นายกฯ ย้ำแผนพลังงานทดแทนในอีก 15 ปี มีการลงทุนกว่า 4 แสนล้านบาทพร้อมเปิดให้เอกชนลงทุนเป็นหลัก ชี้ไทยมีศักยภาพทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ ขณะที่เอกชนสนใจลงทุนนับพันรายส่งผลให้มีเม็ดเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจหลายหมื่นล้านบาท
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน “พลังงาน กู้วิกฤตไทย” และเป็นองค์ปาฐกในหัวข้อ “พลังงานไทย .... ไทยเข้มแข็ง” ที่ ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยมีนายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน นายสุวัจน์ ลิปตภัลลภ อดีตรองนายกฯ นายขรรภ์ชัย บุญปาน ผู้บริหารสื่อเครือมติชน ร่วมงานด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องวิกฤติพลังงานที่เกิดขึ้นก่อนวิกฤติ เศรษฐกิจรอบนึ้ ซึ่งเป็นประเด็นความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานเป็นสิ่งที่ท้าทาย และขณะนี้เมื่อเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้นประกอบกับผู้นำประเทศต่างๆ ให้ความสนใจกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและการเตรียมการรับมือทั้งสองปัญหา
สิ่งที่เราเห็นว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายคือข้อเท็จจริงที่ว่าพลังงานจากฟอสซิลกำลังหมดไปจากโลก และทุกประเทศต้องแสวงหาพลังงานทดแทนเพื่อมีหลักประกันในการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคงจึงเป็นการท้าทาย
สำหรับปัจจัยพลังงานมีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งการจัดหาและใช้พลังงานจะชี้ขาดความได้เปรียบเสียเปรียบ ซึ่งหากประเทศไหนสามารถจัดหาพลังงานจะสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ให้คนประเทศของตัวเอง โดยประเทศที่พัฒนาแล้วได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเรียบร้อย แต่ประเทศใดที่อยู่ในช่วงของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ก็ถูกท้าทายในเรื่องการจัดหาพลังานมารองรับ แต่อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการที่ดีก็เป็นตัวกำหนด แม้ประเทศที่เจริญที่สุดในบางช่วงยังประสบกับการบริหารจัดหาร เช่น เมื่อเวลาที่ไม่สามารถบริหารเรื่องไฟฟ้าที่มีความต้องการเกินกำลังการผลิต ซึ่งไทยเองก็เคยประสบทั้งวิกฤติน้ำมัน แต่ในการวางแผนระยะยาวด้วยพระอัจฉริยะภาพและสายพระเนตรกันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำให้การบริหารได้รับการแก้ไขและตอบสนองมาด้วยดีโดยลำดับ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า วิกฤติการเงินเป็นภาวะชั่วคราว แม้รุนแรงและยืดเยื้ออยู่บ้างแต่ก็เป็นภาวะชั่วคราว และในที่สุดปัญหาได้รับการแก้ไข จากนั้นปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันและพลังงานจะเป็นตัวกำหนดในการเติบโตของเศรษฐกิจ เมื่อรัฐบาลผ่านมาได้ 9 เดือน ก็เริ่มส่งสัญญาณในทางที่ดี และพลังงานกลายเป็นปัจยัยในหมู่นักลงทุน ด้วยเหตุผลนี้กระทรวงพลังงานและรัฐบาลมีความชัดเจนว่าเราต้องมองไกลตั้งแต่ต้น ไม่ไปมองว่าราคาน้ำมันในช่วงวิกฤติจะเป็นภาวะที่ยั่งยืนได้ เพราะเราทราบดีว่าถ้าราคาน้ำในตกไปจะผลกระทบราคาพืชผลการเกษตร กระทบความคุ้มทุนในการผลิตพลังงานทดแทนก็มีปัญหา เมื่อมั่นใจว่าเป็นภาวะการชั่วคราว กระทรวงพลังงานก็กำหนดทิศทางว่าพลังงานทดแทนต้องเป็นอุตสาหกรรมหลัก โดยมีการวางแผนระยะยาว และเตรียมรองรับการค้าขายคาร์บอนเครดิตในระดับอาเซียน
