ตลาดหลักทรัพย์ฯ หนุนผู้ลงทุนสถาบันส่งคำสั่งซื้อขายแบบ Algorithmic Trading ปรับเกณฑ์รองรับ ลดอุปสรรคในการทำธุรกรรม รวมทั้งให้ความรู้แก่บริษัทหลักทรัพย์และผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ คาดหลังปรับเกณฑ์และส่งเสริมจริงจัง จะช่วยเสริมสภาพคล่องมากขึ้น
นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย รองผู้จัดการ สายงานการตลาดและงานบริการหลังการซื้อขายหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ตลท. ได้เปิดให้ส่งคำสั่งซื้อขายแบบAlgorithmic Trading และมีนโยบายสนับสนุน ลดอุปสรรค เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์และผู้ลงทุนสถาบันใช้ Algorithmic Trading มากขึ้น เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขาย ซึ่งจะส่งผลดีต่อการซื้อขายของผู้ลงทุนทุกกลุ่ม อันถือเป็นแผนงานสำคัญของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องให้มากขึ้น โดยจากสถิติในปี 2551 มีมูลค่าการซื้อขายผ่านการใช้โปรแกรม Algorithmic Trading ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ร้อยละ 15 ตลาดหลักทรัพย์เกาหลี ร้อยละ 13.5 และตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ร้อยละ 9.3สำหรับประเทศไทยยังอยู่ในวงจำกัด มีเพียงร้อยละ 0.7 ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด
สำหรับ Algorithmic Trading เป็นการซื้อขายผ่านชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ซึ่งช่วยตัดสินใจซื้อขาย โดยการกำหนดค่าต่างๆที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่มีกล ยุทธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ให้นักลงทุนส่งคำสั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ช่วยเพิ่มความสะดวกในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนและต้นทุนการซื้อขาย จึงเป็นวิธีที่ใช้กันมากในกลุ่มผู้จัดการกองทุนในประเทศแถบอเมริกา ยุโรป และเอเชียบางประเทศ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เชื่อมั่นว่า Algorithmic Trading จะได้รับความสนใจจากบริษัทหลักทรัพย์และผู้ลงทุนสถาบันไทยมากยิ่งขึ้น โดยจะสนับสนุนการส่งคำสั่งแบบ Algorithmic Trading อย่างจริงจัง และปรับปรุงเกณฑ์เพื่อรองรับกลยุทธ์ในการลงทุนให้หลากหลาย ลดความยุ่งยากซับซ้อนในการขอส่งคำสั่งด้วยวิธีดังกล่าว รวมทั้งสนับสนุนการใช้ ในประเทศไทยผ่านช่องทาง Direct Market Access (DMA) (ซึ่งเป็นวิธีการส่งคำสั่งซื้อขายจากระบบของผู้ลงทุนผ่านระบบของสมาชิก โดยไม่มีการแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่) รวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจแก่บริษัทหลักทรัพย์และผู้ลงทุนในประเทศ จะทำให้ Algorithmic trading เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดสภาพคล่องกับตลาดหลักทรัพย์ฯ มากยิ่งขึ้น อีกทั้งกลยุทธ์ด้านการลงทุนต่างๆ จะสามารถตอบสนองการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ลงทุนสถาบันได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาตลาดทุนไทยโดยรวม
นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย รองผู้จัดการ สายงานการตลาดและงานบริการหลังการซื้อขายหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ตลท. ได้เปิดให้ส่งคำสั่งซื้อขายแบบAlgorithmic Trading และมีนโยบายสนับสนุน ลดอุปสรรค เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์และผู้ลงทุนสถาบันใช้ Algorithmic Trading มากขึ้น เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขาย ซึ่งจะส่งผลดีต่อการซื้อขายของผู้ลงทุนทุกกลุ่ม อันถือเป็นแผนงานสำคัญของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องให้มากขึ้น โดยจากสถิติในปี 2551 มีมูลค่าการซื้อขายผ่านการใช้โปรแกรม Algorithmic Trading ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ร้อยละ 15 ตลาดหลักทรัพย์เกาหลี ร้อยละ 13.5 และตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ร้อยละ 9.3สำหรับประเทศไทยยังอยู่ในวงจำกัด มีเพียงร้อยละ 0.7 ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด
สำหรับ Algorithmic Trading เป็นการซื้อขายผ่านชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ซึ่งช่วยตัดสินใจซื้อขาย โดยการกำหนดค่าต่างๆที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่มีกล ยุทธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ให้นักลงทุนส่งคำสั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ช่วยเพิ่มความสะดวกในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนและต้นทุนการซื้อขาย จึงเป็นวิธีที่ใช้กันมากในกลุ่มผู้จัดการกองทุนในประเทศแถบอเมริกา ยุโรป และเอเชียบางประเทศ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เชื่อมั่นว่า Algorithmic Trading จะได้รับความสนใจจากบริษัทหลักทรัพย์และผู้ลงทุนสถาบันไทยมากยิ่งขึ้น โดยจะสนับสนุนการส่งคำสั่งแบบ Algorithmic Trading อย่างจริงจัง และปรับปรุงเกณฑ์เพื่อรองรับกลยุทธ์ในการลงทุนให้หลากหลาย ลดความยุ่งยากซับซ้อนในการขอส่งคำสั่งด้วยวิธีดังกล่าว รวมทั้งสนับสนุนการใช้ ในประเทศไทยผ่านช่องทาง Direct Market Access (DMA) (ซึ่งเป็นวิธีการส่งคำสั่งซื้อขายจากระบบของผู้ลงทุนผ่านระบบของสมาชิก โดยไม่มีการแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่) รวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจแก่บริษัทหลักทรัพย์และผู้ลงทุนในประเทศ จะทำให้ Algorithmic trading เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดสภาพคล่องกับตลาดหลักทรัพย์ฯ มากยิ่งขึ้น อีกทั้งกลยุทธ์ด้านการลงทุนต่างๆ จะสามารถตอบสนองการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ลงทุนสถาบันได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาตลาดทุนไทยโดยรวม