บีโอไอย้ำความตกลงด้านการลงทุนอาเซียนยังไม่มีผลบังคับใช้ จนกว่าชาติสมาชิกทั้งหมดจะให้สัตยาบันครบ 10 ชาติ โดยฝ่ายไทยอยู่ระหว่างจัดทำรายการข้อสงวน พร้อมเร่งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ให้ส่งข้อมูลเรื่องผลกระทบและออกมาตรการรองรับ เช่น ประกาศรายการพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์น้ำที่ต้องการสงวนไว้ให้เฉพาะเกษตรกรไทย
น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยถึงความคืบหน้าเรื่องความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (Asian Comprehensive Investment Agreement: ACIA) ว่า บีโอไออยู่ระหว่างรวบรวมความเห็นและข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ซึ่งจะพิจารณาทบทวนถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากเปิดเสรีการลงทุนในกิจการ 3 สาขา คือ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะ ขยายและปรับปรุงพันธุ์พืช และการทำป่าไม้จากป่าปลูก โดยบีโอไอได้รวบรวมความเห็นและความกังวลของภาคประชาชนและกลุ่มเอ็นจีโอ ไว้รอเสนอให้ที่ประชุม กนศ. พิจารณาแล้ว แต่ยังขาดข้อมูลการศึกษาเชิงลึกและมาตรการรองรับจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
“ขณะนี้ ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียนยังไม่มีผลบังคับใช้จนกว่า 10 ชาติสมาชิกอาเซียน จะให้สัตยาบันครบทุกชาติ ซึ่งขณะนี้เหลือประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และลาว ยังไม่พร้อม เพราะอยู่ระหว่างการจัดทำรายการข้อสงวน ซึ่งต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ” รองเลขาธิการบีโอไอ กล่าว
ที่ผ่านมา บีโอไอได้รับข้อมูลเบื้องต้นจากกรมประมง กรมป่าไม้ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยกรมประมงแจ้งว่าไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่าจะกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย ส่วนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร แจ้งว่า การเปิดเสรีอาจทำให้เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงพันธุ์พืช แต่เห็นด้วยหากเปิดเสรีเฉพาะการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการวิจัย ในขณะที่กรมป่าไม้แจ้งว่า การจะเข้ามาทำป่าไม้ในประเทศไทยนั้น มีกฎหมายเกี่ยวข้องอะไรบ้างที่ต่างชาติต้องปฏิบัติตาม ซึ่งบีโอไอก็ได้ระบุข้อกฎหมายดังกล่าวตามที่กรมป่าไม้ให้ความเห็นแล้ว
ทั้งนี้ บีโอไอได้แจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า กิจการใดที่ประเทศไทยต้องการสงวนไว้ให้เฉพาะคนไทย ก็สามารถออกประกาศใหม่เพื่อระบุพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์น้ำ ที่ต้องการสงวนไว้ให้เฉพาะคนไทยได้ ซึ่งขณะนี้ บีโอไอยังไม่ได้รับแจ้งจากหน่วยงานดังกล่าวว่าจะมีมาตรการรองรับด้วยการออกประกาศใด ๆ บ้าง
น.ส.อัจฉรินทร์ กล่าวต่อไปว่า บทบาทของบีโอไอ มิใช่เป็นผู้ตัดสินหรือพิจารณาว่าประเทศไทยจะต้องเปิดเสรีการลงทุนหรือไม่เปิด บีโอไอทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานและรวบรวมข้อมูลจากทุกฝ่ายเพื่อเสนอต่อ กนศ. คณะรัฐมนตรี และรัฐสภา พิจารณาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีใน 3 สาขา (การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำป่าไม้จากป่าปลูก และการเพาะ ขยาย และปรับปรุงพันธุ์พืช) ไม่ได้หมายความว่า นักลงทุนอาเซียนจะเข้ามาลงทุนโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ เลย เพราะประเทศไทยยังคงสงวนสาขาอาชีพที่มีอยู่ในประเทศไทยตามกฎหมายฉบับอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก
ตัวอย่างเช่น พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งนักลงทุนต่างชาติจะไม่สามารถเข้ามาลงทุนทำนา ทำไร่ ทำสวนได้ พ.ร.บ.ที่ดิน ซึ่งไม่อนุญาตให้คนต่างชาติและบริษัทต่างชาติเป็นเจ้าของที่ดิน พ.ร.บ.ป่าสงวน พ.ศ.2507 ซึ่งต่างชาติไม่สามารถเข้าไปลงทุนในพื้นที่ป่าสงวน พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ.2535 ระบุว่า ผู้ที่จะเข้าไปลงทุนทำสวนป่าในพื้นที่เอกชนต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งนักลงทุนต่างชาติไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และ พ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2490 ที่ระบุว่า ผู้ที่จะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่สาธารณะต้องเป็นคนไทยเท่านั้น