"ฉะนั้นนโยบายของรัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ 6 ข้อที่ครอบคลุมด้านพลังงานเพื่อเป็นยุทธศาสตร์หลัก และเมื่อเข้าสู่ช่วงของการดำเนินนโยบาย ปฏิบัติการไทยเข้มแข็งจึงได้กำหนดการลงทุน ทั้งในส่วนของกฟผ.และปตท. ซึ่งการลงทุนส่วนนี้กำลังดำเนินการเพื่อเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาล"นายกฯ กล่าว
นายกฯ กล่าวต่อไปว่า รัฐบาลให้ความเห็นชอบการพัฒนาพลังงานทดแทนระยะยาว 15 ปี ที่ครม.อนุมัติตั้งแต่เดือนม.ค.ที่ผ่านมา โดยระบุว่าไทยจะต้องลงทุนกว่า 4 แสนล้านบาทในอีก 15 ปีข้างหน้า ในการหาพลังงานทดแทนให้ได้ร้อยละ 20.3 โดยให้เอกชนลงทุนเป็นหลัก ส่วนรัฐและรัฐวิสาหกิจจะเป็นผู้สาธิตและกำหนดนโยบาย หากดำเนินการสำเร็จจะช่วยลดการนำพลังงานเข้าได้ถึง 4 แสนล้านในปี 2565 และจะให้เกิดการสร้างงานและลดการย้ายถิ่นฐานของแรงงาน
นอกจากนี้นายกฯ ได้กล่าวถึงพลังงานทางเลือกในอนาคตคือ ไบโอดีเซลและเอทานอลว่า เป็นโอกาสสำคัญในภาคการเกษตรที่ยกระดับรายได้ให้เกษตรกรได้อย่างดี เมื่อมีการดำเนินการกำหนดโครงสร้างจะพบว่ายอดการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซล จะมีการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและจะได้รับการส่งเสริมย่างจริงจัง ส่วนเชื่อเพลิงชีวภาพก็จะมีการสร้างตลาดในอาเซียน โดยจะปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่นๆได้ ส่วนพลังงานหมุนเวียนด้านอื่นไทยมีศักยภาพทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ แสงอาทิตย์ มีศักยภาพที่สูงทั้งสิ้น และพลังงานชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ถ้ามีความหลากหลายก็จะเป็นการบริหารความเสี่ยงที่ดี และจะลงไปสู่ระดับชุมชนและท้องถิ่นมากขึ้นด้วย และยังเป็นการแก้ปัญหาโลกร้อนด้วย
"ขณะนี้มีการดำเนินการตามแผนของกระทรวงพลังงาน โดยรัฐบาลได้รับข้อเสนอจากเอกชนในการผลิตพลังงานทดแทนจำนวน 1 พันกว่าราย ทำให้เกิดเม็ดลงสู่ระบบเศรษฐกิจไทยหลายหมื่นล้านต่อปี”นายกฯ กล่าว
นายกฯ กล่าวว่า ทั้งหลายทั้งปวงนี่เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจและวางรากฐานในการเติบโตที่ยั่งยืนต่อไปในการมีโครงสร้างของพลังงานที่ดีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ต้องได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งต้องเกิดจากการเปลี่ยนทัศนะคติของประชาชน ในเรื่องของประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ขณะเดียวกันเรื่องของความเป็นธรรมให้ประชาชนที่มีรายได้น้อย เรื่องของราคาที่ความจำเป็น เช่นก๊าซหุงต้มแอลพีจี เอ็นจีวี ค่าเอฟที รัฐบาลก็ตรึงราคาให้ถึงเดือนสิงหาคมปีหน้า
