สบน.เผย 4 แบงก์ใหญ่ "KTB-SCB-TMB-โตเกียวมิตซู" ร่วมปล่อยกู้ไทยเข้มแข็งล็อตแรก 3 หมื่นล้าน ดอกเบี้ย 1.5% ส่วนวงเงินที่เหลือจาก พ.ร.ก. 4 แสนล้านอยู่ระหว่างร่างแผนกู้ให้เหมาะสมกับต้นทุน
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาารณะ (สบน.) เปิดเผยความคืบหน้าการกู้เงินเพื่อใช้ในแนวปฏิบัติการไทยเข้มแข็งล็อตแรกวงเงิน 3 หมื่นล้านบาท นั้น สบน.ได้เรียกสถาบันการเงินที่มีในประเทศไทยทั้งหมดมากกว่า 30 แห่งเข้าร่วมเสนอเงื่อนไขการให้กระทรวงการคลังกู้เงิน โดยกำหนดให้แต่ละแห่งเสนอขั้นต่ำ 5 พันล้านบาท เป็นการกู้แบบเทอมโลนระยะเวลา 1-2 ปีนั้น จะเริ่มทยอยเบิกจ่ายได้ปลายดือน ก.ย.นี้
สำหรับสถาบันการเงินที่เสนอเงื่อนไขการปล่อยกู้เข้ามาและได้รับการคัดเลือกประกอบไปด้วย ธนาคาพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศ 4 แห่ง คือ ธนาคารโตเกียวมิตซูบิชิ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) (KTB) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) (SCB) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) โดยเสนอเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยประมาณ 1.50% ต่อปี เฉลี่ยให้กู้รายละ 7-8 พันล้านบาท
ในส่วนของการเบิกจ่ายวงเงินกระทรวงการคลังได้เปิดวงเงินไว้สำหรับรองรับโครงการต่างๆ ที่มีการเปิดประมูลและเซ็นสัญญาก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว และกระทรวงต้นสังกัดเสนอเรื่องเข้ามาก็สามารถเบิกจ่ายเงินได้ทันที เพระหากมีการกู้เงินออกมาก่อนโดยยังไม่มีการเซ็นสัญญาจะทำกระทวงการคลังต้องจ่ายดอกเบี้ยในทันทีที่มีการกู้เงินออกมา
“วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ก้อนนี้ถือเป็นเงินก้อนแรกที่มีการกู้มาพื่อใช้ในโครงการไทยเข้มแข็งต่อจากพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งที่เปิดขายให้ประชาชนรายย่อยไปก่อนน้านี้ ส่วนที่เหลือตามอำนาจ พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาทอยู่ในระหว่างทำแผนการกู้เงินให้หมาะสมกับโครงการและระยะเวลาการใช้เงินพื่อให้ประหยัดต้นทุนได้มากที่สุด”
ส่วนโครงการใช้เงินก้อนแรกในปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ขณะนี้ส่วนใหญ่เป็นโครงการของกรมทางหลวง โดยหลังจากกดปุ่มเปิดตัวโครงการถึงปัจจุบันมีการจัดซือจัดจ้างแล้วกว่า 70% หรือเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท เช่นโครงการถนนไร้ฝุ่นทั่วประเทศ เหลือแต่รออนุมัติเบิกจ่ายเงินเท่านั้นและเป็นโครงการที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี ก็น่าจะสอดคล้องกับแหล่งเงินกู้ดังกล่าว โดยน่าจะเบิกจ่ายเงินออกไปได้เร็ว เพราะส่วนใหญ่มีความพร้อมดำเนินโครงการอยู่แล้ว
ส่วนอีก 10,000 ล้านบาท เป็นการใช้เงินของกระทรวงการคลังเพื่อใช้ในการเพิ่มทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หลังจากต้องเร่งดำนินโครงการปล่อยสินชื่อตามนโยบายเพื่อช่วยผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชนทั่วไป เช่นโครงการสินเชื่อฟาสต์แทร็ก
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังจากปลายเดือน ก.ย.-ต้นเดือน ต.ค.จะมีโครงการเสนอขอใช้เงินเพิ่มเข้ามามากขึ้น และ สบน.ก็จะทยอยดำเนินการกู้เงินให้สอดคล้องกับการใช้เงิน
