โครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ของปูนใหญ่เนื้อหอม “ตะวันออกกลาง” สนใจเข้าร่วมถือหุ้นโครงการดังกล่าว หวังป้อนวัตถุดิบในโครงการนี้ ซึ่งเป็นการเสริมความมั่นคงด้านวัตถุดิบดีขึ้น แถมตะวันออกกลางเงินหนา ทำให้โครงการดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเดินหน้าได้ในปี53 หลังต้องดีเลย์ไปเนื่องจากวิกฤตการเงินโลก
แหล่งข่าวจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศผู้ค้าน้ำมันในตะวันออกกลาง มีความสนใจที่จะเข้าร่วมทุนในโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ของเครือซิเมนต์ไทย (เอสซีจี ) ที่ประเทศเวียดนาม เพื่อผู้ป้อนวัตถุดิบให้กับโครงการดังกล่าว ทั้งแนฟธา และก๊าซแอลพีจี ซึ่งจะช่วยสร้างมั่งคงด้านตลาดที่จะรองรับผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจากโรงกลั่นในแถบตะวันออกกลาง อีกทั้งประเทศตะวันออกกลางมีเม็ดเงินลงทุนหนา ขณะเดียวกัน ทางเอสซีจี กรุ๊ป ก็ได้ประโยชน์ ช่วยสร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบในการป้อนโรงโอเลฟินส์ แครกเกอร์ด้วย
ทั้งนี้ เดิมโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ที่เวียดนาม จะรับวัตถุดิบจากโรงกลั่นน้ำมันของเวียดนาม ซึ่งปริมาณแนฟธา และแอลพีจี ที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ทำให้ต้องมีการนำเข้าบางส่วน ซึ่งโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ของเครือซิเมนต์ไทยนั้น ประกอบด้วย โรงโอเลฟินส์แครกเกอร์ขนาด 1 ล้านตัน/ปี จะใช้วัตถุดิบ หรือแนฟธา ประมาณ 3 ล้านตัน/ปี และยังมีโครงการดาวน์สตรีมที่ผลิตเม็ดพลาสติกอีกหลายโครงการ
สำหรับสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนจากตะวันออกกลาง ยังอยู่ระหว่างการเจรจากัน ซึ่งยังไม่มีข้อสรุป แต่ทั้งนี้ ทางเวียดนามก็ยังคงรักษาสัดส่วนการถือหุ้นในโครงการนี้ไว้ที่ 29% ซึ่งปัจจุบันโครงการดังกล่าวเริ่มมีความคืบหน้าไประดับหนึ่งแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ ทางเครือซิเมนต์ไทยได้ประกาศชะลอโครงการดังกล่าวไปอย่างน้อย 2ปี เนื่องจากเกิดวิกฤตการเงินโลก ทำให้การจัดหาสินเชื่อเพื่อใช้ลงทุนในโครงการขนาดใหญ่มูลค่าเงินลงทุน 3.5-4 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาทเป็นไปได้ยาก
เมื่อเร็วๆ นี้ นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าสถานการณ์การเงินโลกในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับต้นปี 2552 ทำให้บริษัทเตรียมเดินหน้าโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ได้เร็วๆ นี้ เพื่อรองรับความต้องการใช้พลาสติกของเวียดนาม ขณะที่กำลังการผลิตใหม่จากตะวันออกกลางที่จะเข้ามาในปีนี้ 9 ล้านตัน ลดลงเหลือ 5 ล้านตัน ทำให้ตลาดเม็ดพลาสติกยังมีมาร์จินที่ดีอยู่
ทั้งนี้ โครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ที่เวียดนาม ซึ่งลงทุนร่วมกับพันธมิตรเวียดนาม จะประกอบด้วยโครงการปิโตรเคมีขั้นต้น คือ โรงโอเลฟินส์ และโครงการดาวน์สตรีม คือโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก HDPE LDPE PVC และโรงงานผลิต VCM-EDC ซึ่งเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานเม็ดพลาสติกพีวีซีด้วย ซึ่งเดิมคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2556 แต่เนื่องจากติดปัญหาวิกฤตการเงินโลกทำให้โครงการดังกล่าวต้องล่าช้าออกไป 1 ปี