"ย้ำอีกครั้งว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งต้องมีระบบพลังงานที่เข้มแข็ง พลังงานที่ยั่งยืนต้องเป็นระบยบพลังงานที่รองรับผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีหลักประกันว่ามีความยั่งยืน การลงทุนในโครงสร้างพื่นฐานให้แรงจูงใจกับเอกชน เพื่อเป็นไปตามแผนที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งให้ประเทศ" นายกฯ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน “พลังงาน กู้วิกฤตไทย” และเป็นองค์ปาฐกในหัวข้อ “พลังงานไทย .... ไทยเข้มแข็ง” ที่ ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยมีนายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน นายสุวัจน์ ลิปตภัลลภ อดีตรองนายกฯ นายขรรภ์ชัย บุญปาน ผู้บริหารสื่อเครือมติชน ร่วมงานด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องวิกฤติพลังงานที่เกิดขึ้นก่อนวิกฤติ เศรษฐกิจรอบนึ้ ซึ่งเป็นประเด็นความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานเป็นสิ่งที่ท้าทาย และขณะนี้เมื่อเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้นประกอบกับผู้นำประเทศต่างๆ ให้ความสนใจกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและการเตรียมการรับมือทั้งสองปัญหา
สิ่งที่เราเห็นว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายคือข้อเท็จจริงที่ว่าพลังงานจากฟอสซิลกำลังหมดไปจากโลก และทุกประเทศต้องแสวงหาพลังงานทดแทนเพื่อมีหลักประกันในการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคงจึงเป็นการท้าทาย
สำหรับปัจจัยพลังงานมีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งการจัดหาและใช้พลังงานจะชี้ขาดความได้เปรียบเสียเปรียบ ซึ่งหากประเทศไหนสามารถจัดหาพลังงานจะสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ให้คนประเทศของตัวเอง โดยประเทศที่พัฒนาแล้วได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเรียบร้อย แต่ประเทศใดที่อยู่ในช่วงของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ก็ถูกท้าทายในเรื่องการจัดหาพลังานมารองรับ แต่อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการที่ดีก็เป็นตัวกำหนด แม้ประเทศที่เจริญที่สุดในบางช่วงยังประสบกับการบริหารจัดหาร เช่น เมื่อเวลาที่ไม่สามารถบริหารเรื่องไฟฟ้าที่มีความต้องการเกินกำลังการผลิต ซึ่งไทยเองก็เคยประสบทั้งวิกฤติน้ำมัน แต่ในการวางแผนระยะยาวด้วยพระอัจฉริยะภาพและสายพระเนตรกันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำให้การบริหารได้รับการแก้ไขและตอบสนองมาด้วยดีโดยลำดับ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า วิกฤติการเงินเป็นภาวะชั่วคราว แม้รุนแรงและยืดเยื้ออยู่บ้างแต่ก็เป็นภาวะชั่วคราว และในที่สุดปัญหาได้รับการแก้ไข จากนั้นปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันและพลังงานจะเป็นตัวกำหนดในการเติบโตของเศรษฐกิจ เมื่อรัฐบาลผ่านมาได้ 9 เดือน ก็เริ่มส่งสัญญาณในทางที่ดี และพลังงานกลายเป็นปัจยัยในหมู่นักลงทุน ด้วยเหตุผลนี้กระทรวงพลังงานและรัฐบาลมีความชัดเจนว่าเราต้องมองไกลตั้งแต่ต้น ไม่ไปมองว่าราคาน้ำมันในช่วงวิกฤติจะเป็นภาวะที่ยั่งยืนได้ เพราะเราทราบดีว่าถ้าราคาน้ำในตกไปจะผลกระทบราคาพืชผลการเกษตร กระทบความคุ้มทุนในการผลิตพลังงานทดแทนก็มีปัญหา เมื่อมั่นใจว่าเป็นภาวะการชั่วคราว กระทรวงพลังงานก็กำหนดทิศทางว่าพลังงานทดแทนต้องเป็นอุตสาหกรรมหลัก โดยมีการวางแผนระยะยาว และเตรียมรองรับการค้าขายคาร์บอนเครดิตในระดับอาเซียน