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาารณะ (สบน.) เปิดเผยความคืบหน้าการกู้เงินเพื่อใช้ในแนวปฏิบัติการไทยเข้มแข็งล็อตแรกวงเงิน 3 หมื่นล้านบาท นั้น สบน.ได้เรียกสถาบันการเงินที่มีในประเทศไทยทั้งหมดมากกว่า 30 แห่งเข้าร่วมเสนอเงื่อนไขการให้กระทรวงการคลังกู้เงิน โดยกำหนดให้แต่ละแห่งเสนอขั้นต่ำ 5 พันล้านบาท เป็นการกู้แบบเทอมโลนระยะเวลา 1-2 ปีนั้น จะเริ่มทยอยเบิกจ่ายได้ปลายดือน ก.ย.นี้
สำหรับสถาบันการเงินที่เสนอเงื่อนไขการปล่อยกู้เข้ามาและได้รับการคัดเลือกประกอบไปด้วย ธนาคาพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศ 4 แห่ง คือ ธนาคารโตเกียวมิตซูบิชิ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) (KTB) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) (SCB) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) โดยเสนอเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยประมาณ 1.50% ต่อปี เฉลี่ยให้กู้รายละ 7-8 พันล้านบาท
ในส่วนของการเบิกจ่ายวงเงินกระทรวงการคลังได้เปิดวงเงินไว้สำหรับรองรับโครงการต่างๆ ที่มีการเปิดประมูลและเซ็นสัญญาก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว และกระทรวงต้นสังกัดเสนอเรื่องเข้ามาก็สามารถเบิกจ่ายเงินได้ทันที เพระหากมีการกู้เงินออกมาก่อนโดยยังไม่มีการเซ็นสัญญาจะทำกระทวงการคลังต้องจ่ายดอกเบี้ยในทันทีที่มีการกู้เงินออกมา
“วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ก้อนนี้ถือเป็นเงินก้อนแรกที่มีการกู้มาพื่อใช้ในโครงการไทยเข้มแข็งต่อจากพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งที่เปิดขายให้ประชาชนรายย่อยไปก่อนน้านี้ ส่วนที่เหลือตามอำนาจ พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาทอยู่ในระหว่างทำแผนการกู้เงินให้หมาะสมกับโครงการและระยะเวลาการใช้เงินพื่อให้ประหยัดต้นทุนได้มากที่สุด”
ส่วนโครงการใช้เงินก้อนแรกในปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ขณะนี้ส่วนใหญ่เป็นโครงการของกรมทางหลวง โดยหลังจากกดปุ่มเปิดตัวโครงการถึงปัจจุบันมีการจัดซือจัดจ้างแล้วกว่า 70% หรือเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท เช่นโครงการถนนไร้ฝุ่นทั่วประเทศ เหลือแต่รออนุมัติเบิกจ่ายเงินเท่านั้นและเป็นโครงการที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี ก็น่าจะสอดคล้องกับแหล่งเงินกู้ดังกล่าว โดยน่าจะเบิกจ่ายเงินออกไปได้เร็ว เพราะส่วนใหญ่มีความพร้อมดำเนินโครงการอยู่แล้ว
ส่วนอีก 10,000 ล้านบาท เป็นการใช้เงินของกระทรวงการคลังเพื่อใช้ในการเพิ่มทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หลังจากต้องเร่งดำนินโครงการปล่อยสินชื่อตามนโยบายเพื่อช่วยผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชนทั่วไป เช่นโครงการสินเชื่อฟาสต์แทร็ก
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังจากปลายเดือน ก.ย.-ต้นเดือน ต.ค.จะมีโครงการเสนอขอใช้เงินเพิ่มเข้ามามากขึ้น และ สบน.ก็จะทยอยดำเนินการกู้เงินให้สอดคล้องกับการใช้เงิน