น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยถึงความคืบหน้าเรื่องความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (Asian Comprehensive Investment Agreement: ACIA) ว่า บีโอไออยู่ระหว่างรวบรวมความเห็นและข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ซึ่งจะพิจารณาทบทวนถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากเปิดเสรีการลงทุนในกิจการ 3 สาขา คือ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะ ขยายและปรับปรุงพันธุ์พืช และการทำป่าไม้จากป่าปลูก โดยบีโอไอได้รวบรวมความเห็นและความกังวลของภาคประชาชนและกลุ่มเอ็นจีโอ ไว้รอเสนอให้ที่ประชุม กนศ. พิจารณาแล้ว แต่ยังขาดข้อมูลการศึกษาเชิงลึกและมาตรการรองรับจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
“ขณะนี้ ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียนยังไม่มีผลบังคับใช้จนกว่า 10 ชาติสมาชิกอาเซียน จะให้สัตยาบันครบทุกชาติ ซึ่งขณะนี้เหลือประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และลาว ยังไม่พร้อม เพราะอยู่ระหว่างการจัดทำรายการข้อสงวน ซึ่งต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ” รองเลขาธิการบีโอไอ กล่าว
ที่ผ่านมา บีโอไอได้รับข้อมูลเบื้องต้นจากกรมประมง กรมป่าไม้ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยกรมประมงแจ้งว่าไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่าจะกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย ส่วนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร แจ้งว่า การเปิดเสรีอาจทำให้เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงพันธุ์พืช แต่เห็นด้วยหากเปิดเสรีเฉพาะการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการวิจัย ในขณะที่กรมป่าไม้แจ้งว่า การจะเข้ามาทำป่าไม้ในประเทศไทยนั้น มีกฎหมายเกี่ยวข้องอะไรบ้างที่ต่างชาติต้องปฏิบัติตาม ซึ่งบีโอไอก็ได้ระบุข้อกฎหมายดังกล่าวตามที่กรมป่าไม้ให้ความเห็นแล้ว
ทั้งนี้ บีโอไอได้แจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า กิจการใดที่ประเทศไทยต้องการสงวนไว้ให้เฉพาะคนไทย ก็สามารถออกประกาศใหม่เพื่อระบุพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์น้ำ ที่ต้องการสงวนไว้ให้เฉพาะคนไทยได้ ซึ่งขณะนี้ บีโอไอยังไม่ได้รับแจ้งจากหน่วยงานดังกล่าวว่าจะมีมาตรการรองรับด้วยการออกประกาศใด ๆ บ้าง
น.ส.อัจฉรินทร์ กล่าวต่อไปว่า บทบาทของบีโอไอ มิใช่เป็นผู้ตัดสินหรือพิจารณาว่าประเทศไทยจะต้องเปิดเสรีการลงทุนหรือไม่เปิด บีโอไอทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานและรวบรวมข้อมูลจากทุกฝ่ายเพื่อเสนอต่อ กนศ. คณะรัฐมนตรี และรัฐสภา พิจารณาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีใน 3 สาขา (การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำป่าไม้จากป่าปลูก และการเพาะ ขยาย และปรับปรุงพันธุ์พืช) ไม่ได้หมายความว่า นักลงทุนอาเซียนจะเข้ามาลงทุนโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ เลย เพราะประเทศไทยยังคงสงวนสาขาอาชีพที่มีอยู่ในประเทศไทยตามกฎหมายฉบับอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก
ตัวอย่างเช่น พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งนักลงทุนต่างชาติจะไม่สามารถเข้ามาลงทุนทำนา ทำไร่ ทำสวนได้ พ.ร.บ.ที่ดิน ซึ่งไม่อนุญาตให้คนต่างชาติและบริษัทต่างชาติเป็นเจ้าของที่ดิน พ.ร.บ.ป่าสงวน พ.ศ.2507 ซึ่งต่างชาติไม่สามารถเข้าไปลงทุนในพื้นที่ป่าสงวน พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ.2535 ระบุว่า ผู้ที่จะเข้าไปลงทุนทำสวนป่าในพื้นที่เอกชนต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งนักลงทุนต่างชาติไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และ พ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2490 ที่ระบุว่า ผู้ที่จะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่สาธารณะต้องเป็นคนไทยเท่านั้น