"ฉะนั้นนโยบายของรัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ 6 ข้อที่ครอบคลุมด้านพลังงานเพื่อเป็นยุทธศาสตร์หลัก และเมื่อเข้าสู่ช่วงของการดำเนินนโยบาย ปฏิบัติการไทยเข้มแข็งจึงได้กำหนดการลงทุน ทั้งในส่วนของกฟผ.และปตท. ซึ่งการลงทุนส่วนนี้กำลังดำเนินการเพื่อเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาล"นายกฯ กล่าว
นายกฯ กล่าวต่อไปว่า รัฐบาลให้ความเห็นชอบการพัฒนาพลังงานทดแทนระยะยาว 15 ปี ที่ครม.อนุมัติตั้งแต่เดือนม.ค.ที่ผ่านมา โดยระบุว่าไทยจะต้องลงทุนกว่า 4 แสนล้านบาทในอีก 15 ปีข้างหน้า ในการหาพลังงานทดแทนให้ได้ร้อยละ 20.3 โดยให้เอกชนลงทุนเป็นหลัก ส่วนรัฐและรัฐวิสาหกิจจะเป็นผู้สาธิตและกำหนดนโยบาย หากดำเนินการสำเร็จจะช่วยลดการนำพลังงานเข้าได้ถึง 4 แสนล้านในปี 2565 และจะให้เกิดการสร้างงานและลดการย้ายถิ่นฐานของแรงงาน
นอกจากนี้นายกฯ ได้กล่าวถึงพลังงานทางเลือกในอนาคตคือ ไบโอดีเซลและเอทานอลว่า เป็นโอกาสสำคัญในภาคการเกษตรที่ยกระดับรายได้ให้เกษตรกรได้อย่างดี เมื่อมีการดำเนินการกำหนดโครงสร้างจะพบว่ายอดการใช้แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซล จะมีการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและจะได้รับการส่งเสริมย่างจริงจัง ส่วนเชื่อเพลิงชีวภาพก็จะมีการสร้างตลาดในอาเซียน โดยจะปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่นๆได้ ส่วนพลังงานหมุนเวียนด้านอื่นไทยมีศักยภาพทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ แสงอาทิตย์ มีศักยภาพที่สูงทั้งสิ้น และพลังงานชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ถ้ามีความหลากหลายก็จะเป็นการบริหารความเสี่ยงที่ดี และจะลงไปสู่ระดับชุมชนและท้องถิ่นมากขึ้นด้วย และยังเป็นการแก้ปัญหาโลกร้อนด้วย
"ขณะนี้มีการดำเนินการตามแผนของกระทรวงพลังงาน โดยรัฐบาลได้รับข้อเสนอจากเอกชนในการผลิตพลังงานทดแทนจำนวน 1 พันกว่าราย ทำให้เกิดเม็ดลงสู่ระบบเศรษฐกิจไทยหลายหมื่นล้านต่อปี”นายกฯ กล่าว
นายกฯ กล่าวว่า ทั้งหลายทั้งปวงนี่เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจและวางรากฐานในการเติบโตที่ยั่งยืนต่อไปในการมีโครงสร้างของพลังงานที่ดีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ต้องได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งต้องเกิดจากการเปลี่ยนทัศนะคติของประชาชน ในเรื่องของประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ขณะเดียวกันเรื่องของความเป็นธรรมให้ประชาชนที่มีรายได้น้อย เรื่องของราคาที่ความจำเป็น เช่นก๊าซหุงต้มแอลพีจี เอ็นจีวี ค่าเอฟที รัฐบาลก็ตรึงราคาให้ถึงเดือนสิงหาคมปีหน้า
"ย้ำอีกครั้งว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งต้องมีระบบพลังงานที่เข้มแข็ง พลังงานที่ยั่งยืนต้องเป็นระบยบพลังงานที่รองรับผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีหลักประกันว่ามีความยั่งยืน การลงทุนในโครงสร้างพื่นฐานให้แรงจูงใจกับเอกชน เพื่อเป็นไปตามแผนที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งให้ประเทศ" นายกฯ กล่าว