บอร์ดตลาดหุ้นลุยเพิ่มไซส์ไม่หยุด ล่าสุด เห็นชอบปรับเกณฑ์รับหุ้นเพื่อลดอุปสรรคและสนับสนุนการจดทะเบียนของบริษัทต่างชาติ ตามแผนการเพิ่มสินค้า ระยะแรกยังเป็นแบบ Dual Listing หวังใช้มาตรฐานต่างแดนช่วยกลั่นกรอง พร้อมลงมติเลิก บริษัท เอ็ม เอ ไอ แม็ทชิ่ง ฟันด์ แต่ให้คงนโยบายลงทุนในกองทุนร่วมลงทุนไว้ โดยโยกไปเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการลงทุนของ ตลท.แทน แถมท้ายรั้ง “ปกรณ์” เป็นตัวแทนเข้านั่งกรรมการ TSFC ส่วนวานนี้ดัชนีหุ้นรีบาวน์แรงเกือบ 10 จุด
นายสุทธิชัย จิตรวาณิช รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ (บอร์ด) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบอร์ดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2552 มีมติอนุมัติปรับปรุงเกณฑ์การรับหลักทรัพย์เพื่อสนับสนุนการเข้าจดทะเบียนของบริษัทต่างประเทศ (Foreign Issuer) ตามแผนกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายพันธมิตรในระดับสากล และการเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนรวมทั้งลดอุปสรรคการเข้าจดทะเบียน เพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์
“ในระยะแรก ตลาดหลักทรัพย์จะอนุญาตให้เฉพาะบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศแล้วเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย หรือที่เรียกว่า Dual Listing โดยต้องเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่อยู่ในประเทศที่มีความร่วมมือกับสำนักงาน ก.ล.ต.ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล และตรวจสอบผู้กระทำผิด เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทเหล่านี้ได้ผ่านการคัดกรองจากตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศแล้ว เพราะจะสร้างความมั่นใจแก่ผู้ลงทุนได้” นายสุทธิชัย กล่าว
สำหรับเกณฑ์นี้จะมีความยืดหยุ่น ไม่เป็นภาระกับบริษัทต่างประเทศที่ต้องการจะจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ในขณะเดียวกัน ก็ยังคงมาตรฐานของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) โดยการปฏิบัติตามเกณฑ์ บจ.ซึ่งให้ถือปฏิบัติตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ที่มีการจดทะเบียนครั้งแรก โดยตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาเพิ่มเติมใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน ต้องเทียบเคียงได้กับบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 2) การมีสภาพคล่องในการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ 3) การมีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในไทย และ 4) การเปิดเผยข้อมูลต้องเทียบเท่าเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ที่มีการจดทะเบียนครั้งแรก
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์จะเสนอหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนการจดทะเบียนของบริษัทต่างประเทศดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป
นอกจากนี้ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ยังได้อนุมัติการเลิกประกอบกิจการของบริษัท เอ็ม เอ ไอ แม็ทชิ่ง ฟันด์ จำกัด แต่ให้คงนโยบายการลงทุนในกองทุนร่วมลงทุนไว้เพื่อสร้างศักยภาพให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยให้กระบวนการพิจารณาการลงทุนในกองทุนร่วมลงทุน เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการลงทุนของตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากที่ผ่านมามีข้อจำกัดในการจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุน
ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์จึงได้ปรับกลยุทธ์ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมธุรกิจเงินร่วมลงทุน รวมถึงการผลักดันให้เกิดความชัดเจนในแนวนโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้เกิดกิจกรรมอื่นที่สามารถกระตุ้นการพัฒนา มีขั้นตอนและใช้ทรัพยากรในการดำเนินการน้อยกว่า
“คณะกรรมการ เชื่อมั่นว่า การใช้กลยุทธ์ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมด้วยการร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะยังคงบรรลุวัตถุประสงค์ของการสร้างเสริมธุรกิจที่มีศักยภาพ ให้เป็นบริษัทที่แข็งแรงและเป็นธุรกิจ เป้าหมายที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ในอนาคต” นายสุทธิชัย กล่าว
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์จะรายงานเรื่องดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ต่อไป ขณะเดียวกัน ที่ประชุมคณะกรรมการบอร์ด ยังมีมติแต่งตั้งให้ นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา เป็นผู้แทนจากตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (มหาชน) (TSFC) อีกครั้ง เพราะ นายปกรณ์ เป็นผู้ที่มีความเหมาะสมในการสานต่อแนวนโยบายและการดำเนินงานของ TSFC ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของบริษัท เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและอุตสาหกรรมโดยรวมต่อไป ทั้งนี้ จะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเลือกกรรมการต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของTSFC ต่อไป
**หุ้นรีบาวนด์แรงเกือบ 10 จุด
ส่วนความเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทยวานนี้ (20 ส.ค) ปิดที่ระดับ 640.98 จุด เพิ่มขึ้น 9.70 จุด หรือ 1.54% มูลค่าการซื้อขาย 19,780 ล้านบาท ซึ่งเป็นการฟื้นตัวขึ้นตามตลาดจีนกับฮ่องกงหลังทางการบอกว่าไม่ได้เป็นการหยุดปล่อยสินเชื่อหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน ทำให้ความเชื่อมั่นจึงกลับมา โดยเซี่ยงไฮ้ บวก 4.5% และฮั่งเส็ง บวก 1.88% จากแรงซื้อในกลุ่มพลังงาน ธนาคาร อสังหาฯ นำตลาด
นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิจัย บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า แนวโน้มวันนี้ (21 ส.ค.) คงจะยังขึ้นอยู่กับตลาดหุ้นในภูมิภาคซึ่งไปขึ้นกับวอลล์สตรีท และช่วงนี้การเมืองกับปัจจัยภายในประเทศถูกเลื่อนไปเป็นกันยายน-ตุลาคม จึงไม่มีผลต่อนักลงทุนมากนัก
นายสุทธิชัย จิตรวาณิช รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ (บอร์ด) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบอร์ดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2552 มีมติอนุมัติปรับปรุงเกณฑ์การรับหลักทรัพย์เพื่อสนับสนุนการเข้าจดทะเบียนของบริษัทต่างประเทศ (Foreign Issuer) ตามแผนกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายพันธมิตรในระดับสากล และการเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนรวมทั้งลดอุปสรรคการเข้าจดทะเบียน เพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์
“ในระยะแรก ตลาดหลักทรัพย์จะอนุญาตให้เฉพาะบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศแล้วเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย หรือที่เรียกว่า Dual Listing โดยต้องเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่อยู่ในประเทศที่มีความร่วมมือกับสำนักงาน ก.ล.ต.ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล และตรวจสอบผู้กระทำผิด เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทเหล่านี้ได้ผ่านการคัดกรองจากตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศแล้ว เพราะจะสร้างความมั่นใจแก่ผู้ลงทุนได้” นายสุทธิชัย กล่าว
สำหรับเกณฑ์นี้จะมีความยืดหยุ่น ไม่เป็นภาระกับบริษัทต่างประเทศที่ต้องการจะจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ในขณะเดียวกัน ก็ยังคงมาตรฐานของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) โดยการปฏิบัติตามเกณฑ์ บจ.ซึ่งให้ถือปฏิบัติตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ที่มีการจดทะเบียนครั้งแรก โดยตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาเพิ่มเติมใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน ต้องเทียบเคียงได้กับบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 2) การมีสภาพคล่องในการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ 3) การมีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในไทย และ 4) การเปิดเผยข้อมูลต้องเทียบเท่าเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ที่มีการจดทะเบียนครั้งแรก
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์จะเสนอหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนการจดทะเบียนของบริษัทต่างประเทศดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป
นอกจากนี้ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ยังได้อนุมัติการเลิกประกอบกิจการของบริษัท เอ็ม เอ ไอ แม็ทชิ่ง ฟันด์ จำกัด แต่ให้คงนโยบายการลงทุนในกองทุนร่วมลงทุนไว้เพื่อสร้างศักยภาพให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยให้กระบวนการพิจารณาการลงทุนในกองทุนร่วมลงทุน เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการลงทุนของตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากที่ผ่านมามีข้อจำกัดในการจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุน
ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์จึงได้ปรับกลยุทธ์ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมธุรกิจเงินร่วมลงทุน รวมถึงการผลักดันให้เกิดความชัดเจนในแนวนโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้เกิดกิจกรรมอื่นที่สามารถกระตุ้นการพัฒนา มีขั้นตอนและใช้ทรัพยากรในการดำเนินการน้อยกว่า
“คณะกรรมการ เชื่อมั่นว่า การใช้กลยุทธ์ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมด้วยการร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะยังคงบรรลุวัตถุประสงค์ของการสร้างเสริมธุรกิจที่มีศักยภาพ ให้เป็นบริษัทที่แข็งแรงและเป็นธุรกิจ เป้าหมายที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ในอนาคต” นายสุทธิชัย กล่าว
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์จะรายงานเรื่องดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ต่อไป ขณะเดียวกัน ที่ประชุมคณะกรรมการบอร์ด ยังมีมติแต่งตั้งให้ นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา เป็นผู้แทนจากตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (มหาชน) (TSFC) อีกครั้ง เพราะ นายปกรณ์ เป็นผู้ที่มีความเหมาะสมในการสานต่อแนวนโยบายและการดำเนินงานของ TSFC ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของบริษัท เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและอุตสาหกรรมโดยรวมต่อไป ทั้งนี้ จะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเลือกกรรมการต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของTSFC ต่อไป
**หุ้นรีบาวนด์แรงเกือบ 10 จุด
ส่วนความเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทยวานนี้ (20 ส.ค) ปิดที่ระดับ 640.98 จุด เพิ่มขึ้น 9.70 จุด หรือ 1.54% มูลค่าการซื้อขาย 19,780 ล้านบาท ซึ่งเป็นการฟื้นตัวขึ้นตามตลาดจีนกับฮ่องกงหลังทางการบอกว่าไม่ได้เป็นการหยุดปล่อยสินเชื่อหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน ทำให้ความเชื่อมั่นจึงกลับมา โดยเซี่ยงไฮ้ บวก 4.5% และฮั่งเส็ง บวก 1.88% จากแรงซื้อในกลุ่มพลังงาน ธนาคาร อสังหาฯ นำตลาด
นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิจัย บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า แนวโน้มวันนี้ (21 ส.ค.) คงจะยังขึ้นอยู่กับตลาดหุ้นในภูมิภาคซึ่งไปขึ้นกับวอลล์สตรีท และช่วงนี้การเมืองกับปัจจัยภายในประเทศถูกเลื่อนไปเป็นกันยายน-ตุลาคม จึงไม่มีผลต่อนักลงทุนมากนัก