รมช.คลัง เผยงบกลางปีกระตุ้น ศก.วงเงิน 1.17 แสนล้าน เบิกจ่ายไปแล้ว 77% พร้อมเปิด 5 อันดับโครงการ เบิกจ่ายสูงสุด เน้นแจกโครงการลงทุนด้านสังคม มั่นใจ เบิกได้ตามเป้าหมาย ภายในสิ้นเดือน ก.ย.นี้ เพื่อกระตุ้น ศก.โดยตรง
นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการเบิกจ่ายงบกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับเพิ่มเติมกลางปี 116,700 ล้านบาท รวม 16 โครงการ จนถึงวันที่ 11 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา พบว่า มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 89,912 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 77 ของงบกระตุ้นกลางปี
สำหรับโครงการที่เบิกจ่ายสูงสุด 5 โครงการ ได้แก่ โครงการสร้างหลักประกันด้านรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ 8,998 ล้านบาท โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 3,000 ล้านบาท โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือนเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน 11,050 ล้านบาท โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐหรือโครงการเช็คช่วยชาติ 17,982 บาท และโครงการสนับสนุนการจัดการ ศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี 16,924 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 100 ร้อยละ 100 ร้อยละ 97 ร้อยละ 95 และร้อยละ 87 ของเงินงบประมาณที่ได้รับแต่ละโครงการตามลำดับ
ส่วนโครงการที่ยังไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในสิ้นเดือนกันยายน 2552 นี้ คงต้องกันเงินไว้เบิกในปีงบประมาณถัดไป แต่จะพยายามเร่งรัดให้มีการเบิกจ่ายให้มากขึ้น เพราะงบประมาณดังกล่าวเป็นงบที่จัดสรรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง
ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2552 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 11 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายงบประมาณไปแล้วร้อยละ 83.12 และงบลงทุนเบิกจ่ายแล้วร้อยละ 71.15 ของวงเงินงบประมาณที่ได้รับ ซึ่งจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2552 คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมาย แต่หากเบิกจ่ายไม่ทันภายในสิ้นเดือนกันยายน 2552 จะไม่อนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี แม้ว่าจะก่อหนี้ผูกพันทัน
โดยหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท มี 25 หน่วยงาน มีรายจ่ายลงทุนรวมกันทั้งสิ้น 268,773.17 ล้านบาท หรือร้อยละ 75.50 ของวงเงินรายจ่ายลงทุน 356,008.87 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายแล้ว 201,423.40 ล้านบาท หรือร้อยละ 74.94 ของรายจ่ายลงทุน มีหน่วยงานที่เบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมาย 15 หน่วยงาน
สาเหตุที่เบิกจ่ายล่าช้ามี 3 สาเหตุสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบรายการบางหน่วยงานยังมี ทำให้ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนการประกวดราคา การประสบปัญหาได้รับการต่อต้านจากมวลชน ทำให้ไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ดำเนินงาน และโครงการที่ผูกพันข้ามปีงบประมาณ หน่วยงานได้มีการเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณที่กันไว้เบิกเหลื่อมปีก่อน หลังจากนั้นจึงจะเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบัน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวด้วยว่า งบประมาณอุดหนุนในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 134,766.64 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้วจำนวน 113,685.49 ล้านบาท หรือร้อยละ 84.36 ในส่วนของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับรายจ่ายลงทุนทั้งสิ้น 17 แห่ง มีรายจ่ายลงทุนรวมกัน 13,753.57 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.86 ของวงเงินรายจ่ายลงทุน 356,008.87 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายแล้ว 7,572.73 ล้านบาท หรือร้อยละ 55.06 ของรายจ่ายลงทุน โดยมีรัฐวิสาหกิจที่ได้รับรายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท 4 แห่ง ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การเคหะแห่งชาติ (กคช.) และการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ซึ่งมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 21.93 ร้อยละ 39.03 ร้อยละ 70.73 และร้อยละ 79.59
สาเหตุการเบิกจ่ายล่าช้าเนื่องจากมีการปรับลดขนาดการลงทุน ประกอบกับรัฐวิสาหกิจมีแหล่งเงินหลายแหล่ง ได้แก่ เงินกู้ รายได้ของรัฐวิสาหกิจเอง และงบประมาณ โดยจะเบิกจ่ายจากเงินกู้และรายได้ก่อน
“ภาพรวมผลการเบิกจ่ายจนถึงวันที่ 11 กันยายน 2552 น่าพอใจ คาดว่าทั้งปีงบประมาณจะสามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมาย สำหรับงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จะเริ่มเบิกจ่ายในปี 2553 ได้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเบิกจ่าย และการบันทึกบัญชีในระบบ GFMIS เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งการผ่อนคลายระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง โดยลดขั้นตอนและระยะเวลาจากเดิม 85 วัน เหลือเพียง 28 วัน หวังว่าจะมีการเบิกจ่ายได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม คงต้องเตรียมการเกี่ยวกับมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายไว้ด้วย”
นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการเบิกจ่ายงบกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับเพิ่มเติมกลางปี 116,700 ล้านบาท รวม 16 โครงการ จนถึงวันที่ 11 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา พบว่า มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 89,912 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 77 ของงบกระตุ้นกลางปี
สำหรับโครงการที่เบิกจ่ายสูงสุด 5 โครงการ ได้แก่ โครงการสร้างหลักประกันด้านรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ 8,998 ล้านบาท โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 3,000 ล้านบาท โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือนเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน 11,050 ล้านบาท โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐหรือโครงการเช็คช่วยชาติ 17,982 บาท และโครงการสนับสนุนการจัดการ ศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี 16,924 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 100 ร้อยละ 100 ร้อยละ 97 ร้อยละ 95 และร้อยละ 87 ของเงินงบประมาณที่ได้รับแต่ละโครงการตามลำดับ
ส่วนโครงการที่ยังไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในสิ้นเดือนกันยายน 2552 นี้ คงต้องกันเงินไว้เบิกในปีงบประมาณถัดไป แต่จะพยายามเร่งรัดให้มีการเบิกจ่ายให้มากขึ้น เพราะงบประมาณดังกล่าวเป็นงบที่จัดสรรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง
ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2552 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 11 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายงบประมาณไปแล้วร้อยละ 83.12 และงบลงทุนเบิกจ่ายแล้วร้อยละ 71.15 ของวงเงินงบประมาณที่ได้รับ ซึ่งจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2552 คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมาย แต่หากเบิกจ่ายไม่ทันภายในสิ้นเดือนกันยายน 2552 จะไม่อนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี แม้ว่าจะก่อหนี้ผูกพันทัน
โดยหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท มี 25 หน่วยงาน มีรายจ่ายลงทุนรวมกันทั้งสิ้น 268,773.17 ล้านบาท หรือร้อยละ 75.50 ของวงเงินรายจ่ายลงทุน 356,008.87 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายแล้ว 201,423.40 ล้านบาท หรือร้อยละ 74.94 ของรายจ่ายลงทุน มีหน่วยงานที่เบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมาย 15 หน่วยงาน
สาเหตุที่เบิกจ่ายล่าช้ามี 3 สาเหตุสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบรายการบางหน่วยงานยังมี ทำให้ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนการประกวดราคา การประสบปัญหาได้รับการต่อต้านจากมวลชน ทำให้ไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ดำเนินงาน และโครงการที่ผูกพันข้ามปีงบประมาณ หน่วยงานได้มีการเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณที่กันไว้เบิกเหลื่อมปีก่อน หลังจากนั้นจึงจะเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบัน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวด้วยว่า งบประมาณอุดหนุนในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 134,766.64 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้วจำนวน 113,685.49 ล้านบาท หรือร้อยละ 84.36 ในส่วนของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับรายจ่ายลงทุนทั้งสิ้น 17 แห่ง มีรายจ่ายลงทุนรวมกัน 13,753.57 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.86 ของวงเงินรายจ่ายลงทุน 356,008.87 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายแล้ว 7,572.73 ล้านบาท หรือร้อยละ 55.06 ของรายจ่ายลงทุน โดยมีรัฐวิสาหกิจที่ได้รับรายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท 4 แห่ง ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การเคหะแห่งชาติ (กคช.) และการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ซึ่งมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 21.93 ร้อยละ 39.03 ร้อยละ 70.73 และร้อยละ 79.59
สาเหตุการเบิกจ่ายล่าช้าเนื่องจากมีการปรับลดขนาดการลงทุน ประกอบกับรัฐวิสาหกิจมีแหล่งเงินหลายแหล่ง ได้แก่ เงินกู้ รายได้ของรัฐวิสาหกิจเอง และงบประมาณ โดยจะเบิกจ่ายจากเงินกู้และรายได้ก่อน
“ภาพรวมผลการเบิกจ่ายจนถึงวันที่ 11 กันยายน 2552 น่าพอใจ คาดว่าทั้งปีงบประมาณจะสามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมาย สำหรับงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จะเริ่มเบิกจ่ายในปี 2553 ได้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเบิกจ่าย และการบันทึกบัญชีในระบบ GFMIS เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งการผ่อนคลายระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง โดยลดขั้นตอนและระยะเวลาจากเดิม 85 วัน เหลือเพียง 28 วัน หวังว่าจะมีการเบิกจ่ายได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม คงต้องเตรียมการเกี่ยวกับมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายไว้ด้วย”