แหล่งข่าวจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศผู้ค้าน้ำมันในตะวันออกกลาง มีความสนใจที่จะเข้าร่วมทุนในโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ของเครือซิเมนต์ไทย (เอสซีจี ) ที่ประเทศเวียดนาม เพื่อผู้ป้อนวัตถุดิบให้กับโครงการดังกล่าว ทั้งแนฟธา และก๊าซแอลพีจี ซึ่งจะช่วยสร้างมั่งคงด้านตลาดที่จะรองรับผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจากโรงกลั่นในแถบตะวันออกกลาง อีกทั้งประเทศตะวันออกกลางมีเม็ดเงินลงทุนหนา ขณะเดียวกัน ทางเอสซีจี กรุ๊ป ก็ได้ประโยชน์ ช่วยสร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบในการป้อนโรงโอเลฟินส์ แครกเกอร์ด้วย
ทั้งนี้ เดิมโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ที่เวียดนาม จะรับวัตถุดิบจากโรงกลั่นน้ำมันของเวียดนาม ซึ่งปริมาณแนฟธา และแอลพีจี ที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ทำให้ต้องมีการนำเข้าบางส่วน ซึ่งโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ของเครือซิเมนต์ไทยนั้น ประกอบด้วย โรงโอเลฟินส์แครกเกอร์ขนาด 1 ล้านตัน/ปี จะใช้วัตถุดิบ หรือแนฟธา ประมาณ 3 ล้านตัน/ปี และยังมีโครงการดาวน์สตรีมที่ผลิตเม็ดพลาสติกอีกหลายโครงการ
สำหรับสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนจากตะวันออกกลาง ยังอยู่ระหว่างการเจรจากัน ซึ่งยังไม่มีข้อสรุป แต่ทั้งนี้ ทางเวียดนามก็ยังคงรักษาสัดส่วนการถือหุ้นในโครงการนี้ไว้ที่ 29% ซึ่งปัจจุบันโครงการดังกล่าวเริ่มมีความคืบหน้าไประดับหนึ่งแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ ทางเครือซิเมนต์ไทยได้ประกาศชะลอโครงการดังกล่าวไปอย่างน้อย 2ปี เนื่องจากเกิดวิกฤตการเงินโลก ทำให้การจัดหาสินเชื่อเพื่อใช้ลงทุนในโครงการขนาดใหญ่มูลค่าเงินลงทุน 3.5-4 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาทเป็นไปได้ยาก
เมื่อเร็วๆ นี้ นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าสถานการณ์การเงินโลกในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับต้นปี 2552 ทำให้บริษัทเตรียมเดินหน้าโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ได้เร็วๆ นี้ เพื่อรองรับความต้องการใช้พลาสติกของเวียดนาม ขณะที่กำลังการผลิตใหม่จากตะวันออกกลางที่จะเข้ามาในปีนี้ 9 ล้านตัน ลดลงเหลือ 5 ล้านตัน ทำให้ตลาดเม็ดพลาสติกยังมีมาร์จินที่ดีอยู่
ทั้งนี้ โครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ที่เวียดนาม ซึ่งลงทุนร่วมกับพันธมิตรเวียดนาม จะประกอบด้วยโครงการปิโตรเคมีขั้นต้น คือ โรงโอเลฟินส์ และโครงการดาวน์สตรีม คือโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก HDPE LDPE PVC และโรงงานผลิต VCM-EDC ซึ่งเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานเม็ดพลาสติกพีวีซีด้วย ซึ่งเดิมคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2556 แต่เนื่องจากติดปัญหาวิกฤตการเงินโลกทำให้โครงการดังกล่าวต้องล่าช้าออกไป 1 ปี