้งนี้จากการหารือภาคเอกชน ได้เสนอว่า สสปน.มีเป้าหมาย จะดึงเมกะอีเวนต์เข้ามาจัดในประเทศไทยให้ได้ โดยเฉพาะการเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป แต่ทั้งนี้ต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน โดยในวันที่ 20 พ.ย.นี้ ในการแถลงข่าวเปิดงานไทยพาวิลเลี่ยน ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ สสปน.จะใช้โอกาสนี้หารือกับกระทรวงพัฒนาฯถึงความเป็นไปได้ของการออกไปประมูลการจัดงาน เวิลด์เอ็กซ์โป ปี พ.ศ.2563 ซึ่งจะเริ่มเปิดประมูลหาประเทศผู้จัดงานกันในปี 2554- 2555 โดยจะดูว่า ไทยต้องเตรียมตัวอย่างไรและมีหน่วยงานใดบ้างที่ต้องร่วมงานกัน โดยสสปน.จะเป็นผู้ประสานงานกับทุกหน่วยงานและภาคเอกชน
เบื้องต้นที่คิดไว้ จะต้องศึกษาถึงผลดีผลเสียของประเทศไทยที่จะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป ซึ่งคาดว่าจะมีผลดีมากกว่าผลเสียแน่นอน โดยสสปน.จะนำเสนอเมืองต่างๆที่เคยเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้มาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น สเปน ล่าสุดคือจีน ซึ่งจะจัดในปีหน้า นำเสนอให้ภาครัฐทุกหน่วยงานได้รับทราบ ทั้งก่อนและหลังการจัดงาน
เพื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาเมืองอย่างชัดเจน
“เท่าที่คิดไว้ ต้องมีการสร้างเมืองใหม่เพื่อมารองรับการจัดงาน เพราะงานนี้จะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 70 ล้านคน ในระยะเวลาจัดงานรวม 6 เดือน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลไทยเคยมีแนวคิดการสร้างเมืองใหม่อยู่แล้ว แต่ก็ไม่สำเร็จเสียที่ เพราะเราไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน แต่งานนี้จะเป็นการจุดประกายเป้าหมายการสร้างเมืองใหม่ โดยมีผลตอบแทนที่คุ้มค่ารออยู่ข้างหน้า ซึ่งการลงทุนจะมีทั้งจากรัฐและเอกชน ซึ่งเราต้องประเมินตัวเองและเตรียมให้พร้อมเพื่อไปประมูลงานถ้าไม่พร้อมก็อย่าไปให้เสียชื่อประเทศไทย ที่สำคัญคือรัฐต้องกล้าตัดสินใจ” นายอรรคพล กล่าว